วันพุธที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2550

งานกลุ่ม3 HD-DVD & Blue-ray

HD-DVD & Blue-ray

เทคโนโลยีวิดีโอความคมชัดสูงนี้มีด้วยกัน 2 รูปแบบด้วยกัน คือ
1. HD-DVD ของโตชิบา HD-DVD ถูกพัฒนาโดยโตชิบาและเอ็นอีซีเท่านั้น นั่นทำให้ผู้บริโภคมีทางเลือกในการนั่งดูหนังที่บ้านมากขึ้น โดยเป็นภาพยนตร์ความคมชัดสูงในระดับเดียวกับที่สามารถนั่งดูได้ที่มัลติเพล็กซ์
2. Blue-ray ของโซนี่ Blue-ray มีโซนี่เป็นแกนนำภายใต้การสนับสนุนจากบริษัทอีกหลายบริษัท เช่น มัตซึ ชิตะ (พานาโซนิค), ธอมสัน, แอลจี, ฟิลิปส์, ไพโอเนียร์, ชาร์ป และซัมซุง รวมถึงวงการคอมพิวเตอร์อย่างเดลล์และเอชพี ในขณะที่ HD-DVD ถูกพัฒนาโดยโตชิบาและเอ็นอีซีเท่านั้น นั่นทำให้ผู้บริโภคมีทางเลือกในการนั่งดูหนังที่บ้านมากขึ้น โดยเป็นภาพยนตร์ความคมชัดสูงในระดับเดียวกับที่สามารถนั่งดูได้ที่มัลติเพล็กซ์

ถ้ายังจำกันได้เมื่อหลายปีก่อนมีมาตรฐานของวิดีโอออกมาสองตัว คือ VHS และ Betamax ซึ่งในตอนนั้นผู้บริโภคจะต้อง ตัดสินใจเลือกหนึ่งในสองมาตรฐานนั้น หรือไม่ก็ต้องซื้อทั้งสองมาตรฐานเลย เพราะทั้งสองมาตรฐานไม่สามารถใช้ร่วมกันได้ นั่นหมายความว่า ถ้าผู้บริโภคเลือกทั้งสองมาตรฐานก็จะต้องซื้อเครื่องเล่นสองเครื่อง เทคโนโลยีวิดีโอความคมชัดสูงนี้ก็เช่นเดียวกัน โดย HD-DVD ได้รับการสนับสนุนจากโตชิบา และเอ็นอีซี ส่วน Blue-ray มีโซนี่หนุนหลัง อย่างไรก็ตาม เคยมีบทวิเคราะห์ก่อนหน้านี้ว่า สุดท้ายแล้วฮอลลีวูดคงจะต้องเลือกแค่เพียงมาตรฐานเดียว และมาตรฐานที่จะได้รับเลือก ก็จะเป็นมาตรฐานที่สามารถเก็บข้อมูลได้มากที่สุด ซึ่งนั่นหมายความว่า Blue-ray น่าจะ ชนะไปอย่างฉิวเฉียดในท้ายที่สุด
แผ่นดีวีดีโดยทั่วๆ ไปมีความจุ 4.7 กิกะไบต์ โดยเป็นขนาดความจุที่สามารถเก็บ ภาพยนตร์ขนาดความยาว 135 นาทีได้ในรูปแบบภาพวิดีโอมาตรฐานที่ถูกบีบอัดแล้ว อย่างไรก็ตาม ความจุขนาดนี้แม้จะมากก็ตาม แต่ก็ไม่สามารถเก็บภาพยนตร์ในรูปแบบวิดีโอแบบความคมชัดสูงได้ โดยถ้าต้องการเก็บภาพยนตร์ความยาวเท่ากันในรูปแบบวิดีโอความคมชัดสูงแบบบีบอัดจะต้องการพื้นที่เพิ่มมากถึงห้าเท่า ทำให้ Blue-ray และ HD-DVD ถือกำเนิดขึ้นมาโดยใช้แสงเลเซอร์ที่ใช้ในการอ่านและเขียนแผ่นดิสก์แบบใหม่ซึ่งเป็นแสงสีน้ำเงิน (ถ้าจะพูดจริงๆ คือแสงสีน้ำเงิน-ม่วง)
แสงสีน้ำเงินนี้จะมีความยาวคลื่นสั้นกว่าแสงเลเซอร์สีแดงของแผ่นดีวีดีทั่วๆ ไปทำให้สามารถบันทึกข้อมูลลงแผ่นดิสก์ได้มาก กว่าบนเนื้อที่เท่าเดิม โดย Blue-ray สามารถเก็บวิดีโอความคมชัดสูงได้นานถึง 9 ชั่วโมงในแผ่นดิสก์แบบ double-layer และเก็บไฟล์วิดีโอที่บีบอัดตามมาตรฐานที่ใช้ในดีวีดีทั่วๆ ไปได้นานต่อเนื่องถึง 23 ชั่วโมง
นอกจากนี้ยังมีความแตกต่างในเรื่องของชั้นเคลือบดิสก์ โดยดิสก์แบบ Blue-ray มีชั้นเคลือบที่มีความหนาเพียงหนึ่งในหกของ ความหนาของดีวีดีทั่วๆ ไปหรือ HD-DVD นั่นทำให้ชั้นข้อมูลของดิสก์แบบ Blue-ray ใกล้ชิดกับผิวหน้าของดิสก์มากขึ้นและทำให้แสงเลเซอร์จากเครื่องเล่นแบบ Blue-ray อ่านข้อมูล ที่ถูกเก็บไว้เป็นชั้น (layer) ชั้นเดียวได้จำนวน มากขึ้น โดยโซนี่เองวางแผนที่จะเพิ่มชั้นของข้อมูลจาก 2 เป็น 4 ชั้นภายในปี 2007 และจะเพิ่มเป็น 8 ชั้นในที่สุด นั่นทำให้ดิสก์แบบ Blue-ray สามารถเก็บข้อมูลได้มากขึ้นในแต่ละ ชั้นและเก็บได้หลายชั้นมากกว่า HD-DVD

เมื่อเรามองย้อนไปในอดีตจะพบว่า การเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีอันมีผลต่อการเสพสิ่งบันเทิงล้วนสร้างความแตกต่างให้กับผู้เสพในเรื่องประสบการณ์ใหม่ๆ อยู่เสมอ การถือกำเนิดของโทรทัศน์ที่กลายเป็นเครื่องใช้ประจำบ้านไปแล้วและเป็นอุปกรณ์ที่เกือบมาทำให้ธุรกิจภาพยนตร์ต้องถึงกาลอวสานโดยทำให้จำนวนผู้ออกไปชมภาพยนตร์ นอกบ้านในปี 1948 ที่มีจำนวน 90 ล้านคนต่อสัปดาห์เหลือเพียง 20 ล้านคนต่อสัปดาห์ในปี 1966 และเมื่อคนอเมริกันมีโทรทัศน์สีใช้แล้วก็ทำให้คนดูอีกกว่า 70 ล้านคนต่อสัปดาห์ เลิกไปโรงภาพยนตร์ และทำให้ฮอลลีวูดต้องหันมาลงทุนโฆษณาจำนวนมหาศาล เพื่อประชาสัมพันธ์ภาพยนตร์เรื่องใหม่ๆ ผ่านโทรทัศน์เพื่อดึงคนกลับไปดูภาพยนตร์อีกครั้ง เมื่อมีวิดีโอและดีวีดี รวมถึงการสามารถทำสำเนาวิดีโอและดีวีดีเถื่อนได้ก็ส่งผลให้โรงภาพยนตร์แทบจะหายไปจากทวีปเอเชียและยุโรปตะวันออกเลย
นี่หมายความว่า Blue-ray รวมถึง HD-DVD กำลังจะมาสร้างปรากฏการณ์ใหม่อีกครั้งต่อวงการฮอลลีวูด จริงๆ แล้วดีวีดีแบบ Blue-ray น่าจะเป็นเครื่องมือทางยุทธศาสตร์ที่สำคัญของโซนี่ โดยการที่ดีวีดีแบบนี้จะมีชั้นของการเก็บข้อมูล หลายชั้น ซึ่งนอกจากสามารถเก็บข้อมูลดิจิตอลจำนวนมากๆ ได้แล้วยังสามารถใช้ใน การบันทึกข้อมูลที่ดาวน์โหลดมาจากอินเทอร์เน็ตได้ด้วย โดยเป็นโปรโมชั่นของเว็บไซต์ของ โซนี่เองที่สามารถเพิ่มเกม, มิวสิกวิดีโอ รวมถึง อะไรก็ตามที่เกี่ยวข้องกับภาพยนตร์เรื่องนั้นๆ ที่สามารถนำมาเพิ่มให้เต็มครบชุดได้

อย่างไรก็ตาม ความคิดของสตูดิโอภาพยนตร์และผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มองว่าเทคโนโลยีใหม่นี้จะช่วยให้สามารถเพิ่มตลาดบันเทิงภายในบ้านให้กว้างขวางมากขึ้นนั้นอาจจะเป็นเรื่องที่ผิดก็ได้ ไม่ใช่เป็นเพราะการ ที่ผู้บริโภคต้องมาเดิมพันเลือกข้างของเทคโนโลยีเหมือนสมัยสงครามระหว่าง VHS กับ Betamax เพราะอย่างน้อยภายในปีหน้าก็จะมีเครื่องเล่นที่สามารถสนับสนุนมาตรฐานทั้งสองได้ แต่จะเป็นเพราะอาจจะถึงคราวสิ้น สุดยุคของดิสก์แล้วก็ได้ โดยมีสี่เหตุผลสำคัญ ที่มาสนับสนุน ได้แก่

1. อินเทอร์เน็ต ไมโครซอฟท์กำลังเปิดบริการให้เช่าภาพยนตร์และบริการดาวน์โหลดผ่านเครื่องเล่น Xbox Live ของตัวเอง โดยเป็นบริการแรกที่รวมเอาการดาวน์โหลดภาพยนตร์ที่มีความคมชัดสูงด้วย ซึ่งถือเป็น การตัดหน้าเพลย์สเตชั่น 3 ของโซนี่ซึ่งจะรวมเอาเทคโนโลยี Blue-ray เอาไว้ด้วย โดยเครื่อง Xbox 360 สามารถเล่นได้เพียงแค่ดีวีดีทั่วๆ ไปเท่านั้น บริการให้เช่าวิดีโอผ่านการดาวน์โหลดถือเป็นการข้ามความจำเป็นที่ต้องใช้มิเดียหรือดิสก์ไป รวมถึงเป็นการแก้ปัญหาที่ intones ต้องเผชิญในการขายภาพยนตร์โดยเฉพาะภาพยนตร์ความละเอียดสูง โดยเมื่อเราดาวน์โหลดภาพยนตร์เข้ามาไว้ในเครื่อง Xbox แล้วซึ่งปกติเครื่อง Xbox ต้องต่อกับโทรทัศน์อยู่แล้วก็ทำให้สามารถดูผ่านโทรทัศน์ได้เลย แต่ข้อเสียก็คือต้องมีเครื่องXboxด้วย 2. Cable on-demand เครื่องมืออย่าง Comcast Box เป็น การนำภาพยนตร์ความคมชัดสูงมาเจอกับจอแบบ HDTV นอกจากนี้การ ดูแบบออนดีมานด์สามารถเปิดดูได้ทันทีโดยไม่ต้องมานั่งรอดาวน์โหลดให้เสร็จอีก แต่สตูดิโอโดยส่วนใหญ่ก็พยายามไม่เอาภาพยนตร์ที่เพิ่งลง โรงมาให้ดูผ่านบริการแบบออนดีมานด์ แต่ทุกวันนี้สถานการณ์กำลังจะ เปลี่ยนแปลงไป และมีการลองนำภาพยนตร์ที่เพิ่งลงโรงมาฉายบ้างแล้ว ที่สำคัญเทคโนโลยีป้องกันการทำซ้ำของบริษัทเคเบิลทั้งหลายน่าจะทำให้ ผู้ผลิตภาพยนตร์เบาใจลงบ้าง เช่นเดียวกับบริการให้เช่าภาพยนตร์ของ Xbox ที่ภาพยนตร์เรื่องนั้นๆ จะหมดอายุภายใน 24 ชั่วโมงภายหลังจากการดาวน์โหลด 3. การปรากฏของรูปแบบของดิสก์แบบใหม่หมายถึงเงินลงทุน เรื่องฮาร์ดแวร์ที่ต้องเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน แน่นอนว่าหลังจากลงทุนซื้อ HDTV (ราคาประมาณ 3,000 เหรียญ) รวมถึงเครื่องเสียงอีกจำนวนหนึ่ง คงไม่มีใครอยากจะลงทุนอีกมากมายนักแน่นอน และเครื่องเล่นวิดีโอความ คมชัดสูงก็ไม่ใช่ถูกๆ (เครื่องเล่น HD-DVD ราคาประมาณ 350-600 เหรียญสหรัฐ ในขณะที่เครื่องเล่น Blue-ray ราคาอยู่ระหว่าง 750-1,000 เหรียญสหรัฐ) การตัดสินใจที่จะให้เครื่องเล่นเพลย์สเตชั่น 3 ของโซนี่ เองสนับสนุนเทคโนโลยี Blue-ray ถือเป็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญและยอดเยี่ยม ในการเพิ่มอุปสงค์ต่อภาพยนตร์ที่ใช้เทคโนโลยี Blue-ray อย่างไรก็ตามถือเป็นการเดิมพันครั้งสำคัญของโซนี่ด้วยเพราะถ้ามาตรฐานนี้ไม่ได้รับการยอมรับจากตลาดก็จะทำให้เครื่องเพลย์สเตชั่นของโซนี่กลายเป็นเครื่องพิกลพิการไปด้วย 4. การกลับมาอีกครั้งของฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ การดาวน์โหลดภาพยนตร์ต่างจากดีวีดีตรงที่เพียงต้องการพื้นที่ที่จำเป็นต้องเก็บไว้ในฮาร์ดดิสก์เท่านั้น โดยสามารถเก็บได้นานเท่าที่ต้องการ โดยอาจจะเก็บไว้ดูเพียงครั้งสองครั้ง หรือเก็บไว้ตลอดกาลก็ได้เช่นกัน เมื่อเทียบกับการโหลดเพลงผ่าน intones ซึ่งมีราคาถูกกว่าการซื้ออัลบั้มจริงๆ 8-10 เหรียญสหรัฐ ตามร้านขายปลีกทั่วไป และเมื่อพิจารณาว่าราคาฮาร์ดดิกส์ได้ลดลงอย่างต่อเนื่องในขณะที่ขนาดความจุกลับเพิ่มขึ้นอย่าง ก้าวกระโดดเช่นกัน ก็ยิ่งเห็นประโยชน์ของฮาร์ดดิสก์

อย่างไรก็ตาม ปัญหาของการดาวน์โหลดภาพยนตร์ผ่านทางอินเทอร์เน็ตก็คือ การนำไปใช้งานที่ยังยากอยู่เมื่อเทียบกับดูผ่าน แผ่นดีวีดีทั่วๆ ไปเพราะจำเป็นต้องมีทักษะในระดับหนึ่ง นอกจากนี้การที่ต้องนั่งรอดาวน์โหลดให้เสร็จถึงจะดูได้ก็เป็นอุปสรรคสำคัญอย่างหนึ่งด้วยเช่นกัน ดิสก์จะถึงกาลอวสานตามการคาดการณ์หรือไม่ ก็ตาม ความเปลี่ยนแปลง คือ สัจธรรมอันเป็นนิรันดร์ที่ใครก็ตามที่ก้าวเข้ามาสู่โลกของเทคโนโลยีหรือโลกใดๆ ก็ตามแต่ไม่สามารถข้ามพ้นมันไปได้


ประวัติความเป็นมาของ Blue-ray

บลูเรย์ดิสค์ (Blu-ray Disc) หรือ บีดี (BD) คือรูปแบบของแผ่นออพติคอลสำหรับบันทึกข้อมูลความละเอียดสูง ชื่อของบลูเรย์มาจาก ช่วงความยาวคลื่นที่ใช้ในระบบบลูเรย์ ที่ 405 nm ของเลเซอร์สี "ฟ้า" ซึ่งทำให้สามารถทำให้เก็บข้อมูลได้มากกว่าดีวีดี ที่มีขนาดแผ่นเท่ากัน โดยดีวีดีใช้เลเซอร์สีแดงความยาวคลื่น 650 nm
มาตรฐานของบลูเรย์พัฒนาโดย กลุ่มของบริษัทที่เรียกว่า Blu-ray Disc Association ซึ่งนำโดยโซนี และ ฟิลิปส์ เปรียบเทียบกับ เอ็ชดีดีวีดี (HD-DVD) ที่มีลักษณะและการพัฒนาใกล้เคียงกัน บลูเรย์มีความจุ 25 GB ในแบบเลเยอร์เดียว (Single-Layer) และ 50 GB ในแบบสองเลเยอร์ (Double-Layer) ขณะที่ เอ็ชดีดีวีดีแบบเลเยอร์เดียว มี 15 GB และสองเลเยอร์มี 30 GB

ความจุของบลูเรย์ดิสค์
ซึ่งปกติแผ่นบลูเรย์นั้นจะมีลักษณะคล้ายกับแผ่น ซีดี/ดีวีดี โดยแผ่นบลูเรย์จะมีลักษณะแบบหน้าเดียว และสองหน้า โดยแต่ละหน้าสามารถรองรับได้มากถึง 2 เลเยอร์ อาทิ แผ่น BD-R (SL) หมายถึง Blu-Ray Disc ROM แบบ Single Layer แบบหน้าเดียว มีความจุ 25 GB แผ่น BD-R (DL) หมายถึง Blu-Ray Disc ROM แบบ Double Layer แบบหน้าเดียว มีความจุ 50 GB แผ่น BD-R (2DL) หมายถึง Blu-Ray Disc ROM แบบ Double Layer แบบสองหน้า มีความจุ 100 GB
ส่วนความเร็วในการอ่านหรือบันทึกแผ่น Blu-Ray ที่มีค่า 1x, 2x, 4x ในแต่ละ 1x จะมีความเร็ว 36 เมกะบิต ต่อ วินาที นั่นหมายความว่า 4x นั่นจะสามารถบันทึกได้เร็วถึง 144 เมกะบิต ต่อ วินาที

ประวัติความเป็นมาของ HD DVD

เมื่อ 19 พฤศจิกายน 2003 ทางสมาคม DVD Forum ได้ลงความเห็นให้ HD DVD เป็นฟอร์แมตแผ่นบันทึกข้อมูลรุ่นถัดไป ต่อจากดีวีดี ในขณะเดียวกันแผ่นแบบ Blu-ray ก็ถูกพัฒนาขึ้นโดยไม่ผ่าน DVD Forum ในช่วงที่ผ่านมามีความพยายามที่จะรวมฟอร์แมตให้เหลือเพียงแบบเดียวหลายครั้ง แต่ก็ประสบความล้มเหลวจนผลิตภัณฑ์จริงวางจำหน่ายทั้งสองฝั่งในที่สุด
HD DVD (High Definition DVD หรือ High Density DVD) เป็นแผ่นข้อมูลแบบบันทึกด้วยแสง (optical disc) ที่ใช้บันทึกวิดีโอความละเอียดสูง (high definition) หรือข้อมูลชนิดอื่นๆ ก็ได้ HD DVD มีลักษณะใกล้เคียงกับ Blu-ray ซึ่งเป็นแผ่นบันทึกข้อมูลคู่แข่ง โดยใช้ขนาดแผ่นเท่ากับซีดีรอม (เส้นผ่านศูนย์กลาง 12 ซม.)
HD DVD ได้รับการสนับสนุนจากบริษัทขนาดใหญ่ในอุตสาหกรรมหลายบริษัท เช่น โตชิบา, NEC, ซันโย, ไมโครซอฟท์ และอินเทล รวมถึงบริษัทภาพยนตร์อย่าง Universal Studios โตชิบายังได้ออกวางขายเครื่องเล่นแผ่น HD DVD เครื่องแรกเมื่อวันที่ 31 มีนาคม ค.ศ. 2006

//
รายละเอียดตัวแผ่น
HD DVD แบบเลเยอร์เดียวจุข้อมูลได้ 15GB และ 30GB สำหรับแบบสองเลเยอร์ โตชิบาได้ประกาศว่าจะผลิตแผ่นแบบ 3 เลเยอร์ที่จุได้ 45GB ในตัวแผ่น HD DVD สามารถใส่ข้อมูลชนิดดีวีดีแบบเดิม และ HD DVD ได้พร้อมกัน การอ่านข้อมูลใช้เลเซอร์ความยาวคลื่นแสงสีฟ้า (405 นาโนเมตร)
ชั้นข้อมูลจะถูกบันทึกถัดไปจากพื้นผิว 0.6 มิลลิเมตรเช่นเดียวกับดีวีดีทั่วไป เทคโนโลยีการบีบอัดข้อมูลวิดีโอคือ MPEG-2, Video Codec 1 และ H.264/MPEG-4 AVC สนับสนุนระบบเสียงแบบ 7.1 ในส่วนความละเอียดของภาพนั้นขึ้นกับจอภาพที่ใช้ด้วย แต่สามารถขึ้นได้ที่ความละเอียดสูงสุด 1080p

Blue-rayและHD-DVDคืออะไร?
Blu-ray Disc จากค่ายโซนี่ และ HD-DVD จากค่ายโตชิบา ล้วนเป็นเทคโนโลยีออพติคอลดิสก์รุ่นล่าสุด ที่รองรับมาตรฐานวิดีโอแบบ High-Definition และสามารถบรรจุข้อมูลลงบนแผ่นได้จำนวนมากขึ้น โดยทั้งสองเทคโนโลยีใช้เลเซอร์แบบพิเศษสีน้ำเงินและมีหน่วยเก็บข้อมูลบนดิสก์ที่หนาแน่นกว่า ทำให้ปริมาณข้อมูลของแผ่นออพติคอลยุคใหม่มีจำนวนสูงกว่าแผ่นดีวีดีที่เราใช้กันในปัจจุบัน โดยแผ่น Blu-ray แบบชั้นเดียวสามารถเก็บบันทึกข้อมูลได้ 25 กิกะไบต์ และแบบสองชั้นเก็บข้อมูลได้ที่ 50 กิกะไบต์ ส่วนแผ่น HD-DVD นั้นมีความจุสำหรับแผ่นแบบชั้นเดียวที่ 15 กิกะไบต์ และแบบสองชั้นที่ 30 กิกะไบต์ บลูเรย์แบบชั้นเดียวมีความจุ 25 กิกะไบต์ ซึ่งมากกว่าแผ่นดีวีดีทั่วไปประมาณ 5 เท่า และมากกว่าแผ่นซีดีธรรมดา 33 เท่า .. ความจุขนาดนี้ใช่ว่าขนาดของแผ่นจะต้องใหญ่ขึ้นนะ! ความจริงถ้าดูเฉพาะรูปลักษณ์ภายนอกของ Blu-ray และ HD-DVD อาจแทบแยกไม่ออกด้วยซ้ำว่าต่างจากดีวีดีทั่วไปตรงไหน

Blue-rayและHD-DVDแตกต่างกันอย่างไร?
แผ่นทั้งสองประเภทมีขนาดเท่ากันคือ เส้นผ่านศูนย์กลาง 120 มิลลิเมตร และมีความหนาประมาณ 1.2 มิลลิเมตร โดย HD-DVD มีระดับชั้นที่เคลือบเพื่อปกป้องลายนิ้วมือและรอยขูดขีดประมาณ 0.6 มิลลิเมตร ส่วนทาง Blu-ray นั้นมีระดับชั้นป้องกันปัญหาดังกล่างเพียง 0.1 มิลลิเมตรเท่านั้น แต่เสริมด้วยเทคโนโลยี Hard Coating ที่ทางโซนี่บอกว่า สามารถป้องกันรอยขูดขีดได้ดีกว่าเดิม ส่วนความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูลนั้นอยู่ที่ประมาณ 36 เมกะบิตต่อวินาที สำหรับความเร็วระดับ 1 เท่า ซึ่งถือว่าเร็วขึ้นมากเมื่อเทียบกับดีวีดีและแผ่นซีดีทั่วไป

จุดเด่นของ Blue-ray และ HD-DVD

สื่อรุ่นใหม่ทั้งสองประเภทไม่ได้มีดีที่ความจุเท่านั้น สิ่งที่หลายคนคาดหวังกับ Blu-ray และ HD-DVD ก็คือ คุณภาพของภาพที่คมชัดขึ้นกว่าเดิมและให้สีสันสมจริงที่สุดในแบบที่ดีวีดีเองก็ยังเทียบไม่ได้ แต่ก็ใช่ว่าแค่ซื้อแผ่นและเครื่องเล่นรุ่นใหม่แล้วคุณก็จะได้คุณภาพระดับดังกล่าว ถ้าจะเล่นแผ่นระดับนี้ คุณต้องมีโทรทัศน์แบบ High Definition หรือที่เรียกกันว่า HD-TV ด้วยความคมชัดของคุณภาพระดับ High-Definition นั้น เชื่อว่าใครได้ชมเป็นต้องติดใจเพราะแตกต่างอย่างเห็นได้ชัดเมื่อเทียบกับภาพที่เล่นจากแผ่นดีวีดีหรือแผ่นซีดธรรมดา แต่จะคุ้มค่ากันหรือไม่ อันนี้ผู้บริโภคต้องลองตัดสินใจกันดู โดยราคาเฉลี่ยของเครื่องเล่น Blu-ray นั้นอยู่ที่เกิน 3 หมื่นบาทขึ้นไป ส่วนเครื่องเล่น HD-DVD นั้นราคาก็ยังอยู่ประมาณ 2 หมื่นบาท นี่ยังไม่รวมค่าแผ่นภาพยนตร์ที่ตกแผ่นละประมาณเกือบๆพันบาท.... แน่นอนว่าสิ่งที่ทุกท่านจะได้กลับมาก็คือคุณภาพของภาพและระบบเสียงที่สมจริงขึ้น

อุปสรรคของBlu-rayและHD-DVD แต่ความซับซ้อนและปัญหาเกี่ยวกับ Blu-ray และ HD-DVD นั้น ไม่ได้มีแค่เรื่องราคาที่ยังแพงอยู่ เพราะปัญหาสำคัญก็คือ ทั้งสองค่ายทะเลาะกันมาข้ามปี ยังหาจุดลงตัวไม่ได้ ทำให้ผู้บริโภคตัดสินใจเลือกซื้อสื่อรุ่นใหม่นี้ได้ลำบากขึ้น เพราะแผ่นแบบ Blu-ray นั้นก็ต้องเล่นเฉพาะบนเครื่องเล่นที่รองรับ Blu-ray เท่านั้น เช่นเดียวกันกับ HD-DVD สองปีผ่านไป ทั้งสองค่ายก็ยังหาทางสมานฉันท์ไม่ได้ ทั้งๆ ที่ก่อนหน้านี้มีข่าวหลายครั้งว่าจะรอมชอมกันได้ และที่จริงเดิมทีซัมซุงและแอลจีก็เคยมีแผนที่จะปล่อยเครื่องเล่นแบบที่รองรับได้ทั้งสองมาตรฐาน แต่ท้ายสุดก็เป็นอันเงียบไป ทำให้ผู้บริโภคต้อง "เสี่ยง" ดวงเอาเอง คือ ถ้าสองค่ายไม่มีใครยอมใครกันจริงๆ แน่นอนว่าในอนาคตย่อมมีหนึ่งมาตรฐานที่ชนะ และอีกหนึ่งค่ายที่แพ้หากใครเลือกผิดก็เหมือนกับซื้อเครื่องเล่นเอาไว้เป็นของประดับบ้านเฉยๆนั่นละ!!
สถานการณ์ตอนนี้หากดูกันโดยภาพรวมแล้ว Blu-ray ยังคงได้เปรียบอยู่พอสมควร เพราะค่ายหนังฮอลลีวูดยักษ์ใหญ่ 7 ใน 8 รายให้การสนับสนุนอย่างดี ซึ่งได้แก่ Warner, Paramount, Fox, Disney, Sony, MGM และ Lionsgate มีเพียงค่าย Universal เท่านั้นที่ยังปักใจกับ HD-DVD โดยมี Warner และ Paramount เป็นที่ปันใจเลือกทั้งสองฝั่งเป็นแรงหนุนอีกที นอกจากนี้ Blu-ray ยังมีค่ายผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าชั้นนำคอยดันกันอีกหลายแรง ทั้ง Panasonic, Philips, Samsung, Pioneer, Sharp, JVC, Hitachi, Mitsubishi, LG รวมไปถึงค่ายใหญ่ในวงการคอมพิวเตอร์ทั้ง Apple, HP และ Dell เรียกว่าทำให้ฟากHD-DVDของโตชิบานั้นสั่นได้ไม่น้อยทีเดียว แต่ใช่ว่า HD-DVD นั้นจะต้องเป็นฝ่ายแพ้นะ ลองฟังชื่อของบริษัทระดับบิ๊กๆ ที่หนุนหลังโตชิบาซะก่อนแล้วค่อยตัดสินใจใหม่ เพราะมีทั้ง NEC, Sanyo พร้อมด้วยคู่หูดูโอวงการคอมพิวเตอร์อย่าง Microsoft และ Intel เรียกว่าทาง Blu-ray เองก็ประมาทไม่ได้เลยทีเดียว

สำหรับใครที่อยากลองของใหม่ ทั้ง Blu-ray และ HD-DVD น่าจะสร้างความตื่นเต้นประทับใจให้ได้ไม่น้อยทีเดียว แต่ถ้าใครชอบความคุ้มค่า Choose IT ของเราขอแนะนำว่า ... รอไปก่อน รอจนกว่าเค้าจะทะเลาะกันเสร็จ รอจนกว่าราคาจะเหมาะสมกว่านี้ แล้วค่อยซื้อก็ยังไม่ช้าเกินไป

ข้อควรจำสำหรับ Blue-ray และ HD-DVD

อย่าลืมนะว่า จะชมภาพยนตร์คมชัดสมจริงระดับ High-Definition ได้นั้น คุณต้องมีโทรทัศน์ HD-TV รุ่นใหม่ที่รองรับการเชื่อมต่อผ่าน HDMI (High Definition Multimedia Interface) แถมยังต้องเสี่ยงเลือกซื้อเครื่องเล่นจากค่ายใดค่ายหนึ่ง และยังต้องคอยระมัดระวังเวลาซื้อแผ่นหนังให้ตรงกับชนิดของเครื่องเล่นอีก ที่สำคัญราคาของแผ่นหนังฟอร์แมตใหม่นั้นยังมีราคาค่อนข้างสูง ซึ่งอาจยังไม่คุ้มนักหากไม่ได้เป็นคนที่รักการชมภาพยนตร์แบบจริงจัง อีกหนึ่งประเด็นที่สำคัญก็คือ เทคโนโลยีใหม่ทั้งสองประเภทนั้นมาพร้อมกับการปกป้องลิขสิทธิ์แบบเข้มงวดมาก ตั้งแต่การเชื่อมต่อแบบ HDMI ซึ่งรองรับการเข้ารหัสปกป้องลิขสิทธิ์ ไปจนถึงการใช้เทคโนโลยี AACS ที่ทำให้แผ่นเหล่านี้ไม่สามารถเล่นกับซอฟต์แวร์ฟรีบนพีซีได้อย่างสะดวก หากใครนิยมแผ่นผีซีดีเถื่อนละก็ต้องเตรียมตัวผิดหวังไว้ได้เลยล่ะ.. ถ้าชอบดูหนัง .. ก็คงต้องเลือก Blu-ray เพราะมีค่ายหนังดังสนับสนุนเพียบ แต่ถ้าชอบความคุ้มค่าราคาประหยัดกว่า ก็คงต้องเป็น HD-DVD..... แต่ถ้าจะให้ดีที่สุด อย่าเพิ่งซื้อ รออีกซักนิดจนกว่าทิศทางในตลาดจะชัดเจนรับรองว่ายังไม่สายเกินไป!!




สินค้า HD-DVD และ Blue-ray ของแต่ละบริษัท/แต่ละรุ่น

เครื่องเล่นบลูเรย์รุ่นแรก

1. โซนี่ เพลย์สเตชัน 3



เพลย์สเตชัน3PlayStation 3


ผู้ผลิต
โซนีคอมพิวเตอร์เอ็นเตอร์เทนเมนต์
ชนิด
เครื่องเล่นวีดีโอเกม
ยุค
ยุคที่ 7
ออกจำหน่าย
11พฤศจิกายน2549(JP)17พฤศจิกายน2549(NA)7 มีนาคม 2550 (EU)
ซีพียู
3.2 GHz PPC Cell with 7 3.2 GHz SPEs
สื่อที่ใช้
บลูเรย์(BD)ดีวีดี(DVD)ซีดี(CD)เอสเอซีดี (SACD)
การเล่นออนไลน์
PlayStation Network Platform (PNP)
รุ่นก่อนหน้า
เพลย์สเตชัน 2

เพลย์สเตชัน 3 (PlayStation 3, プレイステーション 3) ตัวย่อ PS3 เป็นเครื่องเล่นวิดีโอเกมตระกูลเพลย์สเตชันรุ่นที่ 3 ของบริษัท โซนี่คอมพิวเตอร์เอ็นเตอร์เทนเมนต์ ถือเป็นเครื่องเล่นวีดีโอเกมยุคที่ 7 ตัวเครื่องมีขนาด 12.8×3.9×10.8 นิ้ว (32.5×9.8×27.4 เซนติเมตร) ตัวเครื่องมีอย่างน้อย 3 สีให้เลือก คือสีดำ, สีขาว, และสีเงิน ตัวเครื่องที่ขายจะมีตัวเลือก 2 แบบที่แตกต่างกันในเรื่องของความจุฮาร์ดไดรฟ์ และช่องสัญญาณต่างๆ ขณะนี้ได้ออกวางจำหน่ายแล้ว โดยออกวางตลาดที่ประเทศญี่ปุ่นเป็นที่แรก ในวันที่ 11 พ.ย. พ.ศ. 2549 ส่วนประเทศอื่นๆ วางตลาดในวันที่ 17 พฤศจิกายน โดยราคาอยู่ที่ US$499 (฿19,000) ในรุ่น 20 GB. และ US$599(฿23,000) สำหรับรุ่น 60 GB. การออกแบบตัวเครื่องจะดูเรียบง่าย ทันสมัย มีรูปทรงโค้งมน น้ำหนักประมาณ 11 ปอนด์ (5 กิโลกรัม) ซึ่งหนักกว่า Xbox 360 ซึ่งราคาจำหน่ายในไทยสัปดาห์แรกหลังจากที่ออกขายที่ญี่ปุ่น ราคาอยู่ที่ประมาณ 38,000 บาท
ในวันที่ 18 สิงหาคม 2549 โซนีได้ประกาศว่ามีโครงการ folding@home ร่วมกับทางนักวิจัยที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดในการใช้เครื่องเพลย์สเตชัน 3 เป็นเครื่องมือช่วยในการคำนวณผลการทดลองในทางการแพทย์ [1]
การจัดระบบภายใน
ล่าสุด โซนี่กล่าวว่า เพลย์สเตชัน 3 จะจัดมาใน 2 รูปแบบที่แตกต่างกัน โดยในรุ่นพิเศษ (Premium) จะมาพร้อมกับฮาร์ดไดรฟ์แบบอัพเกรดได้ขนาด 60 GB, การเชื่อมต่อไร้สายแบบ Wi-Fi, ช่องต่อ HDMI 1.3, และตัวอ่านการ์ดภายใน
โครงสร้างระบบ
โครงสร้างระบบ
รุ่น
พื้นฐาน
พิเศษ
ฮาร์ดไดรฟ์แบบอัพเกรดได้
มี 20 GB
มี 60 GB
บลูเรย์ ไดรฟ์
มี
มี
คอนโทรลเลอร์ไร้สายระบบบลูทูธ
มี
มี
ข่องต่อ HDMI
มี
มี
ตัวอ่านการ์ดภายใน
ไม่มี
มี
ระบบเชื่อมต่อWi-Fi
ไม่มี
มี
ขอบและโลโก้สีเงิน
ไม่มี
มี



เครื่องพีเอส 3 แสดงส่วนโค้งแบบใหม่
และในรุ่น "พื้นฐาน" (Basic) จะมาพร้อมกับฮาร์ดไดรฟ์ขนาด 20 GB แต่ไม่มีระบบ Wi-Fi, HDMI, ตัวอ่านการ์ด แต่ก็สามารถเพิ่มระบบ Wi-Fi และตัวอ่านการ์ดสามารถตอเพิ่มจากภายนอกได้ โดย ปัญหาของรุ่น 20 GB จะเกิดกับการแสดงผลวีดีโอความละเอียดสูง หรือ บรู-เรย์ วีดีโอ ซึ่งความละเอียดจะถูกจำกัดไว้ที่ 960x540 พิกเซล (ละเอียดกว่า ระบบ NTSC 50% และ 32% ของระบบ PAL)

ความสามารถในการเล่นอุปกรณ์รุ่นก่อนหน้า
ทางโซนี่ได้กล่าวมาว่าเครื่องเพลย์สเตชัน 3 สามารถเล่นเกม เพลย์สเตชัน 1 และ 2 ที่ผ่านมาตรฐานของระบบ Technical Requirements Checklist โดยทางประธาน เคน คุตะระงิ ได้กล่าวไว้ว่าอาจมีหลายเกมที่ไม่ผ่านมาตรฐานนี้
สำหรับเมโมรีการ์ด ทางเครื่องเพลย์สเตชัน 3 ไม่มีช่องสำหรับใช้แต่อย่างใด แต่จะมีอแดปเตอร์เสริมสำหรับการนำข้อมูลจากเมโมรีการ์ดมาเซฟเก็บไว้ในฮาร์ดดิสก์ นอกจากนี้เพลย์สเตชัน 3 ยังคงนำเมโมรีสติกมาเซฟข้อมูลของ รุ่น 1 และ 2 ได้
เกมที่ลงเครื่อง เพลย์สเตชัน 3
ได้มีหลายบริษัทได้ประกาศรายชื่อเกมที่จะลงเครื่อง รุ่น 3 ซึ่งบางส่วนได้แก่
Resident Evil 5 (แคปคอม)
WWE SmackDown! vs. RAW 2008 (ที เฮช คิว)
แกรนด์ เธฟต์ ออโต 4 (ร็อกสตาร์)
แกรนทัวริสโม (โพลีโฟนี)
คาสเซิลเวเนีย (โคนามิ)
โซลคาลิเบอร์ (แคปคอม)
บอมเมอร์แมน (ฮัดสัน)
ไบโอฮาซาร์ด (แคปคอม)
ดราก้อนบอล (บันได)
เดวิลเมย์คราย (แคปคอม)
ไดแนสตีวอรีเออร์ (โคเอ)
เทคเคน (แนมโค)
ไฟนอลแฟนตาซี XIII (สแควร์เอนิกซ์)
วินนิงอีเลฟเวน (โคนามิ)
เอปเอสเคป (โซนี)
โซนิค เดอะเฮดจ์ฮ็อก(2006) (เซก้า)
บริการออนไลน์
ด้วยความสำเร็จของบริการเอ็กซ์บ็อกซ์ ไลฟ์ ของไมโครซอฟท์ โซนี่จึงได้เปิดบริการออนไลน์ของโซนี่คือ เพลย์สเตชัน เน็ตเวิร์กแพลตฟอร์ม (PlayStation Network Platform ตัวย่อ PSNP) โดยจะให้บริการฟรีสำหรับการเล่นหลายคนผ่านเครือข่าย

ระบบปฏิบัติการและอินเตอร์เฟส
เพลย์สเตชัน 3 จะใช้อินเตอร์เฟสชื่อว่า "ครอส มีเดีย บาร์" (Cross Media Bar : XMB) ซึ่งเป็นอินเตอร์เฟสระบบเดียวกับ เพลย์สเตชัน พอร์เทเบิล ซึ่งสำหรับเพลย์สเตชัน 3 อินเตอร์เฟสนี่จะแบ่งโหมดการทำงานตามสื่อต่างๆ เช่น เพลง วีดีโอ อินเทอร์เน็ต เกม รายชือเพื่อน (Friend List) พร้อมสามารถแบ่งบัญชีผู้ใช้ได้ สามารถใช้งานร่วมกับ คีย์บอร์ดและเม้าส์ที่รองรับผ่านช่อง USB เพื่อความสะดวกในการท่องอินเทอร์เน็ตและพูดคุยกับเพื่อนผ่านระบบ การพิมพ์ ภาพ และเสียง
- ระบบปฏิบัติการ
เป็นที่รับรองแล้วว่า เพลย์สเตชัน 3 จะมาพร้อมระบบปฏิบัติการ ลีนุกซ์ ซึ่งโซนี่หวังจะให้เพลย์สเตชัน 3 ทำงานแทนอุปกรณ์บางชิ้นในบ้านได้
ปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลว่าเพลย์สเตชัน 3 จะใช้ ลีนุกซ์ เป็นระบบปฏิบัติการเดี่ยว หรือจะสามารถเลือกบู๊ตได้ 2 แบบจาก XMB

สเป็กเครื่องและส่วนประกอบ
รายละเอียดนี้เป็นข้อมูลจากการเปิดเผลของโซนี่ในงาน อี3 (E³ : [[Electronic Entertainment Expo]])
หน่วยประมวลผลกลาง (ซีพียู)
- 3.2 GHz PowerPC "Cell Processor" 1 ตัว ที่เป็น "Power Processing Element : PPE" และ "Synergystic Processing Elements : SPEs" ความเร็ว 3.2 GHz จำนวน 7 ตัว มีความจำแคช L2 ขนาด 512Kb

หน่วยประมวลผลกราฟิก (จีพียู)
พัฒนาขึ้นโดย nVidia โดยให้ชื่อว่า "Reality Syntheziser"
พัฒนาขึ้นบนพื้นฐานของโครงสร้าง NVIDIA NV47
ความเร็วสัญญาณนาฬิกา 550 MHz.
ความจำแบบ 128 บิต
211.2 GFLOPS แบบโปรแกรมได้ สูงสุด 1.8 TFLOPS
136 shader operations per clock ( * 550 Mhz = 74.8 billion / second, 1 แสนล้าน with CPU)
24 2D texture lookups per clock ( * 550 Mhz = 13.2 billion / second)
33 billion dot products per second (51 billion dot products with CPU)
128-bit pixel precision offers rendering of scenes with High dynamic range rendering

หน่วยความจำ
ทั้งหมด 512 MB แบ่งเป็น
-256 MB Rambus XDR DRAM ความเร็ว 3.2 เท่ากับซีพียู
-256 MB GDDR3 VRAM ความเร็วสัญญาณนาฬิกา 700 MHz

System Bandwidth
-204.8 GB/s Cell Element Interconnect Bus (Theoretical peak performance)
-Cell FlexIO Bus: 35 GB/s outbound, 25 GB/s inbound (7 outbound and 5 inbound 1Byte wide -channels operating at 5 GHz) (effective bandwidth typically 50-80% of total)
-51.2 GB/s SPE to local store
-Experimental Sustained bandwidth for some SPE-to-SPE DMA transfers - 78 to 197 GB/s.
-25.6 GB/s to Main Ram XDR DRAM: 64 bits × 3.2 GHz / 8 bits to a byte
-22.4 GB/s to GDDR3 VRAM: 128 bits × 700 MHz × 2 accesses per clock cycle (one per edge) / 8 bits to a byte
-RSX 20 GB/s (write), 15 GB/s (read)
-System Bus (separate from XIO controller) 2.5 GB/s write and 2.5 GB/s read

-อินเตอร์เฟส

วีดีโอ
-แบบ Composite (หัวสีเหลือง แบบ RCA)
-แบบ S-Video (แยกระหว่างสัญญาณภาพและแสง)
-แบบ Component Video (หัวแบบ RCA สีแดง น้ำเงิน และเขียว) ความละเอียดสูงสุด 1080p
-แบบ HDMI 1.3 (สัญญาณดิจิตอล เฉพาะรุ่น "พิเศษ" เท่านั้น)

ขนาดภาพ (กว้าง*ยาว)
สัดส่วนภาพ
เมกะพิกเซลล์
ระบบ
ช่องต่อ (RGB ผ่าน ช่องต่อ VGA หรือ SCART)
720x480 แบบไขว้กัน
4:3
0.31 แบบไขว้กัน
480i
Composite video / S-Video / Component video / RGBHV / RGB-SCART
720x480
4:3
0.31
VGA / 480p
Component video / RGBHV
1280x720
16:9
0.92
720p
Component video / RGBHV
1920x1080 แบบไขว้กัน
16:9
2.07 แบบไขว้กัน
1080i

1920x1080 แบบเส้นตรง
16:9
2.07
1080p
Component video / HDMI

เสียง
-S/PDIF เป็นช่องต่อแบบ ออพติคอล แบ่งสัญญาณมากที่สุดที่ 7.1 ช่อง
-Dolby TrueHD โดยใช้ร่วมกับอุปกรณ์ที่รองรับ
-DTS-HD
-LPCM ประมวลผลโดยระบบประมวลผลกลาง

การเชื่อมต่อ/สื่อสาร
-Gigabit Ethernet 1 พอร์ต
-USB 4 พอร์ต
-บลูทูธ 2.0 พร้อม EDR

การเก็บข้อมูล
แบบออพติคอล
-บลูเรย์ (ความเร็ว 2x = 9MB/s) เพลย์สเตชัน 3 BD-ROM, BD-Video, BD-R/RE
-ดีวีดี (ความเร็ว 8x = 11MB/s) เพลย์สเตชัน 2 DVD-ROM, DVD-Video, DVD ± R/RW
-ซีดี (ความเร็ว 24x = 3.5MB/s) เพลย์สเตชัน CD-ROM, เพลย์สเตชัน 2 CD-ROM, CD-DA, CD-DA (ROM), CD-R, CD-RW
-เอสเอซีดี (2x)
-ฮาร์ดไดรฟ์ แบบอัพเกรดได้ 2 ความจุ คือ 20 และ 60GB ขนาด 2.5 นิ้ว พร้อมติดตั้ง ลีนุกซ์-เมมโมรี่แบบการ์ด (เฉพาะรุ่น "พิเศษ") อ่าน Memory Stick, SD&MMC, CompactFlash.

คอนโทรลเลอร์



คอนโทรลเลอร์แบบล่าสุด รูปร่างคล้าย Dualshock 2 เดิมมากหลังจากเปิดตัวคอนโทรลเลอร์รูปทรงคล้าย บูมเมอแรง หรือ กล้วยหอม ในงาน E3 2005 มีเสียงปฏิเสธอย่างหนาหู ทำให้โซนี่ยกเลิกรูปแบบคอนโทรลเลอร์นี้และหันกลับมาใช้แบบ Dualshock 2 เดิม โดยเพิ่มระบบไร้สาย เพิ่มประสิทธิภาพของการวัดแรงกดของปุ่มต่างๆ ทำรูปทรงปุ่ม L2 และ R2 คล้ายไกปืนมากขึ้น เพิ่มปุ่มกลางคอนโทรลเลอร์ (คล้ายกับ Xbox 360) และมีช่องต่อ B-type USB เพื่อใช้ในการชาร์จแบตและเล่นแบบต่อสาย มีไฟ 4 ดวงพร้อมตัวเลขแสดงการเชื่อมต่อกับตัวเครื่องเมื่อต่อพร้อมกัน 4 ตัว มีระบบจับการเคลื่อนไหว ซึ่งทั้งหมดนี้ทำให้ต้องตัดระบบสั่นออกเพื่อป้องกันการก่อกวน
ข้อมูลเพิ่มเติม
เคน คุตะระงิ กล่าวว่า เพลย์สเตชัน 3 จะใช้ระบบลดอุณหภูมิด้วยท่อนำความร้อน และไม่ใช้ระบบของเหลว เพื่อให้เครื่องทำงานเงียบเทียบเท่าเพลย์สเตชัน 2 ตัวเล็ก
คอนโทรลเลอร์แบบ "บูมเมอแรง" ได้ถูกยกเลิกไป



ปัญหาของเครื่อง เพลย์สเตชัน 3
เครื่องเพลย์สเตชัน 3 ยังมีคนเรียกร้องว่า "คอนโทรลเลอร์" ของเพลย์สเตชัน 3 ยังมีปัญหาอยู่ ปัญหานั้นก็คือ สัญญาณกวนคอนโทรลเลอร์ ทำให้การเล่นเกมส์ของเพลย์สเตชัน 3 มีผลเสียไปด้วย ปัจจุบันเพลย์สเตชัน 3 ไม่ค่อยได้รับความนิยมมากเท่าไร และทางบริษัทโซนี่ของประเทศไทยก็ยังไม่ได้นำเพลย์สเตชัน 3 เข้ามาจำหน่ายเลย เพราะเนื่องจากปัญหาของคอนโทรลเลอร์ที่ยังมีปัญหาสัญญาณกวนอยู่ ทางบริษัทโซนี่ของต่างประเทศก็กำลังจะปรับปรุงระบบ คอนโทรลเลอร์ ของเพลย์สเตชัน 3 เพื่อไม่ให้มีปัญหาสัญญาณกวน
อ้างอิง
ข่าวโซนีและ folding@home จาก ซีเอ็นเอ็น (อังกฤษ)
เครื่องเล่นวิดีโอเกมที่นิยมในแต่ละยุค
ยุคหนึ่ง
โคเลโคเทลสตาร์ - ป็อง - แม็กนาวอกซ์โอดีสซี
ยุคสอง
แชนนอลเอฟ - อาตาริ 2600 - อินเทลลิวิชัน
ยุคสาม
แฟมิคอม - มาสเตอร์ซิสเตม - อาตาริ 7800
ยุคสี่
ซูเปอร์แฟมิคอม - นีโอจีโอ - เมก้าไดรฟ์
ยุคห้า
3DO - จากัวร์ - แซทเทิร์น - นินเทนโด 64 - เพลย์สเตชัน
ยุคหก
เกมคิวบ์ - ดรีมแคสต์ - เพลย์สเตชัน 2 - เอกซ์บอกซ์
ยุคเจ็ด
เพลย์สเตชัน 3 - วี - เอกซ์บอกซ์ 360


2. โซนี่

โซนี่ รุ่น BDP-S1
บริษัทโซนี่คอร์เปอเรชัน (Sony Corporation, ソニー株式会社, Sonī Kabushiki-gaisha) เป็นเครือบริษัทเกี่ยวกับสื่อขนาดใหญ่ของโลก ก่อตั้งที่เมืองโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น โดยบริษัทลูกคือ โซนี่ อิเล็กทรอนิกส์ เป็นผู้นำในด้านการผลิตอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับวิดีโอ การสื่อสาร และเทคโนโลยีสารสนเทศ
//
ชื่อบริษัท
ชื่อ "โซนี่" (Sony) เกิดจากการผสมของคำว่า "Sonus" (ภาษาละตินความหมายคือ เสียง), "Sunny" (อากาศดีในภาษาอังกฤษ) และ "Sonny-boys" ซึ่งเป็นศัพท์แสลงในภาษาญี่ปุ่น

ผลิตภัณฑ์ที่สำคัญของโซนี่
ค.ศ. 1950-ค.ศ. 1959
-Reel-to-reel tape recorders (1950-??)
-Transistor radios (1955-)
ค.ศ. 1960-ค.ศ. 1969
-Portapak (1967-)
-Trinitron (1968-)
ค.ศ. 1970-ค.ศ. 1979
-U-matic (1971-1983)
-Betamax* (1975-1988)
-Elcaset (1976-1980)
-STR Series of AV receivers (197X-present)
-Walkman (1979-)
-ICF-7600 Series of Shortwave Radios (1979-)
ค.ศ. 1980-ค.ศ. 1989


-MD Walkman
-Mavica (1981-??)
-Betacam* (1982-)
-Compact Disc (1982-)
-Watchman (1982-)
-3½" diskette (1983-)
-Discman (1984-)
-Handycam (1985-)
-Video8 (1985-??)
-ICF-2010 Longwave/AM/Shortwave/FM/Air Band Receiver (1985-2003)
-NEWS (1987-??)
-D2 (1988-)
-Hi8 (1989-)
-Video Walkman (1989-)
ค.ศ. 1990-ค.ศ. 1999


-The PlayStation 2

-NT (1991-??)
-MiniDisc* (1992-)
-PlayStation (later PS one) (1994-2004)
-Magic Link (1994-1997)
-DV (1995-)
-MiniDV (1995-)
-Cyber-shot (1996-)
-Digital8* (1999-)
-FD Trinitron (1996-)
-VAIO (1997-)
-Digital Mavica (1997-)
-Ruvi (1998-1999)
-Memory Stick* (1998-)
-HiFD (1998-2001)
-Super Audio CD (1998-)
-Aibo (1999-2006)
ค.ศ. 2000-ปัจจุบัน



-Playstation 3
-CLIÉ (2000-2005)
-ImageStation (2000-)
-PlayStation 2 (2000-)
-MicroMV (2002-)
-SonicStage (2002-)
-HDV (2003-)
-Qualia (2003-2006)
-Blu-ray Disc (2006-)
-PSX (2003-)
-Qrio (2003-)
-Connect (2004-)
-PlayStation Portable (2004-)
-Universal Media Disc (UMD)* (2004-) (2005 UK-)
-Librie (2004-)
-LocationFree Player (2004-)
-Cellular Walkman (2005-)
-BRAVIA (2005-)
-PlayStation 3 (November 2006)
-Sony α Digital SLR Cameras (Summer 2006)



3. ซัมซุง รุ่น BD-P1000
ซัมซุง (Samsung) (삼성, , ฮันจา: 三星, , MC: Samseong, , MR: Samsŏng ?, ภาษาเกาหลีอ่านว่า ซัม-ซอง) เป็นชื่อกลุ่มบริษัทแห่งหนึ่งจากประเทศเกาหลีใต้ สำนักงานใหญ่อยู่ที่โซล ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2493 โดย Lee Byung-Chul
ชื่อซัมซุงในภาษาเกาหลีมีความหมายว่า "สามดาว"

4. พานาโซนิค รุ่น DMP-BD10
5. ไพโอเนียร์ รุ่น BDP-HD1
6. ฟิลิปส์ รุ่น BDP9000
7. ชาร์ป รุ่น DV-BP1
8. แอลจี รุ่น BD100
9. ไลท์-ออน รุ่น BDP-X1

Blu-ray players

1.Sony BDP-S300 Blu-ray Player

Release
Now available (US)
Pricing
$499.90
Buy
Amazon Technical data

2.Samsung BD-P1200 Blu-ray Player

Release
Now available (US)
Pricing
$636.99 (subject to change)
Buy
Amazon Technical data

3.Sony PlayStation 3 Blu-ray Player

Release
Now available (US, Japan), March 2007 (Europe)
Pricing
US $499, EU €499
Buy
Amazon (60GB) Amazon (20GB) Technical data

4.Sony BDP-S1 Blu-ray Player

Release
Now available (US)
Pricing
$748.87 (subject to change)
Buy
Amazon Technical data

5.Samsung BD-P1000 Blu-ray Player

Release
Now available (US), October 2006 (Europe)
Pricing
$508.68 (subject to change)
Buy
Amazon Technical data

6.Panasonic DMP-BD10 Blu-ray Player

Release
Now available (US), October 2006 (Canada), Autumn 2006 (Europe)
Pricing
$878.00 (subject to change)
Buy
Amazon Technical data

7.Pioneer BDP-HD1 Blu-ray Player

Release
Now available (US)
Pricing
$1,499.80 (high-end model, subject to change)
Buy
Amazon Technical data

8.Pioneer BDP-LX70 Blu-ray Player

Release
June (Europe)
Pricing
-
Buy
Technical data

9.Pioneer BDP-94HD Blu-ray Player

Release
-
Pricing
$999.00 (subject to change)
Buy
Technical data

10.Philips BDP9000 Blu-ray Player

Release
Now available (US), Early 2007 (Europe)
Pricing
$549.99 (subject to change)
Buy
Amazon Technical data

11.LG BH100 Hybrid Blu-ray/HD-DVD Player

Release
Now available (US)
Pricing
$1,099.00
Buy
Amazon Technical data

12.Sharp DV-BP1 Blu-ray Player

Release
Q2 2007 (US)
Pricing
-


13.LG BD100 Blu-ray Player

Release
-
Pricing
-


14.Lite-On BDP-X1 Blu-ray Player

Release
-
Pricing
-

15.Mitsubishi Blu-ray Player

Release
-
Pricing
-


Blu-ray Player



HD DVD Player

Blu-ray Disc และ HD DVD Disc


HD DVD Player



HD DVD Player







Blue-ray Disc


Blu-ray Player










Blu-ray Player


Blu-ray Disc และ HD DVD Disc

HD DVD Disc

Blu-ray Disc และ HD DVD Disc
ประโยชน์ที่มีต่อสังคม

สำหรับคนที่เฝ้าติดตามความเคลื่อนไหว วงการบันเทิงในห้องนั่งเล่นที่บ้านแล้ว ประวัติศาสตร์ของฟอร์แมต การเอ็นโค้ดข้อมูลน่าจะเป็นเรื่องที่น่าสนใจที่สุด ผู้ผลิตที่ต้องการนำผลิตภัณฑ์เพลง และภาพยนตร์ของตน เข้าสู่บ้านของผู้บริโภคให้ได้นั้น พวกเขาจะต้องคิดค้นสื่อที่สามารถเก็บเพลง และภาพยนตร์เหล่านั้นในสภาพที่เหมือนจริงมากที่สุด นั่นเป็นที่มาของเทคโนโลยีตั้งแต่ไวนิล, เทปคาสเซตต์, เบต้าแมกซ์, วีเอชเอส, ซีดี มาจนถึงดีวีดีที่ปัจจุบันใช้กันอย่างแพร่หลายมากขึ้นเรื่อยๆ จนทำให้ชั้นเก็บของข้างโทรทัศน์ที่บ้านเต็มไปด้วยแผ่นพลาสติก และแถบแม่เหล็กมากมาย
ล่าสุด เทคโนโลยีใหม่ที่นำมาเสนอเพื่อความบันเทิงภายในบ้าน ก็คือ วิดีโอความคมชัดสูง หรือ High Definition Video เทคโนโลยีใหม่นี้เพิ่มจำนวนของพิกเซลหรือความละเอียดของภาพให้เพิ่มขึ้น ซึ่งทำให้ได้ภาพบนหน้าจอที่คมชัดมากขึ้น และเนื่องจาก ภาพความคมชัดสูงนี้เก็บข้อมูลภาพที่ละเอียดขึ้นทำให้ภาพยนตร์ความคมชัดสูงต้องการพื้นที่ในการจัดเก็บสูงมากขึ้นด้วยและมากกว่าที่แผ่นดีวีดีทั่วๆ ไปสามารถจัดเก็บได้
ซีบิตจุดพลุรถอิเล็กทรอนิกส์‘บลูเรย์’ตั้งเป้า3ปี
กลุ่มผู้ผลิตชิปอิเล็กทรอนิกส์อย่างอินเทลและอินฟินิออนเทคโนโลยีส์เอจี ยืดพื้นที่งานซีบิตประกาศความร่วมมือกับบริษัทค่ายรถอย่างบีเอ็มดับเบิลยูและฮุนไดมอเตอร์ ผนึกกำลังพัฒนาระบบอิเล็กทรอนิกส์สำหรับใช้ในรถยนต์ยุคหน้า ด้านสมาคมผู้สนับสนุนเทคโนโลยีบลูเรย์ดิสก์ ประกาศเป้าหมายเข้ามาแทนที่สื่อเก็บข้อมูลยอดนิยมอย่างดีวีดีให้ได้ภายใน 3 ปี
ภาพยนตร์ที่ออกใหม่ทำให้ต้องมีการผลิตสินค้าอีเล็คทรอนิคส์หลายทางเลือกสำหรับผู้บริโภคสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งได้แก่ ผลิตภัณฑ์ทางด้านเกมส์ และคอมพิวเตอร์ สมาคม บลู-เรย์ ดิสก์ หรือ บีดีเอ (The Blue-Ray Disk Association - BDA) แถลงข่าวในวันนี้ว่า บริษัท วอลท์ ดิสนีย์ (NYSE:DIS) จะเข้าร่วมเป็นสมาชิกของคณะกรรมการบริหารของบีดีเอ และจะเริ่มเผยแพร่เนื้อหาที่ไม่มีการผูกขาดในรูปแบบของบลู-เรย์ ดิสก์ เมื่อมีการเปิดตัวฮาร์ดแวร์บลู-เรย์ในอเมริกาเหนือและญี่ปุ่นแล้ว และด้วยการพัฒนาที่ไม่หยุดยั้งเช่นนี้ จึงทำให้ดิสนีย์เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มสินค้าอีเล็คทรอนิคส์, ผลิตภัณฑ์ทางด้านไอที, บริษัทผู้ผลิตเกมและข้อมูลซึ่งมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นและยังสนับสนุนการทำงานในรูปแบบนี้ การตัดสินใจครั้งนี้จะสามารถทำให้ผู้บริโภคเกิดความเพลิดเพลินไปกับภาพยนตร์ใหม่ๆ ที่ได้รับความนิยมและภาพยนตร์คลาสสิกในรูปแบบบลู-เรย์ ดิสก์ จากกลุ่มบัวน่า วิสต้า โฮม เอนเตอร์เทนเมนต์ ของวอลท์ นิสนีย์ โดย บัวน่า วิสต้า โฮม เอนเตอร์เทนเมนต์ประกอบด้วยวอลท์ ดิสนีย์ โฮม เอนเตอร์เทนเมนท์, ฮอลลีวู้ด พิคเจอร์ โฮม วีดิโอ, ทัชสโตน โฮม เอนเตอร์เทนเมนต์, มิราแม็กซ์ โฮม เอนเตอร์เทนเมนต์, ไดเมนชั่น โฮม วิดีโอ และดิสนีย์ ดีวีดี “ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยและการสนับสนุนอย่างกว้างขวางจากผู้นำทั่วทุกมุมโลกในด้านกลุ่มสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้า, ไอที, และกลุ่มอุตสาหกรรมผู้ผลิตเกมส์ บลู-เรย์ ดิสก์ เป็นรูปแบบในอุดมคติสำหรับบริษัทผลิตรายการแห่งความบันเทิง อย่าง ดิสนีย์” มัวรีน เวบเบอร์ ผู้จัดการทั่วไปกลุ่มธุรกิจโซลูชั่นการเก็บข้อมูลแบบออปติคอล ฮิวเล็ต แพ็คการ์ดกล่าว “ทางบีดีเอรู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ดิสนีย์ให้การสนับสนุนบลู-เรย์ ดิสก์ และเรารู้สึกตื่นเต้นที่สามารถดึงผลงานความบันเทิงที่จำนวนมากของดิสนีย์มาใช้” ด้านปีเตอร์ เมอร์ฟี่ รองประธานผู้บริหารอาวุโส และประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายวางแผนกลยุทธ์ของบริษัทวอลท์ดิสนีย์กล่าวว่า“ดิสนีย์ยินดีที่ได้ร่วมงานกับบีดีเอ” “เราเชื่อว่าผลงานของแบรนด์ที่ขึ้นชื่อและเนื้อหาที่รวมเข้ากับเทคโนโลยีบลู-เรย์ของเราจะเป็นก้าวสำคัญของการนำเสนอข้อมูลให้กับผู้บริโภคที่นิยมระบบไฮไฟ เราตั้งหน้าตั้งตารอที่จะเพิ่มความเชี่ยวชาญด้านการตลาดและเทคนิกให้กับบลู-เรย์ กรุ๊ป” นายเมอร์ฟีกล่าว

วิเคราะห์- เจาะลึก

ซัมซุงเลือกเดินทางสายกลาง สนับสนุนทั้ง Blue-ray และ HD DVD
Submitted by inferno hellion on 17 April, 2007 - 03:40. tags:
Blue-ray
HD DVD
Samsung
ซัมซุง หนึ่งในบริษัทผู้พัฒนา Blu-ray Disc นั้นได้ออกมาประกาศว่าจะสนับสนุน HD DVD ด้วย โดยการประกาศครั้งนี้ซัมซุงอ้างว่าบริษัทต้องการที่จะผลิตเครื่องเล่นที่สนับสนุนทั้งสองฟอร์แมทคล้าย ๆ กับ LG แม้ว่าในขณะนี้ Blu-ray ขายดีกว่า HD DVD มาก
HD DVD นั้นมีค่ายหนังใหญ่สามค่ายคอยสนับสนุนอยู่ ได้แก่ Universal Studios, Warner Bros. และ Paramount Pictures ในขณะที่ 20th Century Fox, Walt Disney Pictures และ Sony Pictures ที่สนับสนุน Blu-ray แต่ที่จริงแล้ว Warner Bros. และ Paramount ก็สนับสนุน Blu-ray เช่นกัน
การตัดสินใจของซัมซุงครั้งนี้ทำให้ Craig Kornblau ประธานของ Universal Studios Home Entertainment ยิ้มออกทันที โดยเขาได้กล่าวทิ้งท้ายว่า "HD DVD มองตลาดที่มีต้นทุนต่ำกว่า และเมื่อก่อน DVD ก็ไม่ดังจนกว่าผู้ผลิตในจีนเข้ามามีส่วน..."

Any DVD HD เตรียมวางตลาด
Submitted by lew on 15 February, 2007 - 10:47. tags:
Blue-ray
HD DVD
หลังจากที่โดนแฮกจนหมดเปลือกไปเรียบร้อย บริษัทซอฟต์แวร์ก็เริ่มวางตลาดกันอย่างรวดเร็ว เพราะแน่นอนว่าธุรกิจนี้ความเร็วสร้างความได้เปรียบมหาศาล งานนี้บริษัทที่เข้าวินคือ Sly Soft ผู้ผลิตโปรแกรม Clone DVD ที่หลายๆ คนคงรู้จักกันเป็นอย่างดี
ตอนนี้โปรแกรม Any DVD HD 6.1.2.0 ที่รองรับแผ่น HD นี้ยังอยู่ในช่วงเบต้าและกำลังแจกฟรี แต่ต้องลงทะเบียนคนทดสอบก่อน
ที่สำคัญคือมันใช้งานกับไดร์ฟ HD DVD สำหรับ Xbox ได้ด้วย...!

ยอดขาย Blu-ray เพิ่มขึ้นเร็วกว่า HD DVD ถึงสามเท่าตัว
Submitted by lew on 5 February, 2007 - 22:18. tags:
Blue-ray
HD DVD
ผลการสำรวจล่าสุดจาก Videos can รายงานถึงยอดขายภาพยนตร์เปรียบเทียบกันระหว่าง HD DVD และ Blue-ray พบว่าในช่วงตั้งแต่วันที่ 8 ถึง 14 มกราคมที่ผ่านมาปริมาณแผ่น Blue-ray มียอดขายสูงกว่าเกือบสามเท่าตัว แม้ว่ายอดขายรวมนับแต่เริ่มวางตลาดนั้นฝั่ง HD DVD จะนำหน้าออกไปค่อนข้างไกลก็ตาม
ส่วนทางด้านเครื่องเล่นนั้น ปัจจุบันมีเครื่องเล่น HD DVD วางขายในสหรัฐฯ ไปแล้วประมาณ 175,000 เครื่อง ขณะที่ Blue-ray นั้นเมื่อรวมยอดเข้ากับ PS3 แล้วมียอดขายถึง 687,300 เครื่อง นับว่าน่าตระหนกทีเดียวสำหรับกลุ่มที่ซัพพอร์ต HD DVD อยู่ในตอนนี้
แน่นอนว่าสงครามตอนนี้ยังอยู่ในช่วงเริ่มต้นเท่านั้น แต่ด้วยแผนการอัดฉีดเครื่องเข้าสู่ตลาดผ่าน PS3 ของโซนี่ก็สร้างความได้เปรียบที่ทางฝั่ง HD DVD นั้นต้องทำการบ้านอีกนานกว่าจะตามทัน
ปัญหาหลักตอนนี้คือจอที่มันรองรับ 1080p นี่แพงเลยน่ะสิ


ตั้งเป้าบลูเรย์แทนดีวีดีภายใน3ปี ในงานซีบิต สมาคมผู้ผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่ให้การสนัลสนุนเทคโนโลยีบลูเรย์ดิสก์ (Blu-ray) ภาคพื้นยุโรปออกมาประกาศว่ากำหนดขอบเวลาให้บลูเรย์สามารถเข้ามาแทนสื่อเก็บข้อมูลดีวีดีไว้ที่3ปี "ภายในสามปี สื่อเก็บข้อมูลที่ได้รับความนิยมจะมีเพียงบลูเรย์" แฟรงค์ ซิโมนิส (Frank Simonis) ประธานสมาคมบลูเรย์ดิสก์ภาคพื้นยุโรปหรือ Blu-ray Disc Association European กล่าว เพราะความจุที่ไม่เพียงพอต่อความต้องการของอุตสาหกรรมความบันเทิงทำให้ทุกฝ่ายมองว่ากาลอวสานของสื่อเก็บข้อมูลดีวีดีกำลังจะมาถึง บลูเรย์นั้นเป็นหนึ่งในสองสื่อเก็บข้อมูลชนิดใหม่ที่คาดว่าจะมาแทนที่ดีวีดี ซึ่งที่ผ่านมามีการแข่งขันอย่างดุเดือดกับเทคโนโลยีเอชดี ดีวีดี (HD DVD) ที่เสนอตัวเป็นสื่อเก็บข้อมูลชนิดใหม่เช่นกัน โดยทั้งสองเทคโนโลยีมีความจุสำหรับเก็บข้อมูลมากกว่าแผ่นดีวีดีปัจจุบันราว5เท่าทำให้สามารถเก็บภาพกราฟิกสมจริงมากขึ้น การประกาศครั้งนี้เกิดขึ้นหลังจากการประกาศกำหนดการส่งเครื่องเล่นแผ่นบลูเรย์ดิสก์รุ่นใหม่ "BDP-S300" ลงตลาดช่วงกลางปีนี้ของโซนี่ ความพิเศษของเครื่องเล่นนี้คือราคาที่กำหนดไว้ที่ 599 เหรียญสหรัฐ ถูกกว่ารุ่นเครื่องเล่นบลูเรย์ BDP-S1 ที่มีฟีเจอร์เหมือนกันซึ่งวางขายในขณะนี้ถึง 400 เหรียญสหรัฐ การหั่นราคาเครื่องเล่นบลูเรย์ครั้งนี้ถูกนักวิเคราะห์มองว่าเป็นการตัดราคาเพื่อให้สามารถแข่งขันกับฟอร์แมตของคู่แข่งอย่างHD-DVDที่มีโตชิบาเป็นผู้นำทัพ ที่มา http://www.manager.co.th/Cyberbiz/ViewNews.aspx?NewsID=9500000030759]

Blu-ray เสียงตอบรับไม่ดีเท่า HD DVD
Submitted by mk on 8 December, 2006 - 12:54. tags:
Blue-ray
HD DVD
Storage
บริษัทวิเคราะห์ตลาดชื่อ Cymfony ได้สำรวจเสียงตอบรับของผู้บริโภคจากบล็อกและเว็บบอร์ดต่างๆ (ส่วนมากเป็นพวก Hi-Fi กับเกมเมอร์) ในช่วงสองเดือนที่ผ่านมา สรุปได้ว่า HD DVD ได้เสียงตอบรับเป็นบวกมากกว่า Blue-ray
เหตุผลหลักกลับไม่ใช่ประเด็นทางเทคนิค สาเหตุอันดับหนึ่งที่ไม่สนับสนุน Blue-ray คือ ไม่ชอบเป็นการส่วนตัว (26%) เพราะฟอร์แมตของโซนี่ในอดีต (Minidisk, Beta, ATRAC) และท่าทีของโซนี่เองที่ค่อนข้างหยิ่งในเรื่องนี้
อันดับสองคือการที่โซนี่รวม Blue-ray เข้ามาใน PS3 ทำให้เครื่อง+เกมแพงโดยใช่เหตุ (21%) และอันดับสามเรื่องสงครามฟอร์แมต (16%) คิดจะซื้อเครื่องเล่นแผ่นยุคใหม่ในช่วงนี้คงยังไม่เหมาะ น่าจะรออีกซักปีสองปี

TDK ประกาศพร้อมวางตลาดแผ่น Blu-ray
Submitted by lew on 11 April, 2006 - 22:38. tags:
Blue-ray
Digital Media
Hardware
สงครามแผ่นออปติคอลรุ่นต่อไประอุขึ้นเรื่อยๆ เมื่อค่าย Blue-ray อย่าง TDK ออกมาประกาศว่าพร้อมวางตลาดแผ่น BD-R ที่เขียนได้ครั้งเดียวที่ความจุ 25 กิกะไบต์ และแผ่น BD-RW ที่เขียนซ้ำได้ที่ความจุเดียวกัน โดยแผ่นทั้งสองจะวางจำหน่ายในราคา 19.99 และ 24.99 ดอลลาร์ตามลำดับ
งานนี้ทางด้าน HD-DVD รีบออกมาโต้ว่าแผ่นเขียนได้ความจุ 30 กิกะไบต์ก็กำลังวางตลาดในเร็วๆ นี้เช่นกัน ส่วนด้าน Blue-ray นั้นยังมีไม้เด็ดคือแผ่นแบบสองชั้นที่ให้ความจุถึง 50 กิกะไบต์ ซึ่งทาง TDK ระบุว่าจะวางขายกันในปลายปี เพราะเครื่องที่รองรับยังไม่มีออกมาจนกว่านะถึงช่วงนั้น
อาจจะขัดกับนโยบายเว็บที่ไม่สนับสนุนของเถื่อนสักหน่อย แต่ถ้าถามผม ฟอร์แมตที่อยู่รอดคือฟอร์แมตที่มีแผ่นก๊อปออกมาวางขายก่อน :p
ที่มา - TG Daily



คุณคิดว่าศึกระหว่าง Blue-ray กับ HD-DVD ใครจะไปได้ไกลกว่ากัน?


Blue-ray HD-DVD คู่คี่-สูสี ขึ้นกับแผนการตลาด ไม่สนใจทั้งคู่

คุณคิดว่าศึกระหว่าง Blue-ray กับ HD-DVD ใครจะไปได้ไกลกว่ากัน?

Blue-ray

(27.8%, 209 votes)
HD-DVD

(29.9%, 225 votes)
คู่คี่-สูสี

(14.2%, 107 votes)
ขึ้นกับแผนการตลาด

(15.7%, 118 votes)
ไม่สนใจทั้งคู่

(12.5%, 94 votes)

ไม่มีความคิดเห็น: