โรงไฟฟ้านิวเคลียร์
ประวัติความเป็นมาของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์
โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ที่ประเทศฝรั่งเศส ที่เห็นได้ชัดจากรูปนี้คือหอคอยเย็น ตึกตรงกลางเป็นที่ตั้งของ เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์
โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ คือ โรงไฟฟ้าแบบความร้อน ซึ่งมีแหล่งพลังงานความร้อนคือเครื่องปฏิกรณ์ที่ใช้พลังงานนิวเคลียร์
โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ เป็นโรงไฟฟ้าชนิดที่ผลิตพลังงานคงที่ โดยไม่ขึ้นกับการกำลังใช้งานที่จ่ายจริง ดังนั้นจึงจะมีประสิทธิภาพดีถ้าต้องจ่ายกำลังไฟฟ้าคงที่ (ในขณะที่โรงไฟฟ้าที่ใช้การต้มน้ำ สามารถลดการจ่ายไฟลงครึ่งหนึ่งได้เวลากลางคืน) กำลังไฟที่หน่วยผลิตจ่ายได้นั้นอาจมีตั้งแต่ 40 เมกะวัตต์ จนถึงเกือบ 2000 เมกะวัตต์ ในปัจจุบันหน่วยผลิตที่สร้างกันมีขอบเขตอยู่ที่ 600-1200 เมกะวัตต์
ในปีพ.ศ. 2548 มีเครื่องปฏิกรณ์ทำงานอยู่ 441 เครื่องทั่วโลก [1] รวมแล้วผลิตกำลังไฟฟ้าเป็น 1 ใน 6 ส่วนของพลังงานไฟฟ้าทั้งหมดในโลก
“โรงไฟฟ้านิวเคลียร์” คือ โรงงานผลิต กระแสไฟฟ้าที่ใช้พลังงานความร้อนจากปฏิกิริยาแตกตัวทางนิวเคลียร์ (nuclear fission reaction) ทำให้น้ำกลายเป็นไอน้ำที่มีแรงดันสูง แล้วส่งไอน้ำไปหมุนกังหันไอน้ำ ซึ่งต่อกับเครื่องกำเนิดไฟฟ้า เพื่อผลิตไฟฟ้า และส่งต่อไปยังผู้บริโภคต่อไป
โรงไฟฟ้านิวเคลียร์มีหลักการผลิตไฟฟ้าคล้ายกับโรงไฟฟ้าพลังความร้อนทั่วไป กล่าวคือ จะใช้พลังงานความร้อนไปผลิตไอน้ำ แล้วส่งไอน้ำไปหมุนกังหันไอน้ำและ เครื่องกำเนิดไฟฟ้า เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า ออกมา แต่มีข้อแตกต่างกันคือ ต้นกำเนิดพลังงานความร้อนของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เกิดจากปฏิกิริยาแตกตัวของยูเรเนียม-๒๓๕ ในเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ ส่วนความร้อนจากโรงไฟฟ้าพลังความร้อนทั่วไปนั้นได้จากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิง ซึ่งได้แก่ ถ่านหินหรือลิกไนต์ ก๊าซธรรมชาติหรือน้ำมัน เมื่อเปรียบเทียบปริมาณเชื้อเพลิงที่ใช้สำหรับการ ผลิตไฟฟ้า พบว่า หากใช้ยูเรเนียมธรรมชาติ (ความเข้มข้นของยูเรเนียม-๒๓๕ ประมาณร้อยละ ๐.๗) จำนวน ๑ ตัน จะสามารถผลิตไฟฟ้าได้มากกว่า ๔๐ ล้านกิโลวัตต์/ชั่วโมง ในขณะที่ต้องใช้ถ่านหินถึง ๑๖,๐๐๐ ตัน หรือใช้น้ำมันถึง ๘๐,๐๐๐ บาร์เรล (ประมาณ ๑๓ ล้านลิตร) จึงจะผลิตไฟฟ้าได้เท่ากัน
การนำพลังงานนิวเคลียร์มาใช้เพื่อผลิต ไฟฟ้า เป็นความสำเร็จทางวิทยาศาสตร์ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาประมาณ ๕๐ ปีที่ผ่านมานี้เอง โดยใน พ.ศ. ๒๔๙๔ ได้มีการทดลอง เดินเครื่องปฏิกรณ์เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าเป็นครั้งแรกของโลกขึ้นที่สถานีทดลองพลังงานไอดาโฮ เพื่อจ่ายกระแสไฟฟ้าให้แก่ เมืองอาร์โค มลรัฐไอดาโฮ ประเทศสหรัฐอเมริกา
การก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แบบปฏิกรณ์ความดันสูงในเชิงพาณิชย์ขนาด ๗๕ เมกะวัตต์ ได้เริ่มขึ้นที่ชิปปิงพอร์ต มลรัฐเพนซิลเวเนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา ใน พ.ศ. ๒๔๙๗ และได้จ่ายกระแสไฟฟ้าให้แก่เมืองพิตต์สเบิร์ก ใน พ.ศ. ๒๕๐๐
ต่อมาใน พ.ศ. ๒๕๐๒ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เดรสเดน (แบบปฏิกรณ์น้ำเดือด) ได้เดินเครื่องจ่ายกระแสไฟฟ้าให้แก่เมืองมอร์ริส มลรัฐอิลลินอยส์ หลังจากนั้น การก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ทั้ง ๒ แบบได้ขยายตัวขึ้น และแพร่หลายไปยังประเทศอื่นๆ รวมทั้งการพัฒนาเทคโนโลยีโรงไฟฟ้า นิวเคลียร์ให้มีขนาดใหญ่ขึ้นกว่า ๑,๐๐๐ เมกะวัตต์ และมีความปลอดภัยยิ่งขึ้น
โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในประเทศไทย
คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ได้บรรจุในแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า โดยโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ กำหนดให้มีโรงไฟฟ้าในปี พ.ศ. 2563-2564 รวมกำลังผลิต 4,000 เมกะวัตต์ หรือจะเท่ากับปริมาณโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 4 โรงนั้น ระยะเวลาการก่อสร้างต่อโรงอยู่ที่ประมาณ 6-7 ปี [2]
โรงไฟฟ้านิวเคลียร์มี่ส่วนประกอบที่สำคัญอะไรบ้าง
โรงไฟฟ้านิวเคลียร์มีส่วนประกอบที่สำคัญ คือ
๑) อาคารปฏิกรณ์ ประกอบด้วย เครื่องปฏิกรณ์ เครื่องผลิตไอน้ำ เครื่องควบคุมความดัน ปั๊มน้ำระบายความร้อน อุปกรณ์อื่นๆ เช่น วัสดุกำบังรังสี ระบบควบคุมการเดินเครื่อง และระบบความปลอดภัยต่างๆ
๒) อาคารเสริมระบบปฏิกรณ์ ประกอบด้วย เครื่องมืออุปกรณ์สำหรับการเดินเครื่องปฏิกรณ์ อุปกรณ์ความปลอดภัย บ่อเก็บเชื้อเพลิงใช้แล้ว
๓) อาคารกังหันไอน้ำ ประกอบด้วย ชุดกังหันไอน้ำ เครื่องกำเนิดไฟฟ้าและอุปกรณ์ประกอบ
๔) สถานีไฟฟ้าแรงสูง ประกอบด้วย ระบบสายส่งไฟฟ้าแรงสูงและอุปกรณ์ประกอบ
๕) อาคารฝึกหัดเดินเครื่องโรงไฟฟ้า ประกอบด้วย แบบจำลองสำหรับฝึกหัดเดินเครื่องโรงไฟฟ้า ทั้งสภาวะปกติและฉุกเฉิน
๖) อาคารระบบคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วย ระบบอุปกรณ์/ข้อมูลสำหรับ การเดินเครื่องโรงไฟฟ้า
๗) หม้อแปลงไฟฟ้า ประกอบด้วย หม้อแปลงไฟฟ้าหลัก และหม้อแปลงไฟฟ้าสำรองสำหรับการเดินเครื่อง
๘) อาคารอำนวยการ ประกอบด้วย สำนักงาน ห้องทำงานต่างๆ ห้องประชุม
๙) อาคารสำนักงานและฝึกอบรม ประกอบด้วย ห้องทำงาน ห้องฝึกอบรม ห้องประชุม ห้องปฏิบัติการทางเคมี ห้องอาหาร
๑๐) อาคารรักษาความปลอดภัย เป็นอาคารทางเข้าบริเวณโรงไฟฟ้า ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่และอุปกรณ์เครื่องมือของระบบรักษาความปลอดภัยต่างๆ
๑๑) อาคารโรงสูบน้ำ เป็นอาคารที่สูบน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติภายนอก เพื่อนำมาควบแน่นไอน้ำในระบบผลิตไอน้ำ ประกอบด้วย ชุดปั๊มน้ำ และอุปกรณ์ประกอบต่างๆ
๑๒) ส่วนประกอบอื่นๆ ได้แก่ ระบบสายส่งไฟฟ้าแรงสูง และหอระบายความร้อน (ถ้าไม่มีแหล่งน้ำธรรมชาติขนาดใหญ่)
เชื้อเพลิงนิวเคลียร์
ใช้แร่ยูเรเนียมเป็นเชื้อเพลิงแต่ต้องผ่านกระบวนการแปลงสภาพให้เป็นเม็ดประกอบเป็นแท่งแล้วมัดรวมกันเป็นมัดๆ เสียก่อน จากนั้นจึงนำไปใช้งานได้โดยใส่ไว้ในภาชนะที่เรียกว่าหม้อปฏิกรณ์เพื่อให้เกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ และความร้อน
ความปลอดภัย
หลักการทำงานในหม้อปฏิกรณ์แตกต่างอย่างตรงกันข้ามกับระเบิดนิวเคลียร์
สิ่งแวดล้อม
โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ผลิตความร้อนโดยไม่มีการเผาไหม้จึงตัดปัญหาเรื่องแก๊สพิษ ฝุ่นละออง และ ขี้เถ้า
เศรษฐศาสตร์นิวเคลียร์
เงินลงทุนในการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์จะสูงกว่าโรงไฟฟ้าชนิดอื่นๆ เนื่องจากการระดมมาตรการความปลอดภัยสูงมาก อย่างไรก็ตามต้นทุนการผลิตไฟฟ้าต่อหน่วยโดยเฉลี่ยถูกกว่าโรงไฟฟ้าพลังความร้อนชนิดอื่นๆ เนื่องจากค่าเชื้อเพลิงที่ต่ำมาก ต้นทุนการผลิตไฟฟ้าได้รวมค่าใช้จ่ายในการกำจัดกากกัมมันตภาพรังสี และ การรื้นถอนโรงไฟฟ้าเมื่อหมดอายุใช้งานแล้วโดยทั่วไปประมาณ 30 ปี
จำนวนโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ทั่วโลก
สหรัฐอเมริกา 109 โรง
ฝรั่งเศส 56 โรง
ญี่ปุ่น 49 โรง
สหราชอาณาจักร 34 โรง
รัสเซีย 29 โรง
แคนาดา 22 โรง
กระแสไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์
เซลล์สุริยะ ( Solar Cell ) เป็นสิ่งประดิษฐ์ทางอิเล็กทรอนิกส์ทำจากสารกึ่งตัวนำที่สามารถเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานไฟฟ้าได้โดยตรง เซลล์สุริยะที่ใช้กันในปัจจุบัน มีหลายชนิด แต่ที่ใช้กันทั่วไปทำจากซิลิคอนซึ่งเป็นธาตุที่มีองค์ประกอบของทรายและเป็นธาตุที่มีมาก เมื่อมีแสงอาทิตย์ตกกระทบด้านบนของเซลล์จะผ่านไปถึงรอยต่อ ทำให้ซิลิคอนชนิดเอ็นและพีเกิดความต่างศักย์ไฟฟ้าขึ้น เมื่อต่อขั้วไฟฟ้าของเซลล์สุริยะเข้ากับวงจรภายนอกจะทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าขึ้น กระแสไฟฟ้าที่เกิดขึ้นนี้เป็นกระแสตรงมีการใช้งานมากกว่า 20 ปีขึ้นไป เนื่องจากเซลล์สุริยะเซลล์หนึ่งสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าและแรงเคลื่อนไฟฟ้าได้จำกัด ดังนั้น ในการนำเซลล์สุริยะไปใช้งานจำเป็นต้องนำเซลล์มาต่อกันแบบอนุกรมหรือแบบขนานเป็นแผง หลอดไฟฟ้าในบ้าน ซึ่งแบ่งเป็น 2 ชนิด คือ หลอดไฟฟ้าชนิดไส้ และ หลอดฟลูออเรสเซนต์
หลอดไฟฟ้าชนิดไส้ ทำด้วยหลอดแก้ว มีไส้หลอดที่ทำด้วยโลหะที่มีจุดหลอมเหลวสูงเช่น ทังสเตน ภายในหลอดแก้วเกือบเป็นสุญญากาศ เมื่อกระแสไฟฟ้าผ่านไส้หลอด จะมีผลให้ไส้หลอดส่องแสงสว่างออกมา หลอดฟลูออเรสเซนต์ ทำด้วยหลอดแก้ว ภายในสูบอากาศออกเกือบหมด และบรรจุปรอทไว้เล็กน้อย ที่ผิวด้านในของหลอดฉาบด้วยสารวาวแสง ซึ่งเป็นสารเคมีบางชนิดที่เปล่งสารได้ เมื่อมีรังสีอัลตราไวโอเลต ประสิทธิภาพในการเปลี่ยนแปลงพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานแสงของหลอดทั้งสองจึงแตกต่างกันจากการศึกษา พบว่าหลอดฟลูออเรสเซนต์ให้ความสว่างมากกว่าหลอดไฟฟ้าชนิดไส้ 5 เท่า นอกจากนี้หลอดฟลูออเรสเซนต์ยังมีอายุใช้งานมากกว่าหลอดไฟฟ้าชนิดไส้ ประมาณ 8 เท่า ปัจจุบันได้มีการพัฒนาหลอดฟลูออเรสเซนต์ แบบใหม่อีก 2 แบบ คือ หลอดฟลูออเรสเซนต์ ประสิทธิภาพสูง ( หลอดผอม ) หลอดรุ่นนี้ประหยัดพลังงานได้มากกว่า หลอดฟลูออเรสเซนต์คอมแพค มีขนาดกำลังไฟฟ้าให้เลือกใช้ตามความเหมาะสม มีราคาค่อนข้างแพงแต่ในระยะยาวจะคุ้มกว่าเพราะประหยัดพลังงานไฟฟ้าได้มากและมีอายุการใช้งานนานกว่า
โรงไฟฟ้านิวเคลียร์
พลังงานไฟฟ้านับเป็นปัจจัยที่จำเป็นต่อสิ่งอำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวันของผู้คนในปัจจุบันอย่างยิ่ง ทั้งภายในบ้านเรือนห้างร้าน สถานประกอบการต่างๆ รวมทั้งโรงงานอุตสาหกรรมเป็นต้น ซึ่งมีผลต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและการพัฒนาประเทศทั้งทางตรงและทางอ้อม พลังงานไฟฟ้าซึ่งใช้กันอยู่นี้ได้มาจากการแปรสภาพทรัพยากรธรรมชาติในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นพลังงานลม แสงอาทิตย์ น้ำ การเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล เช่น น้ำมัน ถ่านหิน และก๊าซธรรมชาติ เป็นต้น การแปรสภาพทรัพยากรธรรมชาติเป็นพลังงานดังกล่าวย่อมมีผลกระทบต่อธรรมชาติมากน้อยต่างกันไป
ในปัจจุบันการดำเนินนโยบายและการจัดหาพลังงานต่างๆ รวมทั้งพลังงานไฟฟ้าเพื่อตอบสนองความต้องการทั้งภาครัฐ และเอกชนเป็นหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐ ซึ่งต้องมีการวางแผนไว้เป็นระยะยาวเพื่อป้องกันการเกิดการขาดแคลนพลังงานขึ้นทรัพยากรธรรมชาติหลายชนิดดังกล่าวข้างต้นมีขีดจำกัดในการขยายกำลังการผลิตและบางอย่างนับวันจะหมดไป รัฐจึงจำเป็นต้องมีการพิจารณาแหล่งพลังงานใหม่เพื่อมาเสริมสร้างความมั่นคงการผลิตกระแสไฟฟ้าในอนาคต นั่นคือ พลังงานนิวเคลียร์ และทั้งนี้รัฐบาลมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเผยแพร่ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับแหล่งพลังงานนิวเคลียร์ให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจอย่างถูกต้อง เพื่อให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการพิจารณาตัดสินใจ และเพื่อป้องกันมิให้เกิดการกระแสคัดค้านโดยไร้เหตุผลในอนาคต
CATTENOM (จาก P'4( THE 1300 MWE PWR DERIES 2 units : M1300 We each ประเทศ ฝรั่งเศส หน้า 25 )
หลักการทำงานของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์
อาจกล่าวได้ว่าโรงไฟฟ้าโดยทั่วไปจะประกอบด้วยส่วนหลัก 2 ส่วน คือ ส่วนแรกเป็นต้นกำเนิดพลังงาน ไม่ว่าจะเป็น พลังงานน้ำ ลม แสง อาทิตย์ และความร้อน เป็นต้น และส่วนที่สองผลิตไฟฟ้า ซึ่งจะแปรพลังงานดังกล่าวเป็นพลังงานไฟฟ้าต่อไป โดยในที่นี้จะขอกล่าวถึงพลังงานความร้อนเท่านั้น เพราะในโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนนั้น ได้ความร้อนจากการเผาไหม้เชื้อเพลิง เช่น น้ำมัน ถ่านหิน และก๊าซธรรมชาติ ฯลฯ แล้วถ่ายเทความร้อนที่เกิดขึ้นภายนอกจากการสันดาปไปต้มน้ำในท่อผลิตไอน้ำให้เดือดเป็นไอน้ำ แล้วไปหมุนกังหันไอน้ำที่ติดกับเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเพื่อผลิตไฟฟ้าต่อไป
เครื่องกำเนิดไฟฟ้า
หลักการผลิตกระแสไฟฟ้า
กระแสไฟฟ้า เกิดจากการใช้แรงหมุนกลไกภายในเครื่องกำเนิดไฟฟ้าให้ผลิตกระแสไฟฟ้า
ในทำนองเดียวกัน พลังงานนิวเคลียร์ก็เป็นพลังงานอีกรูปแบบหนึ่งให้ความร้อนสูง และสามารถนำมาใช้ผลิตไฟฟ้าทดแทนการใช้เชื้อเพลิงประเภทน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ และถ่านหินได้ ซึ่งมีข้อแตกต่างกับโรงไฟฟ้าพลังความร้อนทั่วไป คือ ในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์นั้น จะแช่เชื้อเพลิงนิวเคลียร์ไว้ในน้ำภายในโครงสร้างปิดสนิทเพื่อถ่ายความร้อนที่ได้จากปฏิกิริยานิวเคลียร์ไปต้มน้ำโดยตรง ซึ่งน้ำที่รับความร้อนมาแล้วนั้นอาจเกิดการเดือดเป็นไอน้ำโดยตรง หรือ นำความร้อนนั้นไปถ่ายเทให้กับน้ำอีกระบบหนึ่งให้เดือดแล้วแต่ชนิดของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ได้รับการออกแบบมาซึ่งจะได้กล่าวถึงชนิดของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่มีใช้เชิงพาณิชย์ในลำดับต่อไป
สำหรับปฏิกิริยานิวเคลียร์ที่ก่อให้เกิดความร้อนเพื่อนำไปผลิตไฟฟ้านั้นมีด้วยกัน 2 ชนิด ได้แก่ ปฏิกิริยาฟิวชัน และปฏิกิริยาฟิชชัน
ปฏิกิริยาฟิวชัน เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นภายในดวงอาทิตย์ จากการรวมตัวของธาตุที่มีน้ำหนักเบา เช่น ไฮโดรเจน ภายใต้สภาวะที่เหมาะสม กลายเป็นธาตุใหม่และปลดปล่อยความร้อนออกมา อย่างไรก็ตามความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในปัจจุบันได้แต่เพียงจำลองปฏิกิริยาดังกล่าวให้เกิดขึ้นในเครื่องมือที่ซับซ้อนบนพื้นโลกได้เพียงระยะเวลาสั้นมาก จำเป็นต้องใช้เวลาอีกนานหลายสิบปีเพื่อพัฒนาให้การเกิดปฏิกิริยาอย่างต่อเนื่องจนสามารถนำมาผลิตไฟฟ้าได้อย่างจริงจัง
ปฏิกิริยาฟิชชัน นั้น เป็นปฏิกิริยาที่ใช้กันอยู่ในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ทั่วไป ได้แก่ การนำอนุภาคนิวตรอนที่ได้มาจากสารรังสีเข้าไปกระตุ้นธาตุหนัก เช่น ยูเรเนียม ทำให้เกิดการแตกตัวกลายเป็นธาตุใหม่ ซึ่งจะมีการปลดปล่อยความร้อนพร้อมกับอนุภาคนิวตรอนที่เกิดขึ้นใหม่อีกจำนวนหนึ่ง ดังนั้น เมื่อมีปริมาณยูเรเนียมหนาแน่นเพียงพอ และสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสม อนุภาคนิวตรอนที่เกิดขึ้นใหม่จะกลับเข้าไปทำปฏิกิริยากับยูเรเนียมอย่างต่อเนื่อง ทำให้ได้ความร้อนออกมาอย่างมหาศาล ทั้งนี้เนื่องจากการแตกตัวของยูเรเนียม 1 อะตอม จะให้พลังงาน ประมาณ 200 MeV ในขณะที่การเผาไหม้ เชื้อเพลิงคาร์บอน 1 อะตอม จะให้พลังงานเพียง 2 - 3 MeV เท่านั้น
BASIC SYSTEM CONFIGURATION(จาก MITSUBISHI PWR NUCLEAR POWER PLANT หน้า 12-13
ส่วนประกอบการทำงานและเชื้อเพลิง
ส่วนกำเนิดพลังงานในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์กล่าวโดยกว้างๆ จะประกอบด้วย เชื้อเพลิงนิวเคลียร์ น้ำที่ใช้ระบายความร้อนและเป็นสารหน่วงนิวตรอนด้วย ถังปฏิกรณ์ความดันสูง ระบบควบคุมปฏิกิริยา ระบบควบคุมความปลอดภัยซึ่งช่วยป้องกันและแก้ไขกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน และระบบผลิตไอน้ำ เป็นต้น
เชื้อเพลิงยูเรเนียมที่ใช้ในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์โดยปกติจะมีความเข้มข้นของยูเรเนียม-235 ประมาณร้อยละ 2-4 (ที่เหลือเป็นยูเรเนียม-238 ซึ่งไม่สามารถเกิดปฏิกิริยาฟิชชันได้ในสภาวะของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ทั่วไป) ในรูปออกไซด์ของยูเรเนียมโดยได้มาจากการถลุงแร่ยูเรเนียมที่มีอยู่ในธรรมชาติ (ไอโซโทปยูเรเนียมที่มีอยู่ในธรรมชาติประกอบด้วย ยูเรเนียม-235 ประมาณร้อยละ 0.7 และ เป็นยูเรเนียม-238 ประมาณร้อยละ 99.27 ที่เหลือเป็นยูเรเนียม 234 ปริมาณน้อยมาก) แล้วนำมาผ่านกระบวนการเสริมสมรรถนะให้มีปริมาณยูเรเนียม-235 มากขึ้น และหลังจากที่ทำให้อยู่ในรูปของออกไซด์แล้วจะถูกทำให้เป็นเม็ดเล็กๆ บรรจุภายในแท่งโลหะผสมของเซอร์โคเนียม ซึ่งจะถูกนำมารวมกลุ่มกันเป็นมัดเชื้อเพลิงประกอบกันเป็นแกนปฏิกรณ์ภายในถังปฏิกรณ์ที่ทนทานความดันสูง
เชื้อเพลิงยูเรเนียมชิ้นหนึ่ง ขนาดเท่ากับแท่งชอล์กหนักประมาณ 20 กรัมจะให้ความร้อนออกมาเทียบเท่ากับน้ำมันเชื้อเพลิง 1 ตัน สามารถนำไปใช้กับรถยนต์คันหนึ่งได้เป็นเวลานานถึง 1 ปี เมื่อพิจารณาโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ขนาด 1,000 เมกะวัตต์จะใช้ยูเรเนียมประมาณปีละ 27 ตัน ซึ่งสกัดมาจากยูเรเนียมในธรรมชาติประมาณ 160 ตัน ซึ่งสามารถผลิตไฟฟ้าเทียบเท่ากับการใช้น้ำมันประมาณปีละ 2 ล้านตัน หรือถ่านหินประมาณปีละ 2.6 ล้านตัน
ภายในถังปฏิกรณ์ มีน้ำที่อยู่ภายใต้การควบคุมความกดดันสูงบรรจุอยู่เพื่อใช้เป็นตัวระบายความร้อนออกจากแท่งเชื้อเพลิง โดยตรง และยังใช้ประโยชน์เป็นสารหน่วงความเร็วนิวตรอนด้วยเพื่อให้นิวตรอนที่เกิดขึ้นมีความเร็วพอเหมาะที่จะเกิดปฎิกิริยาต่อไปได้
ปฏิกิริยาฟิชชันในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์นั้นควบคุมได้ โดยใช้แท่งควบคุมซึ่งเป็นสารที่มีคุณสมบัติพิเศษในการดูดจับอนุภาคนิวตรอน เช่น โบรอนคาร์ไบด์ ทำหน้าที่ควบคุมให้เกิดปฏิกิริยาฟิชชันเพิ่มขึ้นหรือลดลงตามที่ต้องการ โดยเคลื่อนแท่งควบคุมเข้าออกภายในแกนปฏิกรณ์ตามแนวขึ้นลงเพื่อดูดจับอนุภาคนิวตรอนส่วนเกิน
FUEL ASSEMBLY ARRANGEMENT(จาก MITSUBISHI PWR NUCLEAR POWER PLANT หน้า 17 ) FUEL ASSEMBLY CONSTRUCTION(จาก MITSUBISHI PWR NUCLEAR POWER PLANT หน้า 17 )
ความแตกต่างของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์และระเบิดปรมาณู
ถึงแม้ว่าโรงไฟฟ้านิวเคลียร์และระเบิดปรมาณูต่างก็มีหลักการทำงานโดยใช้ปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิชชันเช่นเดียวกัน แต่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ไม่สามารถเกิดระเบิดได้เหมือนกับระเบิดปรมาณู เนื่องจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ใช้เชื้อเพลิงยูเรเนียมที่เจือจางมาก คือมียูเรเนียม-235 ประมาณร้อยละ 2-4 ดังกล่าวแล้ว ทำให้ปฏิกิริยานิวเคลียร์เกิดขึ้นได้ช้าและมีขีดจำกัด หากปล่อยให้ปฏิกิริยานิวเคลียร์เกิดขึ้นโดยไม่มีการควบคุม เช่น ยกแท่งควบคุมออกความร้อนที่ทยอยเกิดขึ้นจะทำให้เชื้อเพลิงยูเรเนียมแตกออกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยและหยุดปฏิกิริยานิวเคลียร์ลงก่อนที่จะกลายเป็นระเบิดปรมาณู ในขณะที่ระเบิดปรมาณูใช้ยูเรเนียมที่มีความเข้มข้นของยูเรเนียม-235 มากกว่าร้อยละ 90 โดยแยกมวลของยูเรเนียม-235 ออกเป็นส่วนๆ เพื่อป้องกันการเกิดมวลวิกฤต เมื่อต้องการให้ระเบิดทำงาน จะมีการใช้การระเบิดทางปฏิกิริยาเคมี เข้ามาผลักดันให้ยูเรเนียมรวมตัวกันและคงสภาพเดิมอยู่ช่วงเวลาหนึ่งจนกระทั่งปฏิกิริยานิวเคลียร์เกิดขึ้นอย่างรุนแรงและต่อเนื่องได้อย่างรวดเร็ว และเกิดการระเบิดได้อย่างรุนแรงในที่สุด
ชนิดของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์
เป็นโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนชนิดหนึ่ง ซึ่งพลังงานความร้อนที่นำไปใช้ผลิตไอน้ำ เพื่อหมุนกังหันผลิตกระแสไฟฟ้าได้จากปฏิกิริยาการแตกตัวของธาตุยูเรเนียม โรงไฟฟ้านิวเคลียร์แบบที่นิยมใช้กันแพร่หลายทั่วโลก 3 แบบ ได้แก่ โรงไฟฟ้าแบบน้ำเดือด ( BWR) โรงไฟฟ้าแบบความดันสูง ( PWR ) และโรงไฟฟ้าแบบแคนดู ( CANDU )
โรงไฟฟ้านิวเคลียร์แบบความดันสูง (Pressurized Water Reactor (PWR) )
โรงไฟฟ้าชนิดนี้น้ำจะถ่ายเทความร้อนจากแท่งเชื้อเพลิงจนมีอุณหภูมิสูงถึงประมาณ 320 องศาเซลเซียสภายในถังขนาดใหญ่ที่อัดความดันสูงประมาณ 15 Mpa (ประมาณ 150 เท่า ของบรรยากาศ) ไว้เพื่อไม่ให้น้ำเดือดกลายเป็นไอ และนำน้ำส่วนนี้ไปถ่ายเทความร้อนให้แก่น้ำหล่อเย็นอีกระบบหนึ่ง (ระบบผลิตไอน้ำซึ่งอาจเรียกว่าเป็นน้ำระบบทุติยภูมิ) ที่ควบคุมความดันไว้ต่ำกว่าเพื่อให้เกิดการเดือดผลิตไอน้ำออกมาเป็นการป้องกันไม่ให้น้ำในถังปฏิกรณ์ (น้ำระบบปฐมภูมิ) ซึ่งมีสารรังสีเจือปนอยู่แพร่กระจายไปยังอุปกรณ์ส่วนอื่นๆ ตลอดจนป้องกันการรั่วของสารกัมมันตรังสีสู่สิ่งแวดล้อม การทำงานของโรงไฟฟ้าชนิดนี้มีความซับซ้อนกว่าโรงไฟฟ้าแบบที่ 2 คือ แบบ BWR และมีข้อด้อยกว่าตรงที่ถังปฏิกรณ์มีราคาสูง เนื่องจากต้องมีระบบป้องกันการรั่วไหลของน้ำระบายความร้อนและอัตราการไหลของน้ำภายในถังสูงในสภาวะความดันและอุณหภูมิสูง เป็นผลให้เกิดปัญหาการสึกกร่อนตามมา
โรงไฟฟ้าแบบน้ำเดือด (Boiling Water Reactor (BWR)
สามารถผลิตไอน้ำได้โดยตรงจากการต้มน้ำภายในถังซึ่งควบคุมความดันภายใน (ประมาณ 7 Mpa) ต่ำกว่าโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แบบแรก (PWR) ดังนั้นความจำเป็นในการใช้เครื่องผลิตไอน้ำและแลกเปลี่ยนความร้อน ปั๊ม และอุปกรณ์ช่วยอื่นๆ ก็ลดลง แต่จำเป็นต้องมีการก่อสร้างอาคารป้องกันรังสีไว้ในระบบอุปกรณ์ส่วนต่างๆ ของโรงไฟฟ้า เนื่องจากไอน้ำจากถังปฏิกรณ์จะถูกส่งผ่านไปยังอุปกรณ์เหล่านั้นโดยตรง
โรงไฟฟ้าแบบที่สามคือแบบแคนดู( CANDU หรือ Pressurized Heavy Water Reactor (PHWR))
มีการทำงานคล้ายคลึงกับแบบ PWR แต่แตกต่างกันที่มีการจัดแกนปฏิกรณ์ในแนวระนาบ และเป็นการต้มน้ำภายในท่อขนาดเล็กจำนวนมากที่มีเชื้อเพลิงบรรจุอยู่แทนการต้มน้ำภายในถังปฏิกรณ์ขนาดใหญ่ เนื่องจากสามารถผลิตได้ง่ายกว่าการผลิตถังขนาดใหญ่ โดยใช้ "น้ำมวลหนัก" มาเป็นตัวระบายความร้อนจากแกนปฏิกรณ์ นอกจากนี้ยังมีการแยกระบบใช้น้ำมวลหนักเป็นตัวหน่วงความเร็วนิวตรอนด้วย เนื่องจากมีการดูดกลืนนิวตรอนน้อยกว่าน้ำธรรมดา ทำให้ปฏิกิริยานิวเคลียร์เกิดขึ้นได้ง่าย จึงสามารถใช้เชื้อเพลิงยูเรเนียมที่สกัดมาจากธรรมชาติซึ่งมียูเรเนียม-235 ประมาณร้อยละ 0.7 ได้โดยไม่จำเป็นต้องผ่านขบวนการปรับปรุงให้มีความเข้มข้นสูงขึ้นทำให้ปริมาณผลิตผลจากการแตกตัว (fission product) ที่เกิดขึ้นในแท่งเชื้อเพลิงใช้แล้วมีน้อยกว่าเครื่องปฏิกรณ์แบบใช้น้ำธรรมดาและหากเกิด การรั่วของน้ำระบายความร้อน ก็จะมีการลดของความดันช้ากว่าเนื่องจากท่อระบายความร้อนมีขนาดเล็กกว่านั่นเอง
อย่างไรก็ตาม แกนของเครื่องปฏิกรณ์ชนิดนี้จะมีขนาดใหญ่กว่า 2 แบบแรกและต้องมีการตรวจวัดหลายจุด และใช้ระบบควบคุมปฏิกิริยาหลายอย่างเพื่อป้องกันการเปลี่ยนแปลงการเกิดปฏิกิริยาในแกน และมักมีปัญหาการโค้งงอของท่อบรรจุเชื้อเพลิงเมื่อใช้งานไปนานๆ
สถิติโรงไฟฟ้านิวเคลียร์
ย้อนหลังไปในเดือนธันวาคม พ.ศ.2538 การสำรวจโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ใช้งานอยู่ทั้งหมดพบว่ามีการใช้งานโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ชนิดต่างๆ รวม 437 โรง แบ่งเป็นโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แบบ PWR 203 โรง (46.5%) แบบ BWR 93 โรง (21.3%) แบบ CANDU 33 โรง (7.5%) ส่วนโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ซึ่งอยู่ในระหว่างการก่อสร้างมีจำนวน 39 โรง ซึ่งยังคงนิยมใช้โรงไฟฟ้านิวเคลียร์แบบ PWR ถึง 12 โรง (30.8%) แต่ได้หันมาใช้โรงไฟฟ้านิวเคลียร์แบบอื่นเพิ่มขึ้นโดย 10 โรง (25.6%) เป็นโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แบบ CANDU และ 2 โรง (5.1%) เป็นโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แบบ BWR นอกนั้นที่เหลืออีก 15 โรง (38.5%) เป็นโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แบบอื่นๆ
ส่วนในปัจจุบัน ทั่วโลกมีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ทั้งหมด 438 โรงและกำลังก่อสร้างอยู่ 31 โรง (มกราคม 2544) ประเทศที่มีสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์มากที่สุด ได้แก่ประเทศฝรั่งเศส โดย 75% ของไฟฟ้าที่ผลิตได้ทั้งหมด ตามด้วยประเทศลิธัวเนีย เบลเยี่ยม บัลแกเรีย และสาธารณรัฐสโลวเกีย ซึ่งมีสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าจากนิวเคลียร์ร้อยละ 73.1, 57.7, 47.1 และ 47 ตามลำดับ
สำหรับประเทศในทวีปเอเซียซึ่งมีการใช้งานโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ได้แก่ ประเทศญี่ปุ่น (53 โรง กำลังก่อสร้าง 4 โรง) เกาหลีใต้ (16 โรง กำลังก่อสร้าง 4 โรง) อินเดีย (14 โรง) ไต้หวัน (6 โรง กำลังก่อสร้าง 2 โรง) จีน (3 โรง กำลังก่อสร้าง 7 โรง) ปากีสถาน (2 โรง) และอิหร่าน (กำลังก่อสร้าง 2 โรง)
นอกจากนี้ประเทศอินโดนีเซียได้ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาประเทศญี่ปุ่นให้ทำการศึกษาความเหมาะสมของสถานที่ตั้งโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ โดยคาดว่าจะมีการใช้โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ขนาด 600 เมกะวัตต์ได้หลังปี พ.ศ.2546 ส่วนประเทศฟิลิปปินส์ได้ก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ขนาด 650 เมกะวัตต์แล้วเสร็จแต่ได้ยกเลิกการใช้งานเนื่องจากเหตุผลทางการเมือง ซึ่งในปัจจุบันมีแผนการที่จะนำโรงไฟฟ้าดังกล่าวกลับมาใช้ใหม่โดยการให้สัมปทานแก่ผู้ก่อสร้างดำเนินการผลิตไฟฟ้าเป็นเวลา 30 ปี
ตารางที่1สถิติโรงไฟฟ้านิวเคลียร์
เดินเครื่องรวมทั้งสิ้น 438 ,อยู่ในระหว่างก่อสร้าง 11 โรง มีกำลังการผลิตผลิตไฟฟ้า 351,327 เมกะวัตต์
ประเทศ เดินเครื่อง ก่อสร้าง ประเทศ เดินเครื่องก่อสร้าง
แคนาดา 14 - ลิทัวเนีย 2 -
จีน 3 7 สโลวาเกีย 6 2
ญี่ปุ่น 53 4 สโลวาเนีย 1 -
ไต้หวัน 6 2 สเปน 9 -
เนเธอร์แลนด์ 1 - สหรัฐอเมริกา 104 -
บราซิล 2 - สาธารณรัฐเกาหลีเหนือ 16 4
บัลแกเรีย 6 - สาธารณรัฐเชค 5 1
เบลเยี่ยม 7 - สวีเดน 11 -
ปากีสถาน 2 - สวิสเซอร์แลนด์ 5 -
ฝรั่งเศส 59 - อาร์เจนตินา 2 1
ีฟินแลนด ์ 4 - อินเดีย 14 -
เม็กซิโก 2 - อาร์เมเนีย 1 -
ยูเครน 13 4 อิหร่าน - 2
เยอรมนี 19 - อังกฤษ 35 -
รัสเซีย 29 3 แอฟริกาใต้ 2 -
โรมาเนีย 1 1 ฮังการี 4 -
หมายเหตุ ข้อมูลจาก IAEA BULLETIN vol.43 No.3, 2001 Vienna, Austria pp.49
ราคาก่อสร้าง
โครงการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ เป็นโครงการระยะยาว โดยการก่อสร้างนับตั้งแต่เริ่มเทคอนกรีตครั้งแรกจนกระทั่งเดินเครื่องใช้งานได้จะใช้เวลาก่อสร้างนาน 6-8 ปี และยังจำเป็นต้องใช้เวลาดำเนินการล่วงหน้าประมาณ 4 ปีในเรื่องการเลือกสถานที่ตั้งการออกแบบและการวิเคราะห์ความปลอดภัย ดังนั้นหลังจากที่ได้มีการตัดสินใจก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แล้ว ต้องใช้เวลานานประมาณ 8-12 ปี จึงจะสามารถใช้งานโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ได้ ทำให้ต้องใช้เงินลงทุนค่อนข้างสูงและหากการก่อสร้างเกิดอุปสรรคความล่าช้าอาจส่งผลกระทบโดยตรงกับการลงทุนของโครงการ
ทั้งนี้จากผลการศึกษาของ OECD (Organization for Economic Co-operation and Development) ล่าสุดในปี พ.ศ.2541 ปรากฏว่าราคาค่าก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์มีราคาประมาณ 1,700-3,100 เหรียญสหรัฐ/กิโลวัตต์ ซึ่งเมื่อพิจารณาโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ขนาด 1,000 เมกะวัตต์ ใช้เวลาก่อสร้าง 4-6 ปีจะมีค่าก่อสร้างประมาณ 1,700-2,100 ล้านเหรียญสหรัฐ (7.6 - 9.4 หมื่นล้านบาท) ทั้งนี้หากใช้เวลาก่อสร้างล่าช้าถึง 8 ปีจะต้องใช้เงินลงทุนก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ทั้งสิ้น 1.4 แสนล้านบาท (1 เหรียญสหรัฐเท่ากับ 45 บาท) เพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละประมาณ 2 หมื่นล้านบาท
เมื่อเปรียบเทียบต้นทุนการผลิตไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์กับโรงไฟฟ้าชนิดอื่นนั้น จากผลการศึกษาของ OECD เช่นเดียวกันปรากฏว่าต้นทุนการผลิตไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในประเทศต่างๆ ส่วนใหญ่มีราคาใกล้เคียงกันกับต้นทุนการผลิตไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าถ่านหิน
อย่างไรก็ตามผลการศึกษาของคณะอนุกรรมการศึกษาความเหมาะสมเศรษฐศาสตร์และโครงสร้างพื้นฐาน ในคณะกรรมการศึกษาความเป็นไปได้ของการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในประเทศไทยเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2541 ได้สรุปว่า เมื่อเปรียบเทียบโครงการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ โรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมถ่านหินนำเข้าและน้ำมันเตา ปรากฏว่าโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ไม่คุ้มค่าการลงทุน
ภาพโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ขณะทำการก่อสร้าง
การจัดหาเชื้อเพลิงยูเรเนียม
โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ขนาด 1,000 เมกะวัตต์จะใช้เชื้อเพลิงยูเรเนียมครั้งแรกประมาณ 100 ถึง 120 ตัน (ขึ้นกับชนิดของโรงไฟฟ้า) ซึ่งสกัดมาจากแร่ยูเรเนียมในธรรมชาติประมาณ 590 ตัน หลังจากนั้นจะต้องเติมเชื้อเพลิงใหม่ทุกๆ ปี ประมาณปีละ 27-30 ตันเทียบเท่ากับยูเรเนียมธรรมชาติประมาณ 160 ตัน
แหล่งผลิตแร่ยูเรเนียมที่สำคัญได้แก่ อดีตสหภาพโซเวียตรัสเซีย (24.7%) แคนาดา (20.1%) ออสเตรเลีย (9.3%) นามิเบีย และไนเจอร์ (13%) สหรัฐอเมริกา (7.5 %) และประเทศอื่นๆ (25.4%) ได้แก่ จีน เชคโกสโลวาเกีย ฝรั่งเศส กาบอน เยอรมนี และอัฟริกาใต้
ในปี พ.ศ.2534 ทั่วโลกมีความต้องการแร่ยูเรเนียมทั้งหมด 56,800 ตัน ขณะที่มีกำลังการผลิตประมาณ 43,300 - 43,800 ตัน ส่วนที่เหลือได้จากการนำแร่ยูเรเนียมสำรองมาใช้โดยมีปริมาณสำรองทั่วโลกประมาณแสนตัน ทั้งนี้ไม่รวมถึงปริมาณสำรองที่ใช้ในการทหาร
ประเทศไทยยังไม่มีการค้นพบแหล่งแร่ยูเรเนียมในปริมาณเพียงพอที่จะทำเหมืองได้ อย่างไรก็ตาม สำนักงานพลังงานปรมาณูเพื่อสันติได้พัฒนาเทคโนโลยีด้านเชื้อเพลิงนิวเคลียร์มาเป็นลำดับตั้งแต่การค้นคว้าวิจัยในระดับห้องทดลอง จนกระทั่งปัจจุบันได้มีการก่อสร้างศูนย์วิจัยและพัฒนาธาตุหายากและขณะนี้อยู่ระหว่างการทดสอบการเดินเครื่อง ซึ่งหากดำเนินการแล้วคาดว่าจะสามารถสกัดแร่ยูเรเนียมจากหางแร่ดีบุกได้ในปริมาณปีละ 1 ตัน
กากกัมมันตรังสี
โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เป็นแหล่งผลิตไฟฟ้าที่สะอาด ไม่ก่อให้เกิดก๊าซมลพิษต่างๆ เหมือนกับใช้งานโรงไฟฟ้าน้ำมันถ่านหินและก๊าซธรรมชาติ นอกจากนี้กากกัมมันตรังสีจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์จะต้องผ่านกระบวนการจัดเก็บเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
ในแต่ละปี โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ขนาด 1,000 เมกะวัตต์จะมีกากกัมมันตรังสีที่ได้จากการทำความสะอาดระบบอุปกรณ์ต่างๆ ประมาณ 200-600 ลูกบาศก์เมตร ซึ่งเป็นกากกัมมันตรังสีที่มีระดับรังสีต่ำและสลายตัวได้อย่างรวดเร็ว กากกัมมันตรังสีเหล่านี้จะถูกทำให้ปริมาตรลดลงและเก็บไว้ให้สลายตัวไปจนไม่เป็นสารรังสี
นอกจากนี้เชื้อเพลิงใช้แล้วปีละ 27-30 ตันภายในจะมีกากกัมมันตรังสีประมาณ 5% ซึ่งมีระดับรังสีสูงและอายุยาวนานนับหมื่นปี จึงจัดเก็บเชื้อเพลิงใช้แล้วไว้ภายในอาคารเครื่องปฏิกรณ์ปรมาณู 1-5 ปี เพื่อปล่อยให้เย็นลง หลังจากนั้นนำไปเก็บไว้ภายนอกอาคารซึ่งได้ก่อสร้างสถานที่เก็บไว้โดยเฉพาะ โดยเก็บได้ตลอดอายุการใช้งานโรงไฟฟ้านานถึง 50 ปี นอกจากนี้อาจส่งเชื้อเพลิงที่ใช้แล้วไปสกัดให้เหลือกากกัมมันตรังสีแล้วนำไปหลอมรวมกับแก้วลดปริมาตรลงเหลือเพียงปีละ 3 ลูกบาศก์เมตร สามารถจัดเก็บได้สะดวกยิ่งขึ้นโดยมีความทนทานต่อการสึกกร่อนป้องกันการรั่วสู่สิ่งแวดล้อม
เชื้อเพลิงจากเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ จะถูกแช่อยู่ในบ่อน้ำภายในโรงไฟฟ้า ไม่ต่ำกว่า 6 เดือน
การใช้งานโรงไฟฟ้าถ่านหินถึงแม้ได้มีการติดตั้งระบบกำจัดก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ แต่ก็ยังคงมีการปลดปล่อยก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์บางส่วนและก๊าซไนโตรเจนออกไซด์ออกมาปีละหลายพันตัน ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อีกประมาณ 5 ล้านตันและฝุ่นขี้เถ้า 5 แสนตัน ซึ่งประกอบด้วยโลหะหนักและสารพิษต่างๆ ประมาณ 100 ตันโดยไม่มีการสลายตัวเหมือนกับกากกัมมันตรังสี
อย่างไรก็ตาม กากกัมมันตรังสีบางชนิดซึ่งมีอายุยาวนานถึงหมื่นปีจำเป็นต้องมีแผนงานที่จะหาสถานที่เก็บถาวรเพื่อป้องกัน ปัญหาต่อสิ่งแวดล้อมในอนาคต โดยในปัจจุบันได้มีการวิจัยและพัฒนาเพื่อจะสร้างสถานที่เก็บกากกัมมันตรังสีถาวรลึกลงไปในพื้นดินตามชั้นหินแกรนิต หินเกลือ ดินเหนียว และหินจากภูเขาไฟ ซึ่งดำเนินการในประเทศแคนาดา อังกฤษ สหรัฐอเมริกา สวีเดน สวิสเซอร์แลนด์ และฝรั่งเศส
สถานีห้องทดลองใต้ดินของบริษัท AECL ในประเทศ แคนาดา
เชื้อเพลิงใช้แล้วจากโรงไฟฟ้าที่ถูกใช้แล้วอาจถูกจัดเก็บอย่างถาวรด้วยการฝังไว้ใต้ดิน ใช้ศึกษาทดลองและวิจัยคุณลักษณะทางธรณีวิทยาที่เหมาะสมเพื่อเป็นสถานที่จัดเก็บกากและเชื้อเพลิงใช้แล้วอย่างถาวร
ความปลอดภัยของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์
นิวเคลียร์เป็นเชื้อเพลิงที่มีอันตรายอย่างมหันต์หาก มีการรั่วไหลของสารกัมมันตรังสี ออกสู่สิ่งแวดล้อม การนำพลังงานนิวเคลียร์มาใช้ในการผลิตไฟฟ้า หากไม่มีระบบการควบคุมที่ดีได้มาตรฐานอาจเกิดอุบัติเหตุขึ้นได้ เช่น การรั่วไหลของสารกับมันตรังสีจากแหล่งเก็บกากเชื้อเพลิง การแตกร้าว ของปฏิกรณ์นิวเคลียร์ อุบัติเหตุจากการขนส่งเชื้อเพลิง เป็นต้น ดังนั้นโรงไฟฟ้าจึงถูกออกแบบ ให้เป็นมาตรฐานและมีระบบความปลอดภัยหลายชั้น
มาตรฐานของระบบความปลอดภัยโรงไฟฟ้านิวเคลียร์มีดังนี้ 1.แร่ยูเรเนียมเป็นเชื้อเพลิงในเตาปฏิกรณ์เก็บอัดเป็นเม็ดในรูปของสารประกอบยูเรเนียมไดออกไซด์ซึ่งจะคงรูปในทุกอุณหภูมิและความดันสูงตลอดการใช้งานสารกัมมันตภาพรังสีที่เกิดขึ้นยังคงรวมตัวกันเป็นเม็ดเชื้อเพลิงส่วนสารกัมมันตรังสีที่หลุดออกไปยังคงเป็นแท่งเชื้อเพลิงที่มีปลอกหุ้ม 2. แผงกั้นรังสีและความร้อนเป็นการป้องกันการรั่วไหลของสารกัมมันตรังสีมี 3 ชั้น คือ ชั้นแรกระหว่างเปลือกหุ้มแกนกับผนังเตาเผาปฏิกรณ์ ชั้นที่ 2 เป็นผนังเตาซึ่งทำจากเหล็กกล้าหนาประมาณ 15 เซนติเมตร ชั้นที่ 3 เป็นอาคารควบคุมปฏิกรณ์ที่ทำด้วยคอนกรีตเสริมเหล็กหนาประมาณ 1 เมตร ทั้ง 3 ชั้นจะช่วยป้องกันการแผ่รังสีนิวตรอน และรังสีแกมมา ทนต่อแรงระเบิดและทนต่อแรงแผ่นดินไหว 3. ระบบระบายความร้อนฉุกเฉิน ทำหน้าที่ส่งน้ำเข้าหล่อเลี้ยงเชื้อเพลิงในกรณีที่ระบบระบายความร้อนปกติขัดของ 4. ระบบฉีดน้ำในอาคารควบคุมปฏิกรณ์ ทำหน้าที่ร่วมกับระบบระบายความร้อนฉุกเฉิน 5. ระบบแท่งควบคุม จะควบคุมปฏิกิริยาการแตกตัวเฉพาะที่ต้องการความร้อนในการผลิตไอน้ำเท่านั้น และแท่งควบคุมนี้ยังทำหน้าที่เป็นตัวหยุดปฏิกิริยาแบบลูกโซ่ เมื่อเกิดอุณหภูมิสูงเกินกว่ากำหนด
อุบัติเหตุโรงไฟฟ้านิวเคลียร์
ปี พ.ศ. สถานที่ เหตุการณ์ จำนวน ผู้เสียชีวิต จำนวน ผู้บาดเจ็บ ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
2464 Oppau เยอรมนี แอมโมเนียมไนเทรต 3000 ตันเกิดระเบิด 561 1500 -
2487 Cleveland สหรัฐอเมริกา เพลิงไหม้ก๊าซธรรมชาติเหลว 3000 ตัน 128 200-400 -
2491 Ludwigshafen เยอรมนี เกิดการระเบิดของไอระเหย 207 3818 -
2509 Aberfan สหราชอาณาจักร เกิดการถล่มของกองกากถ่านหิน 147 * -
2519 Seveso อิตาลี สารไดออกซีนรั่ว * 634 พื้นที่ได้รับความเสียหาย เป็นระยะทาง 4 กม. สัตว์เลี้ยงเสียชีวิตนับพัน
2522 Mississauga แคนาดา คลอรีนรั่วจากอุบัติเหตุทางรถไฟ - - -
2527 Mexico City เม็กซิโก เพลิงไหม้จากก๊าซ LPG 6000 ตันเป็นเวลานาน 18 ชม. >500 7097 -
Bhopal อินเดีย ก๊าซเมทธิลไอโซไซยาเนต 30 ตันเกิดการรั่ว >2000 200000 -
2529 Basle สวิสเซอร์แลนด์ เพลิงไหม้อาคารเก็บสารเคมี เกิดผลกระทบ แก่สิ่งมีชีวิตในแม่น้ำไรน์ เป็นระยะทาง 250 กม. และก่อให้เกิด มลภาวะทางอากาศ
การใช้งานโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในสภาวะปกติจะทำให้ประชาชนได้รับรังสีน้อยกว่าโรงไฟฟ้าถ่านหินประมาณ 1.5 เท่า เนื่องจากการเผาไหม้ถ่านหินจะทำให้สารกัมมันตรังสีในธรรมชาติที่ปะปนอยู่ในถ่านหินฟุ้งกระจายออกสู่บรรยากาศ ในขณะที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ทำงานภายใต้ระบบที่ปิดมิดชิด ป้องกันการฟุ้งกระจายของสารกัมมันตรังสี
อย่างไรก็ตาม หากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เกิดอุบัติเหตุขึ้นแล้วอาจมีการแพร่กระจายของสารกัมมันตรังสี ซึ่งจะส่งผลกระทบทางรังสีอย่างรุนแรงถึงแม้ว่าโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ได้ออกแบบและก่อสร้างให้มีความปลอดภัยสูงสุด (โดยค่าก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่สูงมากนั้นส่วนหนึ่งประมาณ 30% ใช้ในการติดตั้งระบบความปลอดภัยต่างๆ) เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล แต่อุบัติเหตุย่อมเกิดขึ้นได้เสมอ อาจมาจากความบกพร่องของอุปกรณ์หรือความประมาทเลินเล่อของผู้ปฏิบัติงาน อุบัติเหตุส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เป็นเพียงเหตุขัดข้องธรรมดาที่เกิดขึ้นตามโรงไฟฟ้าทั่วไปเช่น ท่อน้ำรั่ว ไฟฟ้าลัดวงจร เป็นต้น เนื่องจากเหตุดังกล่าวเกิดขึ้นในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ จึงทำให้ได้รับความสนใจเป็นพิเศษทำให้รู้สึกเหมือนกับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์มีอุบัติเหตุเกิดขึ้นบ่อยครั้ง
สถิติในรอบ 40 ปีที่ผ่านมาพบว่าเกิดอุบัติเหตุโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ซึ่งมีผลกระทบต่อระบบเครื่องปฏิกรณ์ปรมาณูจำนวน 9 ครั้ง โดยอุบัติเหตุทั้งหมดมีเพียงอุบัติเหตุโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิลเท่านั้นที่ทำให้มีผู้เสียชีวิต
อุบัติเหตุโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิลในปี พ.ศ.2529 เป็นอุบัติเหตุที่ไม่ได้เกิดขึ้นมาจากการเดินเครื่องไฟฟ้าตามปกติ แต่เป็นการจงใจฝ่าฝืนกฎระเบียบด้านความปลอดภัยเพื่อดำเนินการทดลองภายในโรงไฟฟ้า โดยตัดระบบความปลอดภัยทั้งหมดออกส่งผลให้เกิดระเบิด เนื่องจากไอน้ำความดันสูงและเพลิงลุกไหม้ มีเจ้าหน้าที่ของโรงไฟฟ้าและเจ้าหน้าที่ดับเพลิงเสียชีวิต 31 คนผู้บาดเจ็บเนื่องจากรังสี 203 คนและต้องอพยพประชาชนโดยรอบรัศมี 30 กิโลเมตร
ต่อมาในปีพ.ศ.2539 เมื่ออุบัติเหตุผ่านไปได้ 10 ปี องค์การอนามัยโลกได้สรุปผลการดำเนินงานการศึกษาผลกระทบที่เกิดขึ้น พบว่ามีอัตราการเกิดโรคมะเร็งต่อมไทรอยด์ในเด็กเพิ่มขึ้นโดยมีผู้เสียชีวิตแล้ว 3 คน คาดว่าเป็นผลมาจากการได้รับไอโอดีนรังสีเข้าสู่ร่างกาย อย่างไรก็ตาม โรคมะเร็งชนิดนี้สามารถรักษาให้หายได้หากอาการยังไม่ลุกลาม ทั้งนี้ไม่พบความผิดปกติของการเกิดโรคมะเร็งในเม็ดโลหิตขาว แต่ประชาชนซึ่งอาศัยอยู่ในบริเวณที่มีผลกระทบทางรังสีมีอาการทางประสาทเพิ่มขึ้น เนื่องจากความหวาดกลัวอันตราย ซึ่งต้องได้รับการฟื้นฟูดูแลให้หมดความวิตกกังวลต่อไป
ดังจะเห็นได้ว่านอกจากระบบความปลอดภัยของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แล้ว มาตรการด้านการควบคุมความปลอดภัยจึงเป็นปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญยิ่งในการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์
สถิติอุบัติเหตุทางอุตสาหกรรมที่ร้ายแรง
สถิติอุบัติเหตุโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่สำคัญ
ปี พ.ศ. สถานที่ เหตุการณ์ ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
2498 EBR-1(0.2 MW)สหรัฐอเมริกา เชื้อเพลิงหลอมละลาย เกิดการเปรอะเปื้อนรังสี ภายในโรงไฟฟ้า -
2512 Fermi-1สหรัฐอเมริกา(66 MW) เชื้อเพลิงหลอมละลายต้องใช้เวลา ซ่อมแซม 4 ปี -
Lucensสวิสเซอร์แลนด์(7.5 MW) ท่อชำรุดทำให้เชื้อเพลิง หลอมละลายและเกิดการ เปรอะเปื้อนทางรังสีภายในโรงไฟฟ้า -
2518 Browns Ferryสหรัฐอเมริกา(2x1080 MW) เกิดเพลิงไหม้สายเคเบิลต้องหยุดเดินเครื่อง 17 เดือน -
2522 Three-MileIsland-2(880 MW)สหรัฐอเมริกา สูญเสียน้ำระบายความร้อน ทำให้ เชื้อเพลิงทั้งหมดหลอมละลาย เกิดการรั่วของสารกัมมันตรังสีเล็กน้อย ต่ำกว่ามาตรฐานนานาชาติ
2523 Saint-Lauren A2ฝรั่งเศส(450 MW) เชื้อเพลิงหลอมละลายต้องหยุดเดินเครื่อง 2.5 ปี เกิดการรั่วของสารกัมมันตรังสีเล็กน้อย ต่ำกว่ามาตรฐานนานาชาติ
2529 Chernoby 1-4ยูเครน(950 MW) เพลิงไหม้หลังจากการระเบิดของไอน้ำ มีผู้เสียชีวิต 31 คน มีผู้บาดเจ็บ 203 คน และอพยพประชาชนในรัศมี 30 กม. สารกัมมันตรังสีแพร่กระจายไปทั่วยุโรป
2532 Vandellosสเปน (950 MW) ระบบความปลอดภัยชำรุด -
2534 Mihama-2ญี่ปุ่น (500 MW) ท่อที่ใช้ผลิตไอน้ำแตกทำให้หยุดเดินเครื่องโดยอัตโนมัติ -
2535 Lenigradรัสเซีย (1000 MW) ท่อบรรจุแท่งเชื้อเพลิงเกิดความเสียหาย เกิดการรั่วของสารกัมมันตรังสีเล็กน้อย ต่ำกว่ามาตรฐานนานาชาติ
จำนวนผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุในการใช้เชื้อเพลิงชนิดต่างๆ ผลิตไฟฟ้า (พ.ศ.2521-2529)
เชื้อเพลิง จำนวนอุบัติเหตุ จำนวนผู้เสียชีวิต จำนวนผู้เสียชีวิต / ไฟฟ้าที่ผลิตได้ (คน/จิกะวัตต์.ปี)
ถ่านหิน- เหมืองถล่ม 62 3600 0.34
น้ำมัน- ฐานขุดเจาะถล่ม- เพลิงไหม้โรงกลั่น- อุบัติเหตุในการขนส่ง 61542 *4501620 -0.020.08
ก๊าซธรรมชาติ- เพลิงไหม้ / การระเบิด ของถังเก็บท่อส่งก๊าซ และการขนส่ง 24 1440 0.17
พลังน้ำเขื่อนพัง/น้ำล้นเขื่อน 8 3839 1.41
นิวเคลียร์- เชอร์โนบิล 1 31 0.03
ข้อดีและข้อเสียของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์
ข้อดีของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์
1. เป็นแหล่งผลิตไฟฟ้าขนาดใหญ่ และมีความมั่นคงสูง เนื่องจากสามารถเดินเครื่องผลิตไฟฟ้าได้ติดต่อกันนานกว่าหนึ่งปีโดยไม่ต้องเติมเชื้อเพลิง
2. เป็นโรงไฟฟ้าที่สะอาด โดยไม่มีการปลดปล่อยก๊าซที่เป็นมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะก่อให้เกิดฝนกรด หรือเกิด ปรากฏการณ์เรือนกระจก
3. โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ สามารถใช้เชื้อเพลิงได้ประมาณ 1 ปี โดยไม่จำเป็นต้องมีเชื้อเพลิงใหม่มาเพิ่มเติม ทำให้การจัดหาเชื้อเพลิงมีเสถียรภาพ
ข้อเสียของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์
1. ต้องใช้เงินลงทุนก่อสร้างสูง และจำเป็นต้องเตรียมโครงสร้างพื้นฐานและการพัฒนาบุคลากร เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
2. จำเป็นต้องพัฒนาและเตรียมการเกี่ยวกับการจัดการกากกัมมันตรังสี การดำเนินงานด้านแผนฉุกเฉินทางรังสี และมาตรการควบคุมความปลอดภัย เพื่อป้องกันอุบัติเหตุ
3. การยอมรับของสาธารณชน
คำถาม-คำตอบเกี่ยวกับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์
1.โรงไฟฟ้านิวเคลียร์คืออะไร?
คือโรงไฟฟ้าพลังความร้อนประเภทหนึ่งที่ผลิตไฟฟ้า โดยอาศัยความร้อนจากปฏิกิริยานิวเคลียร์ (แทนการเผาไหม้ถ่านหิน น้ำมันหรือก๊าซ) ความร้อนที่ได้จะถ่ายเทให้กับน้ำ ทำให้น้ำกลายเป็นไอน้ำแรงดันสูง นำไอน้ำ ไปหมุนเครื่องกังหัน เพื่อหมุนเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ผลิตกระแสไฟฟ้าจ่ายให้กับผู้บริโภคต่อไป
2. ปัจจุบันนี้ทั่วโลกมีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ทั้งหมดกี่เครื่อง?
438 เครื่อง กำลังก่อสร้างอีก 31 เครื่อง (ข้อมูลจาก IAEA BULLETIN vol. 43 No. 1,2001 Vienna, Austria pp.50)
แก้ไขล่าสุดเมื่อ ( พฤหัสบดี, 16 กันยายน 2004 )
3. ประเทศที่มีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์มากที่สุดในโลก 3 อันดับแรก ได้แก่ประเทศ อะไร?
สหรัฐอเมริกา 104 เครื่อง ฝรั่งเศส 59 เครื่อง ญี่ปุ่น 53 เครื่อง (ข้อมูลจาก IAEA BULLETIN vol. 43 No. 1,2001 Vienna, Austria pp.50)
4. ในทวีปเอเชีย ประเทศใดมีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แล้ว?
ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินเดีย ไต้หวัน จีน คาซัคสถาน และปากีสถาน รวม 94 เครื่อง และกำลังก่อสร้างอีก19 เครื่อง (ข้อมูลจาก IAEA BULLETIN vol. 43 No. 1,2001 Vienna, Austria pp.50)
5. ประเทศในทวีปเอเชียที่มีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ มากที่สุด 3 อันดับแรก?
ญี่ปุ่น 53 เครื่อง เกาหลีใต้ 16 เครื่อง และอินเดีย 14 เครื่อง (ข้อมูลจาก IAEA BULLETIN vol. 43 No. 1,2001 Vienna, Austria pp.50)
6. ทำไมประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเคยได้รับความเสียหายอย่างหนักจากระเบิดนิวเคลียร์ จึง เลือกใช้ พลังงานนิวเคล
เพราะญี่ปุ่นขาดแคลนทรัพยากรพลังงาน และพลังงานนิวเคลียร์ มีข้อดี ในการพัฒนาเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม
7. ต้นกำเนิดพลังงานที่ใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้าของไทยมีอะไรบ้าง?
ถ่านหินลิกไนต์ น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ ชีวมวล พลังน้ำ พลังลม พลังแสงอาทิตย์ ความร้อนใต้พิภพ และเซลล์ไฟฟ้า
8. ทำไมจึงมีการพิจารณาที่จะนำโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ มาใช้ในประเทศไทย?
ประเด็นแรก เนื่องจากการขยายกำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศ เพื่อให้เพียงพอกับความต้องการและปัจจุบันแหล่งพลังงานภายในประเทศ ทั้งก๊าซธรรมชาติและถ่านหินลิกไนต์ที่มีอยู่ เริ่มมีปริมาณไม่เพียงพอ ที่จะนำมาป้อนโรงไฟฟ้าที่สร้างขึ้นใหม่ ประเทศจึงต้องหันไปพึ่งพาการนำเข้าแหล่งกำเนิดพลังงานจากต่างประเทศจำนวนมาก นอกจากการนำเข้าถ่านหินและน้ำมันเพิ่มขึ้น ยังมีการซื้อก๊าซธรรมชาติจากประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งต้องมีแผนการที่จะนำเข้าหากจำเป็นต้องพึ่งพาการนำเข้าแหล่งพลังงานชนิดใดชนึดหนึ่งในสัดส่วนที่มากเกินไปแล้วเสถียรภาพการผลิตไฟฟ้าของประเทศย่อมไปผูกติดกับราคาของแหล่งพลังงานนำเข้าเหล่านี้มากขึ้นทุกๆ ปี โดยที่ไม่มีแหล่งพลังงานอื่นมาช่วยคานให้การผลิตไฟฟ้าเป็นไปอย่างมีเสถียรภาพ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์จึงเป็นแหล่งพลังงานอีกชนิดหนึ่งที่จะมาช่วยเสริมการผลิตไฟฟ้าได้ ประเด็นที่สอง หากมองในแง่ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมแล้ว จะเห็นว่าถ้าจะมีการใช้โรงไฟฟ้าถ่านหินมาช่วยเสริมในการผลิตไฟฟ้าแล้ว โรงไฟฟ้าถ่านหิน ขนาด 1,000 เมกะวัตต์ ในแต่ละปีจะมีการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 6.5 ล้านตัน ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ 9,000 ตัน ก๊าซไนโตรเจนออกไซด์ อีก 4,500 ตัน และฝุ่นละออง 6 ตัน ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดมลพิษเพิ่มขึ้นที่จะทำลายสิ่งแวดล้อม ก่อให้เกิดฝนกรดหรือการเกิดปรากฏการณ์เรือนกระจกที่จะมีผลต่อความผันผวนของฤดูกาล ทั้งนี้ โดยไม่รวมถึง การใช้โรงไฟฟ้าถ่านหินลิกไนต์ ที่มีอยู่เดิม และที่จะก่อสร้างใหม่ ซึ่งจะมีการปลดปล่อย ก๊าซมลพิษ ดังกล่าวเช่นกัน แต่เมื่อเปรียบเทียบกับการใช้โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ แล้ว จะไม่มีก๊าซมลพิษ ฝุ่นละอองและเถ้าถ่านต่าง ๆ เหล่านี้เกิดขึ้นปล่อยออกสู่สภาวะแวดล้อม นอกจากนี้การใช้โรงไฟฟ้าถ่านหิน จะเหลือเถ้าถ่านหินตกค้าง อีกประมาณ 1,500 ตัน ซึ่งต้องดำเนินการ จัดการป้องกัน ไม่ให้เกิดปัญหา ต่อสิ่งแวดล้อมอีกเช่นกัน ในขณะที่ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ขนาดเท่ากัน จะมีกากเชื้อเพลิงใช้แล้ว ประมาณปีละ 27-30 ตัน สามารถจัดเก็บไว้ในโรงไฟฟ้า ได้นานถึง 30 ปี ตลอดชั่วอายุ การใช้งานโรงไฟฟ้า โดยไม่เกิดปัญหาหรือส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เชื้อเพลิงใช้แล้วดังกล่าว ยังอาจส่งไป สกัดเชื้อเพลิงที่เหลืออยู่ให้นำกลับมาใช้ใหม่ จนเหลือกากกัมมันตรังสีจำนวนน้อยลง เมื่อนำไปหลอมรวมกับแก้ว สามารถจัดเก็บ ไว้ได้สะดวกขึ้น โดยมีความทนทาน ต่อการสึกกร่อน ป้องกันการรั่วของกากกัมมันตรังสีในอนาคต ดังนั้น จากเหตุผลที่กล่าวมาแล้ว ประกอบกับ การก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์จำเป็นต้องใช้เวลาดำเนินการล่วงหน้า เป็นเวลานานประมาณ 12 ปี จึงจะสามารถก่อสร้างเสร็จ เดินเครื่องจ่ายไฟฟ้า ให้ทัน ตามความต้องการได้ จึงได้มีการพิจารณา ที่จะนำโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ มาใช้ภายในประเทศ เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง อย่างไรก็ตามยังจำเป็นต้องศึกษาความเหมาะสมทางเศรษฐศาสตร์ในรายละเอียดอีกครั้งหนึ่งว่า จะมีต้นทุนการผลิตไฟฟ้าอยู่ในระดับที่เหมาะสม เพื่อที่จะนำมาทดแทนการผลิตไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานอื่นได้หรือไม่
9. ประเทศไทยเคยมีแผนก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ครั้งแรกที่ไหนเมื่อไร?
ที่บ้านอ่าวไผ่ ตำบลทุ่งศุขลา อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี เมื่อ พ.ศ. 2517 แต่ได้ระงับโครงการไว้ เพราะได้ค้นพบแหล่งพลังงานอื่น ซึ่งมีเพียงพอ ต่อการผลิตกระแสไฟฟ้าได้อีกระยะหนึ่ง
10. ข้อดีของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์คืออะไร?
ให้กำลังผลิตสูง ตั้งแต่ 300 - 1,500 เมกะวัตต์ต่อเครื่อง ที่นิยมสร้างคือขนาด 1,000 เมกะวัตต์ขึ้นไป ประหยัดต้นกำเนิดพลังงาน (ก๊าซธรรมชาติ น้ำมัน ลิกไนต์) ซึ่งเป็นทรัพยากรของชาติและประหยัดพื้นที่ก่อสร้างได้มากเป็นแหล่งผลิตไฟฟ้าที่มีเสถียรภาพมั่นคง เพราะสามารถเดินเครื่องได้ต่อเนื่องยาวนานถึง 18เดือนติดต่อกัน โดยไม่หยุดซ่อม (ในอนาคตจะเป็น 24 เดือน)เป็นแหล่งผลิตไฟฟ้าที่สะอาด ไม่มีเขม่าควันและก๊าซพิษ ไม่ปล่อยของเสียสู่สิ่งแวดล้อม อายุการใช้งานนานกว่า 40 ปี (ในอนาคตโรงไฟฟ้า European Pressurized Water Reactor - EPR จะใช้ได้นาน 60 ปี) ช่วยพัฒนาบุคลากรของชาติให้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญในสาขาเทคโนโลยีนิวเคลียร์และสาขาที่เกี่ยวข้อง เป็นแหล่งสร้างงานก่อให้เกิดธุรกิจและอุตสาหกรรมขึ้นมารองรับมากมาย ราคาค่ากระแสไฟฟ้าไม่สูง ส่งผลให้ต้นทุนราคาสินค้าสู้กับตลาดโลกได้ ระบบไฟฟ้ามีเสถียรภาพสูง สร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุนไทยและต่างประเทศส่งผลดีต่อเศรษฐกิจโดยรวม
11. ปัญหาของการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์มีอะไรบ้าง?
การยอมรับของประชาชนบางส่วน เนื่องจากไม่มั่นใจในความปลอดภัย เพราะความกลัวเกรงต่อระเบิดนิวเคลียร์และการระเบิดของโรงไฟฟ้าเชอร์โนบิลก็ตอกย้ำความหวาดระแวงของหมู่ชน สถานที่ตั้งโรงไฟฟ้านิวเคลียร์นั้นค่อนข้างหายาก เนื่องจากมีกฎเกณฑ์และมาตรฐานที่เข้มงวดรัดกุมมาก เงินลงทุนในการก่อสร้างสูงมาก เพราะมีระบบป้องกันภัยหลายชั้น รวมทั้งความพิถีพิถันในการก่อสร้าง ใช้เวลาในการก่อสร้างนาน (ประมาณ 10 ปี) ต้องมีแหล่งน้ำขนาดใหญ่ใกล้โรงไฟฟ้า เพื่อใช้ระบายความร้อนหรือใช้หอระบายความร้อนแทนแหล่งน้ำ ยังไม่มีวิธีจัดการกากเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ให้หมดความเป็นกัมมันตรังสีได้ในระยะสั้น วิธีการปัจจุบันคือเก็บไว้ในที่ปลอดภัย โดยปล่อยให้สารกัมมันตรังสี สลายตัวไปเองตามธรรมชาติ ซึ่งต้องใช้เวลานานมาก อย่างไรก็ตาม เมื่อปล่อยให้อยู่ในแท่งเชื้อเพลิง 1 ปี กัมมันตรังสี จะลดลงไปถึง 80 เปอร์เซ็นต์
12. การใช้โรงไฟฟ้านิวเคลียร์จะทำให้ประชาชนได้รับผลกระทบทางรังสีอย่างไร
ทุกๆ วันนี้ มนุษย์ต่างได้รับรังสีที่มีอยู่ในธรรมชาติตลอดเวลาโดยไม่สามารถหลีกเลี่ยง ได้แก่ รังสีคอสมิกจากดวงอาทิตย์ การแผ่รังสีของแร่กัมมันตรังสี เช่น พวกยูเรเนียมและทอเรียม ที่มีปะปนอยู่ทั่วไปบนพื้นดินในอิฐ หิน ทราย ที่ใช้ก่อสร้างบ้านเรือน นอกจากนี้ในอาหารและน้ำดื่มที่บริโภคทุกๆ วัน ต่างก็มีสารกัมมันตรังสี เช่นกัน แม้กระทั่งอากาศที่ใช้หายใจยังมีก๊าซและฝุ่นละอองกัมมันตรังสีปะปนอยู่ทั้งสิ้น ภายในตัวมนุษย์เองก็ประกอบด้วยสารกัมมันตรังสี เช่น ธาตุโปแทสเซี่ยมธาตุคาร์บอนเป็นต้น นอกจากการได้รับรังสีที่มีอยู่ในธรรมชาติแล้ว ในชีวิตประจำวันมีโอกาสที่จะได้รับรังสีที่เกิดจากมนุษย์สร้างขึ้นอีกทางหนึ่ง เช่น การฉายเอกซ์เรย์ ทางการแพทย์ ฝุ่นละออง จากการทดลอง ระเบิดปรมาณู การดูโทรทัศน์สีและจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ การใช้โรงไฟฟ้านิวเคลียร์นั้นจะทำให้ประชาชนได้รับรังสี เพิ่มขึ้นประมาณ 0.01 เปอร์เซ็นต์ จากปริมาณรังสีที่ได้รับอยู่ในธรรมชาติ โดยเฉพาะเมื่อเปรียบเทียบกับการใช้โรงไฟฟ้าถ่านหิน ขนาดเดียวกันแล้วปรากฏว่า การใช้โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ จะทำให้เกิดการได้รับรังสี น้อยกว่าโรงไฟฟ้าถ่านหิน ประมาณ 1.5 เท่า เนื่องจากโรงไฟฟ้าถ่านหินจะมีการสันดาปปลดปล่อยฝุ่นละออง แร่กัมมันตรังสีที่ปะปนอยู่ในถ่านหินให้ฟุ้งกระจายในบรรยากาศ ขณะที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ทำงานภายในระบบที่ปิดมิดชิด จะมีการแพร่กระจายของสารกัมมันตรังสีน้อยมาก อย่างไรก็ตามหากเกิดอุบัติเหตุ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์แล้ว อาจมีการแพร่กระจายของสารกัมมันตรังสีจำนวนมาก ซึ่งจะส่งผลกระทบทางรังสีอย่างรุนแรงแก่ประชาชน ถึงแม้จะมีสถิติปรากฏว่าอุบัติเหตุโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่เคยเกิดขึ้น ได้ทำให้มีผู้เสียชีวิตน้อยกว่าการใช้โรงไฟฟ้าจากเขื่อนหรือโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติ อย่างไรก็ดีการใช้โรงไฟฟ้านิวเคลียร์จำเป็นต้องมีการดำเนินงาน ให้เกิดความปลอดภัยสูงสุดเพื่อป้องกันผลกระทบต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นแก่ประชาชน
13. หากก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในประเทศไทยแล้ว จะมีความมั่นใจด้านความปลอดภัยได้เพียงใด?
การที่จะทำให้เกิดความมั่นใจว่า โรงไฟฟ้านิวเคลียร์มีความปลอดภัยนั้น ทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ ได้จัดทำมาตรฐานกำหนดเงื่อนไขด้านความปลอดภัยของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ขึ้น เพื่อให้ ประเทศที่มีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ปฏิบัติตาม ตั้งแต่การพิจารณา เลือกสถานที่ตั้งโรงไฟฟ้า การออกแบบโรงไฟฟ้า การผลิตชิ้นส่วน อุปกรณ์ต่าง ๆ การดำเนินการก่อสร้าง หรือการเดินเครื่องโรงไฟฟ้า แม้กระทั่ง เมื่อจะมีการรื้อถอน โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ นอกจากนี้ ยังได้กำหนดให้มีการจัดตั้งหน่วยงานของรัฐ ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากพลังงานนิวเคลียร์ ทำหน้าที่เป็นตัวแทนของประชาชน ในการตรวจสอบติดตาม ให้การดำเนินงานต่าง ๆ เป็นไปตามมาตรฐานความปลอดภัย ซึ่งในกรณีนี้ หากมีประเทศใดหลีกเลี่ยง ไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานความปลอดภัยดังกล่าว อาจส่งผลให้ไม่ได้รับความร่วมมือจากนานาประเทศ ทั้งในด้านการจัดส่งชิ้นส่วน อุปกรณ์หรือความร่วมมือในการก่อสร้าง เนื่องจากจะไม่มีองค์กรใดที่จะให้หลักประกันด้านความปลอดภัยของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แห่งนั้นได้ ทำให้ประเทศผู้จัดส่งชิ้นส่วนอุปกรณ์หรือผู้ก่อสร้างเกรงว่าอาจจะต้องเข้ามามีส่วนร่วมรับผิดชอบด้วยหากเกิดอุบัติเหตุ ดังนั้น เมื่อทุกฝ่ายมีความเห็นสอดคล้องกันแล้วว่าประเทศไทยจำเป็นต้องมีการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ สิ่งแรกที่จะต้องดำเนินการ ได้แก่ การจัดเตรียมบุคลากรและพัฒนาบุคลากรเหล่านี้ให้มีความรู้และประสบการณ์ ที่จะดำเนินงานให้เป็นไปตามมาตรฐานความปลอดภัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะการปลูกจิตสำนึกด้านความปลอดภัยให้เป็นประเด็นหลักในการดำเนินงานต่าง ๆ ในส่วนของสำนักงานพลังงานปรมาณูเพื่อสันตินั้น ได้มีการจัดเตรียมและพัฒนาบุคลากร เพื่อจะทำหน้าที่ควบคุม ตรวจสอบ ความปลอดภัย ของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์มาอย่างต่อเนื่อง โดยอาศัย ประสบการณ์การใช้งานเครื่องปฏิกรณ์ปรมาณูวิจัยมาเป็นเวลานานกว่า 40 ปี ซึ่งหากมีการตัดสินใจที่จะก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แล้ว สำนักงานพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ พร้อมที่จะจัดตั้งหน่วยงาน เพื่อทำหน้าที่ควบคุมความปลอดภัย โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ขึ้น โดยการติดต่อประสานงานความช่วยเหลือด้านวิชาการจากทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ
14. โรงไฟฟ้านิวเคลียร์มีหลักการทำงานอย่างไร?
โรงไฟฟ้านิวเคลียร์จัดเป็นโรงไฟฟ้าพลังความร้อนชนิดหนึ่ง มีหลักการทำงาน คล้ายคลึงกับโรงไฟฟ้าที่ใช้น้ำมัน ถ่านหินหรือก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง เพียงแต่ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ จะใช้ความร้อนจากปฏิกิริยาฟิชชั่น นำไปต้มน้ำ เพื่อผลิตไอน้ำ ส่งไปหมุนกังหันผลิตไฟฟ้า แทนที่จะใช้การสันดาปของเชื้อเพลิงต่าง ๆ เช่น น้ำมัน ถ่านหิน และก๊าซธรรมชาติ ปฏิกิริยาฟิชชั่นของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ เกิดจาก การใช้อนุภาคนิวตรอนทำปฏิกิริยากับยูเรเนียม ให้นิวเคลียสของยูเรเนียม เกิดการแตกตัวปลดปล่อย พลังงานความร้อนออกมาพร้อมกับอนุภาคนิวตรอน อีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งหากปฏิกิริยาดังกล่าว เกิดขึ้นในสถานการณ์ที่เหมาะสมแล้ว อนุภาคนิวตรอน ที่เกิดขึ้นใหม่นี้ จะกลับเข้าไป ทำปฏิกิริยากับยูเรเนียมอย่างต่อเนื่องทวีคูณ เรียกว่าปฏิกิริยาลูกโซ่ สามารถผลิตพลังงานความร้อนออกมา ได้อย่างมหาศาล
15. สารกัมมันตรังสีคืออะไร?
ธาตุหรือสารประกอบ ซึ่งโครงสร้างของนิวเคลียส มีจำนวนนิวตรอนต่างจากโครงสร้างปกติที่คงตัว ทำให้นิวเคลียสซึ่งอยู่ในสภาวะถูกกระตุ้น (Excited State) ให้สลายตัว (Decayed) ปลดปล่อยกัมมันตรังสีออกมาตลอดเวลา เพื่อปรับตัวเองให้กลับสู่สภาวะปกติ (Ground State)
16. หลักเกณฑ์การเลือกสถานที่ตั้ง ตามแนวทางของทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประทศ (IAEA) มีอะไรบ้าง?
ต้องไม่อยู่ในบริเวณที่อาจได้รับความเสียหายจากภัยธรรมชาติ เช่น บริเวณ ที่เคยเกิดแผ่นดินไหว ลมพายุ ภูเขาไฟระเบิด พายุหิมะ น้ำท่วม หรือมี การเคลื่อนตัวหรือรอยร้าวของเปลือกโลก เป็นต้น
ต้องไม่อยู่ในบริเวณที่อาจได้รับผลเสียหายจากมนุษย์ ได้แก่ สนามบินพาณิชย์ขนาดใหญ่ แนวเส้นทางบิน โรงกลั่นน้ำมัน คลังน้ำมัน โรงงานอุตสาหกรรมเคมี ปิโตรเคมี คลังวัตถุมีพิษ ที่อาจลุกไหม้ หรือเกิดการระเบิดหรือแพร่กระจายสารพิษได้ แนวพาดผ่านของท่อน้ำมันหรือท่อก๊าซและฐานทัพอากาศ หรือสถานที่ ฝึกซ้อมทางอากาศ เป็นต้น
17. ทำไมต้องสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ใกล้แหล่งน้ำขนาดใหญ่?
เพราะต้องใช้น้ำปริมาณมาก ในกระบวนการผลิตและระบายความร้อนเหลือใช้จากการควบแน่นไอน้ำ
18. ถ้าไม่มีแหล่งน้ำขนาดใหญ่จะทำอย่างไร?
สามารถก่อสร้างหอระบายความร้อนแทน เพื่อใช้ควบแน่นไอน้ำและระบายความร้อนสู่บรรยากาศ ระดับสูง ๆ ได้ แต่ค่าก่อสร้างจะเพิ่มสูงขึ้น อีกหลายพันล้านบาท (ประมาณ 3 พันล้านบาท)
19. เชื้อเพลิงนิวเคลียร์ส่วนมากผลิตจากอะไร?
แร่ยูเรเนียม
20. ธาตุสำคัญในแร่ยูเรเนียม ที่เป็นตัวทำปฏิกิริยานิวเคลียร์ คืออะไร?
ยูเรเนียม - 235
21. ยูเรเนียม - 235 ที่ใช้ทำระเบิดนิวเคลียร์ มีความเข็มข้นเท่าไร?
มากกว่า 90 % ขึ้นไป
22. ยูเรเนียม - 235 ที่ใช้ในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์มีความเข้มข้นเท่าไร?
ประมาณ 0.7 - 3 %
23. ในปัจจุบัน ปริมาณสำรองของแร่ยูเรเนียมทั่วโลกเท่าที่สำรวจพบมีอยู่ เท่าไร?
มีประมาณ 12 ล้านตัน สามารถใช้ไปอีก 100-300 ปี ขึ้นอยู่กับอัตราการเพิ่มของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์และเทคโนโลยีการจัดการเชื้อเพลิง
24. จะมั่นใจในบุคลากรที่ควบคุม เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ของไทย ได้อย่างไร?
คุณภาพของบุคลากรไทย นั้นมีหลายระดับความเจริญก้าวหน้าในหลายด้าน โรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ เครื่องบินโดยสาร ฯลฯ โครงการราคาหลายร้อย หลายพันล้านบาท ที่เราดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัยอยู่ทุกวันนี้ เป็นสิ่งยืนยันถึงคุณภาพของบุคลากรไทย โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ต้องใช้บุคลากร ที่มีคุณภาพสูงและบุคลากรเหล่านี้ ต้องผ่านการทดสอบตามมาตรฐานเป็นระยะ ๆ (เช่นทุก 3 ปี) ความสามารถของคนไทยไม่น่าจะน้อยกว่าคนในประเทศ ที่มีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ แล้ว เช่น อินเดีย ปากีสถาน ไต้หวัน หรือ เกาหลี
25. โรงไฟฟ้านิวเคลียร์มีความปลอดภัยเพียงใด?
การใช้โรงไฟฟ้านิวเคลียร์จะเกิดสารกัมมันตรังสี สะสมอยู่ภายในเชื้อเพลิง ดังนั้น โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ไม่ว่าจะเป็นแบบใดก็ตาม โดยปกติแล้วจะออกแบบให้มีปราการป้องกันการฟุ้งกระจายสารกัมมันตรังสีอย่างน้อย 3 ด่าน ด่านแรกได้แก่ เปลือกหุ้มเชื้อเพลิง ถัดออกมาเป็นถังหรือท่อของเครื่องปฏิกรณ์ ที่สามารถทนทานแรงดันสูงและปราการด่านสุดท้าย ได้แก่ โครงสร้างอาคารคอนกรีตที่แข็งแรง ห่อหุ้มเครื่องปฏิกรณ์ และอุปกรณ์ที่สำคัญ สามารถทนแรงระเบิดได้ ทั้งจากภายในและภายนอกอาคาร รวมทั้งการเกิดอุบัติเหตุร้ายแรงจากภายนอกต่าง ๆ เช่น อุบัติเหตุเครื่องบินตกชน ซึ่งการพิสูจน์ความทนทานของอาคารห่อหุ้มเครื่องปฏิกรณ์ ดังกล่าว แสดงให้เห็นได้จาก อุบัติเหตุโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิล โดยโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิล นั้น ได้มีการออกแบบโครงสร้างอาคารห่อหุ้มเครื่องปฏิกรณ์และอุปกรณ์ที่สำคัญไว้ครึ่งเดียว คือ เฉพาะส่วนล่างของเครื่องปฏิกรณ์ฯ ซึ่งแตกต่างกับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ โดยทั่วไป ที่มีอาคารห่อหุ้มเครื่องปฏิกรณ์ทั้งหมด การระเบิดของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิล ที่เกิดขึ้น ได้ทำความเสียหายเฉพาะในส่วนตอนบนของเครื่องปฏิกรณ์เท่านั้น โดยในส่วนล่างที่สร้างกำแพงป้องกันปั๊มน้ำและอุปกรณ์บางส่วน ไว้นั้นแรงระเบิดไม่สามารถ ทำความเสียหายให้แก่อุปกรณ์ ดังกล่าวได้นอกจาก โรงไฟฟ้านิวเคลียร์จะมี ปราการป้องกันการแพร่กระจาย ของสารกัมมันตรังสีดังกล่าวข้างต้น ยังได้มีการติดตั้ง ระบบความปลอดภัยต่าง ๆ ได้แก่ ระบบเตือนภัยและระบบระงับเหตุ เพื่อให้เครื่องปฏิกรณ์หยุดทำงานลงในทันที เมื่อมีเหตุการณ์ผิดปกติเกิดขึ้น และสามารถทำงานแก้ไขสถานการณ์ โดยอัตโนมัติ นอกจากนี้หากระบบความปลอดภัยระบบหนึ่งระบบใด เกิดการขัดข้องจะมีระบบสำรองที่จะช่วยทำงาน แทนระบบเดิม
26. โรงไฟฟ้านิวเคลียร์มีโอกาสระเบิด เหมือนระเบิดนิวเคลียร์หรือไม่?
ไม่มี เพราะความเข้มข้นของเชื้อเพลิงต่างกัน ยูเรเนียม - 235 ในเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ มีความเข้มข้น ประมาณ 0.7 - 3% เท่านั้น ส่วนยูเรเนียม - 235 ในระเบิดนิวเคลียร์ มีความเข้มข้น สูงกว่า 90 %ขึ้นไป
ลักษณะทางกายภาพและวัตถุประสงค์แตกต่างกัน โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ได้รับการออกแบบ มาใช้งานด้านสันติมีอุปกรณ์ป้องกันและมีมาตรฐานความปลอดภัยสูงมาก ส่วนระเบิดนิวเคลียร์ ออกแบบมาเพื่อการทำลายล้าง การระเบิดของเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์(เชอร์โนบิล - 4) ที่เคยเกิดขึ้นนั้น มีสาเหตุจากการปริแตกของเชื้อเพลิงที่ร้อนจัด แล้วกระทบกับน้ำที่อยู่โดยรอบ จึงเกิดไอน้ำและแรงดันอย่างฉับพลัน กลายเป็นแรงระเบิดของไอน้ำที่มีความดันสูง ไม่ใช่การระเบิดของนิวเคลียร์ ซึ่งเกิดจากการรวมตัวของเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ แบบฉับพลัน เพื่อให้เกิดมวลเหนือวิกฤต (Super Critical Mass) เกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิชชันอย่างรวดเร็ว รุนแรงและแรงขับดันมหาศาล ทำให้ระเบิดแตกตัวออก เกิดแรงอัดคลื่นความร้อนและฝุ่นกัมมันตรังสีกระจายไปทั่ว ความรุนแรงและความเสียหายต่างกัน อุบัติเหตุโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ เชอร์โนบิล -4 อาคารปฏิกรณ์นิวเคลียร์ เสียหายบางส่วนสภาพโรงไฟฟ้า ส่วนใหญ่ยังคงเหลือให้เห็น แต่ที่เมืองฮิโรชิมาและนางาซากินั้น ได้รับความเสียหายอย่างหนัก บ้านเรือนพังราบเป็นหน้ากลอง มีพื้นที่ได้รับความเสียหาย 13 ตารางกิโลเมตรบริเวณที่เป็นภูเขา เสียหายประมาณ 6.7 ตารางกิโลเมตร
27. ทำไมจึงมีอุบัติเหตุโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เกิดขึ้นบ่อยครั้ง?
ถึงแม้ว่าโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ได้มีการออกแบบให้มีความปลอดภัยสูงสุด แต่อุบัติเหตุย่อมเกิดขึ้นได้เสมอ ซึ่งอาจเป็นผลมาจากความบกพร่องของอุปกรณ์ การเสื่อมสภาพตามอายุการใช้งานหรือความประมาทเลินเล่อของผู้ปฏิบัติงาน อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ส่วนใหญ่เป็นเพียงเหตุขัดข้องธรรมดา ที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งตามโรงไฟฟ้าทั่วไป เช่น ไฟช๊อต หม้อแปลงระเบิด ซึ่งไม่มีผลกระทบต่อความปลอดภัยของเครื่องปฏิกรณ์ อย่างไรก็ตาม เมื่อเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้น ในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แล้วย่อมได้รับความสนใจจากประชาชนเป็นพิเศษ การเผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับเหตุขัดข้อง หรืออุบัติเหตุ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์นี้ จำเป็นต้องดำเนินการอย่างสม่ำเสมอ แตกต่างกับการดำเนินงานในโรงไฟฟ้าทั่วไป ทั้งนี้ เพื่อให้ประเทศที่มีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ได้รับทราบข้อมูลต่าง ๆ ที่จะแก้ไขปรับปรุง โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่มีอยู่ ให้มีความปลอดภัยยิ่งขึ้น นอกจากนี้ เพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญด้านนิวเคลียร์และประชาชนทั่วไปทราบและเข้าใจสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้อย่าวงรวดเร็วและชัดแจ้ง ป้องกันความสับสนและไม่ก่อให้เกิดความหวาดวิตกเกินกว่าสถานการณ์ที่แท้จริง ดังนั้น ทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นหน่วยงานหนึ่ง ขององค์การสหประชาชาติ จึงได้กำหนดมาตรฐานการเผยแพร่ข่าวสารอุบัติเหตุโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ โดยให้ระบุเจาะลึกลงไปว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นเหตุขัดข้อง ตามปกติหรือเป็น อุบัติเหตุทางนิวเคลียร์ และมีความรุนแรงระดับสำหรับเหตุการณ์ ที่เรียกว่า อุบัติเหตุโรงไฟฟ้านิวเคลียร์และนับว่ามีความรุนแรง นั้น ได้เคยเกิดขึ้น 2 ครั้ง คือ อุบัติเหตุโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ทรีไมล์ไอส์แลนด์ ประเทศ สหรัฐอเมริกา ในปี พ.ศ. 2522 และอุบัติเหตุ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ เชอร์โนบิล ในอดีตประเทศ สหภาพโซเวียต ในปี พ.ศ. 2529
28. ในระยะ 40 กว่าปีที่ผ่านมา เกิดเหตุขัดข้อง / อุบัติเหตุ ที่สำคัญ ในโรงไฟฟ้า นิวเคลียร์กี่ครั้ง?
เกิดเหตุขัดข้อง 11 ครั้ง เกิดอุบัติเหตุ 9 ครั้ง
29. สาเหตุของอุบัติเหตุโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ทรีไมล์ไอส์แลนด์และโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิล เกิดขึ้นมาจากอะไรและมีความรุนแรงของสถานการณ์เพียงใด
อุบัติเหตุโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ทั้ง 2 ครั้งนี้ มีสาเหตุคล้ายคลึงกัน คือ เกิดมาจากความบกพร่องในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ควบคุม เครื่องปฏิกรณ์ กล่าวคือ ที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ทรีไมล์ไอส์แลนด์ได้เกิดการรั่วของน้ำที่จะนำมาผลิตไอน้ำ จนกระทั่งไม่มีน้ำเหลืออยู่พอที่จะหล่อเลี้ยงเชื้อเพลิง ทำให้เชื้อเพลิงร้อนจน หลอมละลาย ซึ่งอุบัติเหตุครั้งนี้หากเจ้าหน้าที่ไม่ควบคุมการจ่ายน้ำให้แก่เครื่องปฏิกรณ์เอง โดยปล่อยให้เครื่องทำงานโดยอัตโนมัติ ระบบความปลอดภัยของโรงไฟฟ้า จะควบคุมสถานการณ์กลับคืนสู่สภาวะปกติได้อุบัติเหตุครั้งนี้คงจะไม่เกิดขึ้น ผลจากอุบัติเหตุดังกล่าว ทำให้แกนเครื่องปฏิกรณ์เสียหายทั้งหมด แต่เหตุการณ์ ได้จำกัดบริเวณความเสียหาย อยู่เฉพาะภายในโรงไฟฟ้า จนทำให้ต้องปิด ดำเนินการโรงไฟฟ้าลง โดยมีเจ้าหน้าที่จำนวน 2 คน ได้รับรังสีเกินกว่ามาตราฐานความปลอดภัย คือ ประมาณ 40 มิลลิซีเวิร์ท และมีการแพร่กระจายของสารกัมมันตรังสี ออกสู่บรรยากาศภายนอกทำให้ประชาชนในบริเวณใก้ลเคียงโรงไฟฟ้าได้รับรังสีเพิ่มขึ้นเพียง 0.00416-0.0125 เท่า สำหรับผลจากการติดตามข้อมูล ในเวลาต่อมาปรากฏว่า ไม่พบการเกิดโรคมะเร็ง เพิ่มขึ้นจากปกติและไม่เกิดผลกระทบใด ๆ แก่ประชาชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณดังกล่าว ส่วนอุบัติเหตุโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิลนั้น เป็นอุบัติเหตุ ที่ไม่ได้เกิดขึ้นมาจากการเดินเครื่องโรงไฟฟ้าตามปกติ แต่เป็นการเดินเครื่องเพื่อดำเนินการ ทดลองภายในโรงไฟฟ้า ซึ่งตัดระบบความปลอดภัยทั้งหมดออก โดยจงใจฝ่าฝืนกฎระเบียบด้านความปลอดภัยที่มีอยู่ ขณะที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิล มีข้อบกพร่อง ในการออกแบบที่ไม่เหมาะสมสำหรับการทดลองดังกล่าวได้ โรงไฟฟ้าจึงเกิดการระเบิดน้ำแรงดันสูง และเกิดเพลิงไหม้ สารกัมมันตรังสีเกือบทั้งหมด ได้แพร่กระจายสู่บรรยากาศและขยายขอบเขตไปยังนานาประเทศ ต้องดำเนินการอพยพประชาชนประมาณ 112,000 คน มีพื้นที่ เปรอะเปื้อนรังสีทั้งสิ้น 10 ตร.กม. นอกจากนี้ ส่งผลให้เจ้าหน้าที่โรงไฟฟ้าและเจ้าหน้าที่ดับเพลิง เสียชีวิตจำนวน 31 คน และได้รับบาดเจ็บอีกประมาณ 203 คน เมื่อสถานการณ์ผ่านไป 10 ปี ในปี พ.ศ. 2539 องค์การอนามัยโลกได้สรุปผลการดำเนินงานการศึกษาผลกระทบที่เกิดขึ้น พบว่า มีอัตราการเกิดโรคมะเร็งต่อมไทรอยด์ในเด็กเพิ่มขึ้น โดยมีผู้เสียชีวิตแล้ว 3 คน คาดว่าเป็นผลมาจากการได้รับไอโอดีนรังสีเข้าสู่ร่างกาย อย่างไรก็ตามโรคมะเร็งชนิดนี้สามารถรักษาให้หาย ได้หากอาการยังไม่ลุกลาม ทั้งนี้ไม่พบความผิดปกติของการเกิดโรคมะเร็งในเม็ดโลหิตขาว แต่ประชาชนซึ่งอาศัยอยู่ในบริเวณที่มี ผลกระทบทางรังสีมีอาการทางประสาทเพิ่มขึ้น เนื่องจากความหวาดกลัวอันตรายซึ่งต้องได้รับการฟื้นฟูดูแลให้หมดความวิตกกังวลต่อไป
30. สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุที่ โรงไฟฟ้าเชอร์โนบิล - 4 คืออะไร?
เจ้าหน้าที่เดินเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ฝ่าฝืน กฎระเบียบการเดินเครื่อง ซึ่งถือว่าเป็นความผิดร้ายแรงและยังได้ปลดอุปกรณ์ความปลอดภัยออกจากระบบ เพื่อทำการทดลองบางอย่าง ซึ่งอยู่นอกเหนือแผนการเดินเครื่องปฏิกรณ์ โรงไฟฟ้าเชอร์โนบิล (1-4) ที่ยูเครน ไม่มีอาคารคลุมปฏิกรณ์นิวเคลียร์ ที่ได้มาตรฐานสากล จึงทำให้กัมมันตรังสีฟุ้งกระจายออกไปสู่หลายประเทศ (รัสเซีย ออกแบบก่อสร้างและเดินเครื่อง โดยใช้เทคโนโลยีของตนเอง ไม่ได้รับการตรวจสอบ / ควบคุม จาก IAEA)
31. เหตุใดโรงไฟฟ้าทรีไมล์ไอร์แลนด์ -2 กับเชอร์โนบิล -4 ซึ่งเกิดอุบัติเหตุ เชื้อเพลิงหลอมละลาย หมือนกัน แต่ระดับความรุนแรง จัดไว้ต่างกัน?
เหตุที่เป็นดังนั้นเพราะผลความเสียหายหลังเกิดอุบัติเหตุแล้ว ต่างกัน โรงไฟฟ้าทรีไมล์ไอร์แลนด์-2 มีอาคารคลุมปฏิกรณ์ ที่ได้มาตรฐานสากล แต่โรงไฟฟ้า เชอร์โนบิล ไม่มีอาคารคลุม และอุบัติเหตุ ที่ทรีไมล์ไอร์แลนด์-2 นั้น ไม่มีผู้บาดเจ็บ หรือเสียชีวิต มีเพียงสารกัมมันตรังสี รั่วไหลออกมาภายนอกเล็กน้อย และต่ำกว่าเกณฑ์กำหนด
32. หลังจากเกิดเหตุการณ์ เชอร์โนบิลเมื่อ พ.ศ. 2529 จนถึงปัจจุบันมีการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ เพิ่มขึ้นกี่โรง เพราะเหตุใด?
มีการสร้างเพิ่มขึ้นอีก 69 โรง เพราะประเทศ ที่สร้างเพิ่มนั้น เข้าใจสาเหตุของอุบัติเหตุ ที่เชอร์โนบิลและมั่นใจ ในเทคโนโลยีความปลอดภัย มาตรการประกันคุณภาพ และความคุ้มค่า ทางเศรษฐกิจ ของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์
33. กัมมันตภาพรังสีภายในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ มีโอกาสรั่วไหลออกมา ส่งผลกระทบ ต่อประชาชน และสิ่งแวดล้อม หรือไม่?
กัมมันตรังสี ภายในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ มีโอกาสรั่วไหลออกสู่ภายนอกได้ยากมาก เพราะหลักความปลอดภัยและมาตรการประกันคุณภาพที่เข้มงวดมากมาย หลายขั้นตอน นอกจากนี้ IAEA ยังได้กำหนดให้สารกัมมันตรังสี มีโอกาสแพร่กระจาย จากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ได้เพียง 1 x 10-5(P1) หรือ 1 ใน 100,000 ครั้ง ต่อปี - ปฏิกรณ์
34. น้ำร้อนจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ที่ระบายออกสู่แหล่งน้ำจะมีผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตในน้ำและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งชาวประมงหรือไม่?
โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ เช่นเดียวกับ โรงไฟฟ้าพลังความร้อนทั่วไป ที่จะต้องนำน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติ (อ่างเก็บน้ำ แม่น้ำ ทะเล หรือมหาสมุทร) เข้าไประบายความร้อนไอน้ำในโรงไฟฟ้าก่อนที่จะปล่อยน้ำดังกล่าวสู่แหล่งน้ำตามเดิม ในกรณีนี้จึงจำเป็นต้องใช้น้ำจากแหล่งน้ำในปริมาณมาก เพื่อให้อุณหภูมิของน้ำที่ปล่อยกลับคืนสู่สิ่งแวดล้อมสูงขึ้นเพียงเล็กน้อยเป็นการป้องกันผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม อย่างไรก็ตาม น้ำร้อน ที่ปล่อยออกมา นี้อาจมีผลกระทบบ้าง คือ สิ่งมีชีวิต ที่ไม่สามารถปรับตัวได้ จะย้ายถิ่นฐานออกไป ชาวประมงจึงต้องย้ายที่ทำกินด้วย ส่วนสิ่งมีชีวิตที่สามารถปรับตัวได้ หรือสิ่งมีชีวิตที่ชอบอยู่อาศัย ในน้ำอุ่นก็จะดำรงชีวิตหรืออพยพย้ายถิ่นฐานเข้ามาในบริเวณดังกล่าวแทน ดังนั้นน้ำร้อนจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ จึงไม่สร้าง ความเสียหายร้ายแรงแก่สิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมอย่างแน่นอน เนื่องจากต้องมีการทำรายงานวิเคราะห์ ผลกระทบสิ่งแวดล้อมมาก่อนการดำเนินการ (โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ของญี่ปุ่น 50 กว่าโรง ล้วน ตั้งอยู่ริมทะเล ทั้งสิ้น)
35. ต้องเดินเครื่องโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ กี่ปีจึงจะคุ้มทุนราคาค่ากระแสไฟฟ้าจะถูกลงหรือไม่ และโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ มีอายุใช้งานนานเท่าใด?
ต้องเดินเครื่องประมาณ 15 ปี จึงจะถึงจุดคุ้มทุน (ข้อมูลจากต่างประเทศ) ขึ้นกับนโยบายและการกำหนดอัตราค่ากระแสไฟฟ้าของประเทศนั้น ๆ สำหรับราคานั้น ในหลายประเทศ ราคาค่ากระแสไฟฟ้านิวเคลียร์จะไม่สูงกว่าค่ากระแสไฟฟ้าที่ผลิตจากพลังความร้อนอื่น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ รุ่นแรก ๆ มีอายุใช้งานประมาณ 30 ปีรุ่นปัจจุบัน ประมาณ 40 ปี ในอนาคต คาดว่าจะใช้งาน ได้ถึง 60 ปี (ขณะนี้อยู่ระหว่าง การออกแบบ)
36. อุบัติเหตุโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ เมื่อเปรียบเทียบกับอุบัติเหตุด่าง ๆ แล้วจะมีผลกระทบและมีความรุนแรงมากที่สุดหรือไม่?
รังสีเป็นสิ่งที่มองไม่เห็น หรือไม่สามารถสัมผัส รับรู้ได้ โดยเฉพาะ การนำพลังงานนิวเคลียร์มาใช้ครั้งแรก ได้นำมาใช้ทำระเบิดปรมาณูเพื่อทำลายล้าง การเกิดอุบัติเหตุ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ จึงสร้างความตระหนกตื่นกลัวไปทั่วโลก แต่ผลของอุบัติเหตุโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ นั้นไม่ได้เลวร้ายอย่างที่คิดไว้ ดังจะเห็นได้จาก อุบัติเหตุโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ เชอร์โนบิล และโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ไมล์ไอส์แลนด์ เมื่อเปรียบเทียบกับอุบัติเหตุในอุตสาหกรรมเคมี พบว่าในปี พ.ศ. 2527 มีอุบัติเหตุจากอุตสาหกรรมเคมี เกิดขึ้นติดต่อกัน 2 ครั้ง ครั้งแรก เดือนพฤศจิกายน ที่ประเทศเม็กซิโก ได้เกิดเพลิงไหม้ถังเก็บก๊าซเหลวมีผู้เสียชีวิต ในทันที มากกว่า 500 คน บ้านเรือนนับร้อยถูกทำลาย ประชาชน 39,000 คน ไร้ที่อยู่อาศัยหรือต้องอพยพออกไป ต่อมาในเดือน ธันวาคม เกิดก๊าซพิษรั่วที่เมืองโบปาล ประเทศอินเดีย ทำให้ประชาชนเสียชีวิตในทันที มากกว่า 2,000 คน และได้รับบาดเจ็บ มากกว่า 200,000 คน โดยมีผลเรื้อรัง ก่อให้เกิดโรคมะเร็ง หรือเด็กพิการ เช่นเดียวกับการได้รับรังสี สำหรับอุบัติเหตุ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ นั้นผลกระทบจะเกิดขึ้น โดยตรงแก่เจ้าหน้าที่ ผู้ปฏิบัติงาน ในโรงไฟฟ้า ส่วนประชาชนจะได้รับ ความปลอดภัยมากกว่าโดยอาจจะได้รับผลกระทบข้างเคียง เพียงเล็กน้อย ซึ่งสามารถดำเนินมาตรการต่าง ๆ ที่จะแก้ไข สถานการณ์ได้ ดังนั้น อุบัติเหตุ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ จึงไม่มีผลกระทบ และความรุนแรง มากเท่าอุบัติเหตุ ในอุตสาหกรรมเคมี ที่เคยเกิดขื้น มาแล้ว แม้กระทั่งการใช้ระเบิดปรมาณู ที่ประเทศญี่ปุ่น ถึง 2 ครั้ง ผลปรากฏว่า เมื่อเวลาผ่านไป สถานการณ์ต่างๆ ได้คลี่คลายลง เมืองฮิโรชิมา และนางาซากิ ต่างก็มีประชาชน มาอาศัยอยู่ อย่างปกติ ทั้ง ๆ ที่หลังจาก การทิ้งระเบิดในตอนแรก ได้มีการคาดหมายว่า บริเวณดังกล่าวจะไม่สามารถมีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ได้ ปัจจุบัน ประเทศญี่ปุ่นซึ่งเป็นประเทศเดียว ที่ได้รับผลจากระเบิดปรมาณู กลับหันมาใช้โรงไฟฟ้านิวเคลียร์อย่างกว้างขวาง
สินค้าและบริการ
หลายประเทศสมาชิกของ IAEA ได้ดำเนินการพิมพ์กฎ ข้อบังคับ หรือมาตรฐานตนเองขึ้น โดยพิจารณาจากสภาพแวดล้อมภายในประเทศ ประกอบหลักการจาก NRC 10 CFR 50 Appendix B และ IAEA 50-C-QC แต่บางประเทศพิมพ์ขึ้นเป็นกฎ ข้อบังคับและมาตรฐานนานาชาติ โดยอนุมานว่ากลุ่มประเทศเหล่านี้มีระบบและมาตรฐานที่คล้ายคลึงกัน เอกสารดังกล่าวถูกนำมาใช้เป็นข้อกำหนดคุณภาพ การควบคุมและมักใช้บังคับในสัญญาของโครงการ ส่วนขอบเขตและขนาดของงานแต่ละโครงการอาจจะแตกต่างกัน ดังนั้นเอกสารคู่มือการประกันคุณภาพจึงต้องเหมาะกับแต่ละโครงการโดยเฉพาะ หากเป็นไปได้ควรมีมาตรฐานหรือคู่มือที่เป็นแบบอย่างเพื่อมาใช้จัดทำคู่มือการประกันคุณภาพของโครงการ และควรแก้ไขให้สอดคล้องข้อกำหนดของลูกค้า
กรณีประเทศที่ริเริ่มนำโครงการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์มาใช้ผลิตพลังงานไฟฟ้าเป็นครั้งแรก จะต้องมีการพิจารณาอย่างเข้มงวด ถึงกิจกรรมต่าง ๆ ที่จำเป็นต้องมี เพื่อเป็นหลักประกันสำหรับคุณภาพที่กำหนดไว้ของวัสดุอุปกรณ์และบริการ ตลอดทุกขั้นตอนของการดำเนินการโครงการ และที่สำคัญจะต้องเข้าใจขอบข่ายการปฏิบัติงานการประกันคุณภาพทั้งหมด ได้แก่ งานวิศวกรรม การจัดหา และการก่อสร้าง กล่าวคือ งานทางวิศวกรรม จะเริ่มต้นด้วยการจัดทำ Design Input ให้เป็นไปตามกฎปฏิบัติทางวิศวกรรมจนออกเป็น Design Output และส่งมอบงานในลำดับขั้นต่อไป
การจัดหาจะมีกิจกรรมต่าง ๆ มากมายซึ่งแยกออกเป็น 4 ขอบเขต คือ การควบคุมกิจกรรมการผลิต การควบคุมกิจกรรมการตรวจสอบ การควบคุมรายการที่ไม่ตรงตามกำหนด และการดำเนินการแก้ไขข้อบกพร่อง การสอบทวนการนำโปรแกรมมาใช้ให้เกิดผลและตรวจสอบประสิทธิผลของโปรแกรม ส่วนการก่อสร้างจะเป็นงานที่ต่อจากงานทางวิศวกรรมและการจัดหา ในขั้นนี้งานส่วนใหญ่จะมุ่งไปเรื่องการขนย้าย การจัดการเกี่ยวกับเอกสารและวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ เนื่องจากมีความเกี่ยวข้องระหว่างตัวบุคคล เอกสาร และวัสดุอุปกรณ์ที่มีความซับซ้อน จำเป็นต้องมีความรอบคอบ ดังนั้นการประกันคุณภาพทั้งสามขั้นตอนจึงต้องมีวิศวกร นักวิทยาศาสตร์ที่ทรงคุณวุฒิและเจ้าหน้าที่ผู้ตรวจสอบต่าง ๆ เท่าที่จำเป็น เพื่อจัดทำและใช้โปรแกรมการประกันคุณภาพอย่างมีประสิทธิผล เมื่อเฉลี่ยจำนวนบุคลากรกลุ่มแรกอยู่ประมาณ 30-50 คน ขณะที่กลุ่มหลังประมาณ 50-70 คน
กฎข้อบังคับประกันคุณภาพในงานก่อสร้าง หรือเดินเครื่องโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ก็ใช้พื้นฐานชุดข้อกำหนดความปลอดภัยที่ระบุไว้ในเกณฑ์ความปลอดภัย มาตรฐาน ข้อปฏิบัติ พิมพ์เขียว และข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องทางวิศวกรรม และเพื่อสร้างความเชื่อมั่นความปลอดภัยของโรงไฟฟ้าต้องคำนึงถึงการออกแบบ การก่อสร้าง การติดตั้ง และการทดสอบ อนึ่งในระหว่างดำเนินโครงการ จะมีคณะผู้สอบทานทั้งภายในและภายนอก (Internal & External Audit) ดำเนินการตามแผนการสอบทานที่กำหนดไว้ ด้วยบทบาทงานประกันคุณภาพที่ผ่านมา ได้รับการพิจารณาว่ามีความสำคัญทัดเทียมเท่ากับระบบบริหารงาน มีการพัฒนาและส่งเสริมขึ้นเพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการเริ่มต้น การดำเนินการให้บรรลุผล และช่วยปรับปรุงเทคโนโลยีต่าง ๆ ดังเช่นสาขา วิศวกรรมนิวเคลียร์ อิเล็คทรอนิคชั้นสูงและการวิจัยด้านอวกาศ เป็นต้น และทั้งหมดมุ่งเน้นเรื่องความปลอดภัยและความแน่นอนเป็นหลัก สิ่งเหนือกว่าอีกประการคือผลของการประกันคุณภาพสามารถสร้างความมั่นใจว่าจะบรรลุถึงระดับคุณภาพที่ต้องการ ด้วยการตรวจสอบให้ตรงกับความเป็นจริง โดยมีเอกสารระบุไว้อย่างถูกต้อง
ประโยชน์ต่อสังคม
พลังงานเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิต ไม่ว่าจะอยู่ในรูปของพลังงานแสง เสียง ความร้อน แม่เหล็ก ไฟฟ้า หรือพลังงานชนิดอื่นๆ ตัวอย่างเช่น พลังงานความร้อนจากดวงอาทิตย์ มีความจำเป็นต่อขบวนการเมตาบอลิสซึมในร่างกายของมนุษย์และสัตว์ พลังงานแสงมีความจำเป็นต่อขบวนการสังเคราะห์แสงของพืช เป็นต้น บ่อเกิดของพลังงานที่มีอยู่ในธรรมชาติใช้กันมาเป็นเวลายาวนาน ก็คือ ดิน น้ำ ลม และ ไฟ ในดินมีถ่านหิน น้ำมัน ความร้อนใต้พิภพ พลังงานจากน้ำตก การสร้างเขื่อน กระแสน้ำ และจากความต่างระดับของน้ำขึ้นน้ำลง พลังงานจากลมและก๊าซธรรมชาติ ไฟ คือ พลังงานความร้อนที่ได้จากการลุกไหม้หรือจากดวงอาทิตย์ นอกจากนี้ ยังมีพลังงานอีกชนิดหนึ่ง ซึ่งเกิดจากธรรมชาติเช่นกัน แต่เพิ่งมีการค้นพบ จากการทดลองทางวิทยาศาสตร์ คือ พลังงานนิวเคลียร์ ซึ่งถือได้ว่าเป็นพลังงานที่ยิ่งใหญ่ตามทฤษฎี Big Bang และเป็นบ่อเกิดของพลังงานชนิดอื่นทั้งปวงดังที่ได้กล่าวมาข้างต้นอีกด้วย
พลังงานนิวเคลียร์จะถูกปล่อยออกมาในลักษณะพลังงานจลน์ของอนุภาคต่างๆ เช่น อนุภาค อัลฟา อนุภาคเบตา นิวตรอน รังสีแกมม่า หรือ รังสีเอกซ์ เป็นต้น นอกจากนั้น ยังให้ผลตามมาเป็นพลังงานในรูปอื่นอีกด้วย เช่น พลังงานแสง พลังงานความร้อน พลังงานของคลื่นแม่เหล็กและไฟฟ้าเป็นต้น
รูปแบบของพลังงานนิวเคลียร์
สามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ตามลักษณะวิธีการปลดปล่อยพลังงานออกมา คือ
1.พลังงานนิวเคลียร์ที่ถูกปลดปล่อยออกมาในลักษณะเฉียบพลัน
เป็นปฏิกิริยานิวเคลียร์ที่ควบคุมไม่ได้ (Uncontrolled reactions) พลังงานของปฏิกิริยาจะเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว เป็นเหตุให้เกิดการระเบิด (Nuclear Explosion) สิ่งประดิษฐ์ที่ใช้หลักการเช่นนี้ ได้แก่ ระเบิดปรมาณู (Atomic bomb) หรือระเบิดไฮโดรเจน และหัวรบนิวเคลียร์ แบบต่างๆ การใช้ระเบิดนิวเคลียร์ในโครงการด้านสันติ เช่นการขุดหลุมลึก (Cratering) ขนาดใหญ่ ตัวอย่างเช่น เคยมีโครงการจะนำมาใช้ขุดคลองที่คอคอดกระ จังหวัดระนอง เพื่อทำเป็นคลองน้ำลึก สำหรับให้เรือสินค้า เรือเดินสมุทรแล่นผ่านโดยไม่ต้องอ้อมประเทศมาเลเซีย การขุด อ่างเก็บน้ำ การทำท่าเรือน้ำลึก และการตัดช่องเขา เป็นต้น การขุดทำโพรงใต้ดิน(Contained Explosion) สำหรับกระตุ้นแหล่งน้ำมันหรือก๊าซธรรมชาติในชั้นหินลึก และในการผลิตแหล่งแร่ เป็นต้น
2.พลังงานจากปฏิกิริยานิวเคลียร์ซึ่งควบคุมได้
ในปัจจุบัน ปฏิกิริยานิวเคลียร์ซึ่งควบคุมได้ตลอดเวลา (Controlled nuclear reaction) ซึ่งมนุษย์ได้นำเอาหลักการมาพัฒนาขึ้น จนถึงขั้นที่นำมาใช้ประโยชน์ในระดับขั้นการค้า หรือบริการสาธารณูปโภคได้แล้ว มีอยู่แบบเดียวคือ ปฏิกิริยาฟิชชันห่วงโซ่ของไอโซโทปยูเรเนียม-235 และของไอโซโทปที่แตกตัวได้ (Fissile isotopes) อื่นๆอีก 2 ชนิด (ยูเรเนียม-238 และพลูโตเนียม 239) ส่วนปฏิกิริยาการรวมตัว (Fusion) ของไอโซโทปต่างๆ ของไฮโดรเจนหรือที่เรียกกันอีกอย่างหนึ่งว่า ปฏิกิริยา เทอร์โมนิวเคลียร์นั้น มนุษย์ยังคงค้นพบวิธีควบคุมได้ เฉพาะในบรรยากาศพิเศษของห้องทดลอง ดังนั้น จึงยังไม่อาจนำมาใช้ประโยชน์ในทางสันติ ในเชิงการค้าได้ สิ่งประดิษฐ์ซึ่งทำงานโดยหลักการของปฏิกิริยาฟิชชันห่วงโซ่ของเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ ซึ่งมีที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน ได้แก่ เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์หรือเครื่องปฏิกรณ์ปรมาณู (Nuclear reactors) หรือที่บางท่านอาจนิยมเรียกว่า เตาปฏิกรณ์ฯ หรือเตาปรมาณู การที่มีผู้นิยมเรียกเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ว่า “เตาปรมาณู” นั้น อาจกล่าวได้ว่าเป็นไปตามแนวคิดที่ถูกทาง เพราะเมื่อมองในแง่ของการใช้งานแล้ว เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ ก็คือ ระบบอุปกรณ์ที่ใช้ปลดปล่อยพลังงานที่ถูกกักไว้ในแกนกลาง (นิวเคลียส) ของปรมาณูของไอโซโทปที่แตกตัว ได้ให้ออกมาเป็นพลังความร้อนซึ่งเราอาจนำไปใช้ประโยชน์ต่อไปได้นั่นเอง
โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ประโยชน์ของเครื่องปฏิกรณ์ปรมาณูที่นิยมใช้กันอย่างกว้างขวางในปัจจุบันนี้ คือ ใช้ในการผลิตไฟฟ้าปริมาณมากให้เพียงพอกับความต้องการพลังงานไฟฟ้า ซึ่งเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วตามสภาพความเป็นอยู่ของสังคมปัจจุบัน
พลังงานลม น้ำ และแสงแดด สามารถนำมาใช้ในการผลิตไฟฟ้าได้ แต่ศักยภาพในการผลิตไม่สูงนัก แหล่งพลังงานความร้อนใต้พิภพเท่าที่สำรวจในประเทศมีไม่มาก และยังมีปัญหาด้านโครงสร้างสำหรับการผลิตไฟฟ้าปริมาณมาก ดังนั้น ความหวังที่จะพึ่งพาพลังงานทั้งสามชนิดสำหรับความต้องการกำลังผลิตไฟฟ้ากำลังสูง เพื่อการพัฒนาประเทศซึ่งกำลังเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จึงค่อนข้าง เลือนลาง และอาจประสบความขาดแคลนได้
พลังงานนิวเคลียร์เพื่อการผลิตไฟฟ้า จำเป็นต้องมีเวลาเตรียมความพร้อมก่อนการดำเนินการผลิตประมาณ 10-15 ปี มิใช่เพียง 5-8 ปี เช่น การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานอื่น เพราะจะต้องมีการเตรียม ความพร้อมทั้งด้านกำลังคน และโครงสร้างเศรษฐกิจพื้นฐาน ตลอดถึงนโยบายการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศ และการควบคุมความปลอดภัย ความสมบูรณ์ของปัจจัยเหล่านี้ เกื้อกูลให้ การนำเทคโนโลยีพลังงานชนิดใหม่เข้ามาใช้ในประเทศไทย ประสบความสำเร็จ
การเลือกสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ควบคู่ไปกับโรงไฟฟ้าถ่านหิน จะเป็นการกระจายชนิดเชื้อเพลิงที่ได้ ซึ่งช่วยลดแรงกระทบจากความผันผวนของตลาดเชื้อเพลิง เช่น เหตุการณ์น้ำมันที่ผ่านมา การรบกวนสิ่งแวดล้อม และความสกปรก ที่เกิดจากโรงไฟฟ้าถ่านหินที่เต็มไปด้วยสารประกอบอ๊อกไซด์ ของไนโตรเจนและกำมะถันซึ่งจะกลายเป็นฝนกรด (Acid rain) ต่อไปจะไม่เกิดขึ้นเมื่อใช้โรงไฟฟ้านิวเคลียร์
สิ่งที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาพลังงานนิวเคลียร์ คือ ปัญหาเรื่องเงินลงทุนสูง นอกจากราคาตัวโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เองแล้ว รัฐบาลยังจะต้องจัดสรรงบประมาณจำนวนหนึ่ง เพื่อพัฒนากำลังคน อันได้แก่ การขยายการศึกษา และการฝึกอบรมด้านพลังงานนิวเคลียร์ ในระดับต่างๆ และการพัฒนาโครงสร้างเศรษฐกิจพื้นฐาน รวมทั้งยกระดับมาตรฐานอุตสาหกรรมต่างๆ ที่จะเข้ามารองรับงานก่อสร้าง
เครื่องปฏิกรณ์ปรมาณูวิจัย เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2505 เวลา 18:32 น. ปฏิกิริยาฟิชชันห่วงโซ่ ได้เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก ในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ เมื่อเครื่องปฏิกรณ์ปรมาณูวิจัย ของประเทศไทยได้รับการบรรจุเชื้อเพลิงจนสามารถเดินเครื่องได้
เครื่องปฏิกรณ์ปรมาณูวิจัย ได้ปฏิบัติงานเพื่อประโยชน์ของการพัฒนาประเทศ จำแนกเป็นหัวข้อใหญ่ๆได้ ดังนี้
ใช้เป็นเครื่องมือศึกาเกี่ยวกับนิวเคลียร์ฟิสิกส์ ฟิสิกส์ของเครื่องปฏิกรณ์ฯ นิวเคลียร์ เคมี และรังสีวิทยา
ใช้เป็นเครื่องมือผลิตนิวตรอน เพื่อประโยชน์ในด้านประยุกต์ เช่น การผลิตสารไอโซโทปรังสี เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ การเกษตร และอุตสาหกรรม หรือเพื่อการอาบรังสีนิวตรอนในการวิเคราะห์โดยเทคนิคเชิงนิวเคลียร์
เป็นแหล่งกำเนิดรังสีแกมม่าอย่างแรง ซึ่งสามารถใช้ในการศึกษาผลของรังสีต่อวัตถุและคุณภาพของวัตถุ เช่นการเพิ่มคุณค่าของอัญมณีจำพวกพลอยโทพาส เป็นต้น
เป็นสถานที่ฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ในเทคนิคต่างๆ เกี่ยวกับการปฏิบัติงานกับเครื่องปฏิกรณ์ฯ โดยเฉพาะด้านการจัดการเดินเครื่องปฏิกรณ์ และความปลอดภัย เป็นการเตรียมการเพื่อการดำเนินการใช้ประโยชน์จากพลังงานนิวเคลียร์ให้ได้อย่างจริงจัง และปลอดภัยในอนาคต เช่น การมีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ เป็นต้น
เครื่องเร่งอนุภาค สิ่งประดิษฐ์อีกแบบหนึ่ง ซึ่งให้ปฏิกิริยานิวเคลียร์ควบคุมได้ คือ เครื่องเร่งอนุภาค (Accelerator) ซึ่งให้อนุภาคหลายชนิด และหลายระดับออกมา อนุภาคที่มีประจุ จะถูกเร่งให้มีพลังงานสูงโดยวิธีทางแม่เหล็กและไฟฟ้า สามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อมวลมนุษย์ ทั้งทางตรงและทางอ้อม เครื่องเร่งอนุภาค เช่น Cyclotron, Electron beam, Van de Graaff เป็นต้น สำหรับผลิตอนุภาคพลังงานสูงหลายระดับ เช่น KeV, MeV, GeV อนุภาคที่ถูกเร่ง เช่นอิเล็คตรอน โปรตรอน โพสิตรอน ไพออน มิวออน และ นิวเคลียสของธาตุต่างๆ นอกจากนั้น ยังให้รังสีพลอยได้จากปฏิกิริยานิวเคลียร์อีก เช่น แกมม่า รังสีเอกซ์ และนิวตรอน เป็นต้น ทั้งนี้ประโยชน์ในการใช้งานจึงกว้างขวาง และแตกต่างกันมาก ขึ้นอยู่กับชนิดของเครื่องอนุภาคที่ผลิตและระดับพลังงาน ซึ่งเครื่องเร่งอนุภาคที่ขอบเขตสามารถทำงานได้
3. พลังงานนิวเคลียร์จากสารกัมมันตรังสี
สารกัมมันตรังสี หรือสารรังสี (Radioactive material) คือสารที่องค์ประกอบส่วนหนึ่งมี ลักษณะเป็นไอโซโทปที่มีโครงสร้างปรมาณูไม่คงตัว (Unstable isotope) และจะสลายตัวโดย การปลดปล่อยพลังงานส่วนเกินออกมาในรูปของรังสีอัลฟา รังสีเบตา รังสีแกมมา หรือรังสีเอกซ์ รูปใดรูปหนึ่ง หรือมากกว่าหนึ่งรูปพร้อมๆกัน ไอโซโทปที่มีคุณสมบัติดังกล่าวนี้ เรียกว่า ไอโซโทป กัมมันตรังสี หรือ ไอโซโทปรังสี ( Radioisotope) คุณสมบัติที่สำคัญอีกประการหนึ่งของไอโซโทปรังสี คืออัตราการสลายตัวด้วยค่าคงตัวที่เรียกว่า”ครึ่งชีวิต(Half life)” ซึ่งหมายถึง ระยะเวลาที่ไอโซโทปจำนวนหนึ่ง จะสลายตัวลดลงเหลือ เพียงครึ่งหนึ่งของจำนวนเดิม ตัวอย่างเช่น ทอง-198 ซึ่งเป็นไอโซโทปที่ใช้รังสีแกมมารักษาโรค มะเร็ง มีครึ่งชีวิต 2.7 วัน หมายความว่า ถ้าท่านซื้อทอง-198 (ทองที่สามารถสลายตัวได้) มา 10 กรัม หลังจากนั้น 2.7 วัน ท่านจะมีทองเหลืออยู่เพียง 5 กรัม แล้วต่อไปอีก 2.7 วัน ก็จะเหลืออยู่เพียง 2.5 กรัม
ประโยชน์ของพลังงานนิวเคลียร์ในกิจการต่างๆ
กิจการอุตสาหกรรม
การใช้วัสดุกัมมันตรังสี และเทคนิคทางรังสีในทางอุตสาหกรรม ซึ่งเรียกว่า เทคนิคเชิงนิวเคลียร์ เป็นการนำพลังงานปรมาณูมาใช้ประโยชน์ในทางสันติ สำหรับประเทศไทย ได้มีการใช้กันอย่างแพร่หลายในกิจการต่างๆ ดังนี้
- ใช้วัดระดับของไหล สารเคมีต่างๆ ในขบวนการผลิตในโรงงานเส้นใยสังเคราะห์ด้วยรังสีแกมมา
- ใช้ตรวจสอบระดับเศษไม้ในหม้อนึ่งภายใต้ความดันสูง ในการผลิตไม้อัดแผ่นเรียบด้วยรังสีแกมมา
- ควบคุมการไหลผ่านของส่วนผสมในการผลิตปูนซีเมนต์
- วัดความหนาแน่นของน้ำปูนกับเส้นใยหิน ในขบวนการผลิตกระเบื้องกระดาษ
- วัดความหนาแน่นในการดูดสินแร่ในทะเล เพื่อคำนวณหาปริมาณแร่ที่ดูดผ่าน
- วัดและควบคุมความหนาแน่นของน้ำโคลนที่จะใช้ในการขุดเจาะอุโมงค์ส่งน้ำใต้ดิน
- ควบคุมขบวนการผลิต ผลิตภัณฑ์เครื่องแก้วให้มีความหนาสม่ำเสมอ
- วัดหาปริมาณสารตะกั่วหรือธาตุกำมะถันในผลิตภัณฑ์น้ำมันปิโตเลียม
- ควบคุมความหนาของเนื้อยางที่เคลือบบนแผ่นผ้าใบในขบวนการผลิตยางรถยนต์
- ควบคุมน้ำหนักของกระดาษต่อหน่วยพื้นที่ในอุตสาหกรรมผลิตกล่องกระดาษ
- ใช้เป็นเครื่องขจัดประจุกระแสไฟฟ้าสถตย์บน แผ่นฟิล์ม ฟิล์มภาพยนต์ หลอดแก้วที่ใช้ บรรจุผลิตภัณฑ์ เวชภัณฑ์ต่างๆ
- ใช้ตรวจสอบความรั่วซึมในการผนึกแน่นวงจรไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ IC, Semiconductor Watch module ต่างๆ ด้วยก๊าซ คริปตอน-85
- ใช้ตรวจสอบและถ่ายรอยเชื่อมโลหะ หาความสึกหรอโดยวิธไม่ทำลายชิ้นงาน มีทั้งการใช้ X-rays, Gamma rays, และ Neutron radiography
- ใช้ในการสำรวจหาแหล่งน้ำมันใต้ดิน ความชื้นใต้ดินฯลฯ ด้วยรังสีนิวตรอน
- ใช้ทำสีเรืองแสง
- ใช้วัดหาปริมาณเถ้าของลิกไนต์
- การวิเคราะห์แร่ธาตุด้วยเทคนิคเชิงนิวเคลียร์ สำหรับการสำรวจทรัพยากรในประเทศ(Neutron activation and X-ray fluorescence analysis)
- การใช้รังสีแกมมาเพื่อห่าเชื้อในเครื่องมือเวชภัณฑ์ เช่น กระบวนการฉีดยาสายน้ำเกลือ ถุงเลือด ถุงมือ
ด้านการแพทย์และอนามัย
เวชศาสตร์นิวเคลียร์ (Nuclear medicine) คือการนำเอาสารรังสีหรือ รังสีมาใช้ในการตรวจ การรักษา และด้านการค้นคว้าศึกษาการทำงานของระบบอวัยวะในร่างกายเพื่อช่วยในการตรวจวิเคราะห์หรือรักษาโรค บรรเทาความทุกข์ทรมานของผู้ป่วย และย่นระยะเวลาการรักษาในโรงพยาบาล ตัวอย่างบางส่วนของการใช้สารรังสี หรือรังสีด้านการแพทย์ เช่น
- การรักษาโรคมะเร็งด้วย โคบอลต์-60
- เม็ดทองคำ-198 ในการรักษามะเร็งผิวหนัง
- ลวดแทนทาลัม-182 ในการรักษามะเร็งปากมดลูก
- ไอโอดีน-131 ใช้ตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคคอพอก และในรูป Labeled compound ใช้ตรวจวิเคราะห์การทำงานของไต ระบบโลหิต
- เทคนิเชียม-99m ตรวจทางเดินน้ำดี ไต ต่อมน้ำเหลือง
- แทลเลียม-201ตรวจสภาพหัวใจเมื่อทำงานเต็มที่ ตรวจสภาพการไหลของโลหิตเลี้ยงหัวใจ และตรวจสภาพกล้ามเนื้อในหัวใจ
- แกลเลียม-67 ตรวจการอักเสบ่างๆ ที่เป็นหนอง เช่น ในช่องท้อง ตรวจมะเร็งในต่อมน้ำเหลือง
- อินเดียม-111 ใช้ติดสลากเม็ดเลือดขาว ตรวจหาแหล่งอักเสบของร่างกาย ตรวจการอุดตันของไขสันหลัง ตรวจมะเร็งเต้านม รังไข่ ลำไส้
- ไอโอดีน-123 ตรวจการทำงานของต่อม ไธรอยด์
- คริปทอน-81m ตรวจการทำงานหัวใจ
- ทอง-195m ตรวจการไหลเวียนโลหิต
- การรักษาโรคมะเร็งในระดับตื้นของร่างกาย เช่น ลูกตา ด้วยรังสีโปรตอน
- การรักษาโรคมะเร็งและเนื้องอกในส่วนลึกของร่างกายด้วยรังสีนิวตรอน
ด้านการเกษตรชีววิทยาและอาหาร
ประเทศไทยมีการเกษตรเป็นอาชีพหลักของประชากร โครงการใช้นิวเคลียร์เทคโนโลยี เพื่อส่งเสริมกิจการเกษตร เป็นต้นว่าการเพิ่มผลผลิตและเพิ่มคุณภาพ ของผลิตผลซึ่งกำลังแพร่ขยายออกไปสู่ชนบทมากขึ้น
-การใช้เทคนิคนิวเคลียร์วิเคราะห์ดิน เพื่อการจำแนกพื้นที่ปลูก ทำให้ทราบว่า พื้นที่ที่ศึกษาเหมาะสมต่อการเพาะปลูกพืชชนิดใด ควรเพิ่มปุ๋ยชนิดใดลงไป
-เทคนิคการสะกดรอยด้วยรังสีใช้ศึกษาเกี่ยวกับการดูดซึมแร่ธาตุ และปุ๋ยดดยต้นไม้และพืชเศรษฐกิจต่างๆ เพื่อการปรับปรุงการใช้ปุ๋ยให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
-การฉายรังสีแกมมาเพื่อฆ่าแมลงและไข่ในเมล็ดพืช ซึ่งเก็บไว้ในยุ้งฉาง และภายหลังจากบรรจุในภาชนะเพื่อการส่งออกจำหน่าย
-การใช้รังสีเพื่อการกำจัดแมลงศัตรูพืชบางชนิดโดยวิธีทำให้ตัวผู้เป็นหมัน
-การถนอมเนื้อสัตว์ พืชผัก และผลไม้ โดยการฉายรังสีเพื่อเก็บไว้ได้นานยิ่งขึ้น เป็นประโยชน์ในการขนส่งทางไกล และการเก็บอาหารไว้บริโภคนอกฤดูกาล
-การใช้เทคนิครังสีเพื่อการขยายพันธุ์สัตว์เลี้ยง และการเพิ่มอาหารนม อาหารเนื้อ ในโค และ กระบือ
-การนำเทคนิคทางรังสีด้านอุทกวิทยา ในการเสาะหาแหล่งน้ำสำหรับการเกษตร
-การใช้เทคนิคการวิเคราะห์ด้วยวิธีอาบรังสี วิเคราะห์สารตกค้างในสิ่งแวดล้อมจากการใช้ยาปราบศัตรูพืช ยาฆ่าแมลง ซึ่งมีความสำคัญต่อผู้บริโภค
-การเอาพลังงานปรมาณูมาใช้ฉายพันธุ์พืช เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรม(Induced Mutation) เช่น
-ข้าวขาวมะลิ 105 ซึ่งเป็นข้าวเจ้าจากผลการฉายรังสี มีการกลายพันธุ์ มาเป็นข้าวเหนียว มีกลิ่นหอมเหมือนขาวขาวมะลิ
-ข้าวพันธุ์ กข15 ซึ่งก็เป็นผลจากการฉายรังสีข้าวขาวมะลิ105 แต่เป็นพันธุ์ที่เก็บเกี่ยวได้ไวกว่า และมีผลผลิตสูงกว่าขาวมะลิ 105
-ปอแก้ว เมื่อนำเมล็ดมาฉายรังสีได้พันธุ์ที่มีความทนทานต่อโรคโคนเน่า
-ถั่วเหลือง ที่มีพันธุ์ทนทานต่อรา สนิม(Rust)
ด้านสิ่งแวดล้อม
พลังงานนิวเคลียร์ มีส่วนเกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมใน 2 ด้าน คือในด้านการรักษาและพัฒนาสภาพของสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้น อีกด้านหนึ่ง คือ การตรวจตรา และควบคุมปริมาณรังสีที่มีอยู่ในธรรมชาติ ในสิ่งแวดล้อมให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัยต่อมวลมนุษย์ และสิ่งมีชีวิตโดยทั่วไป ประโยชน์ของพลังงานนิวเคลียร์ในด้านสิ่งแวดล้อม ได้แก่
-การใช้รังสีแกมมาฆ่าเชื้อโรคต่างๆ ในน้ำทิ้งจากชุมชน และจากโรงพยาบาล เพื่อป้องกันโรคระบาด
-การใช้รังสีแกมมาฆ่าเชื้อโรคในขยะและตะกอน แล้วนำกลับมาทำเป็นปุ๋ยต่อไป
การใช้รังสีอิเล็กตรอน ในการกำจัดก๊าซอันตราย (SO2, NO2) จากปล่องควันโรงงานอุตสาหกรรม และการเผาถ่านหิน
-การใช้เทคนิคทางนิวเคลียร์วิเคราะห์สารพิษต่างๆ ในดิน พืช อากาศ น้ำ และอาหาร
-การใช้เทคนิคสารติดตามทางรังสีศึกษามลภาวะในสิ่งแวดล้อม
-การวัดปริมาณรังสีในสิ่งแวดล้อม เช่น ที่อยู่อาศัย และสถานที่ทำงาน
ด้านการศึกษาและวิจัย
พลังงานนิวเคลียร์ เป็นสิ่งที่เกิดจากปฏิกิริยานิวเคลียร์ โดยการใช้อนุภาคหรือรังสีที่มีพลังงานสูง วิ่งไปชนนิวเคลียสของธาตุต่างๆ การศึกษาวิจัยทั้งขั้นมูลฐานและขั้นประยุกต์เกี่ยวกับพลังงานนิวเคลียร์และการให้ประโยชน์ ดังต่อไปนี้
-แหล่งกำเนิดรังสี เช่น เครื่องปฏิกรณ์ปรมาณูหรือต้นกำเนิดรังสีแบบ ไอโซโทป เครื่องเร่งอนุภาค
-วิศวกรรมนิวเคลียร์เกี่ยวกับการสร้างเครื่องฯ การเดินเครื่องฯ และการบำรุงรักษาระบบของเครื่องฯ
-ลักษณะกายภาพของรังสีชนิดต่างๆ อันตรกิริยาของรังสีต่ออะตอมธาตุหรือต่อสสาร
-ผลของรังสีที่มีต่อเซลล์ของสิ่งมีชีวิต
-เทคโนโลยีนิวเคลียร์ที่ประยุกต์ทางด้านการแพทย์ การเกษตร อุตสาหกรรม สิ่งแวดล้อมและอื่นๆ
สรุป
เพื่อพลิกฟื้นสภาวะทางเศรษฐกิจ อันหมายถึง ความยากไร้ของประชาชนในชาติ ให้มีสถานะทัดเทียมกับมิตรประเทศ และก้าวหน้าไปสู่ความอยู่ดีกินดี อย่างจริงจัง เทคโนโลยีทางพลังงานนิวเคลียร์ จะเป็นกลไกอันหนึ่งที่ช่วยส่งเสริมการพัฒนาประเทศในด้านสำคัญ คือ การอุตสาหกรรม การเกษตร การแพทย์และอนามัย การพลังงาน สิ่งแวดล้อม และการจัดการทรัพยากร ดังที่ได้กล่าวมาทั้งทางตรง และทางอ้อม ปัจจุบัน สำนักงานพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ จตุจักร กรุงเทพมหานคร มีโครงการใหม่ๆ ที่กำลังคิดค้นคว้าวิจัย เพื่อการนำพลังงานนิวเคลียร์มาใช้ประโยชน์แก่มวลมนุษยชาติ และการถ่ายทอด เทคโนโลยีทางนิวเคลียร์ ตลอดจนให้การศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับพลังงานนิวเคลียร์แก่ประชาชนผู้สนใจ แก่นิสิตนักศึกษา และบรรดานักเรียนระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา เพื่อให้คนทั่วไปทุกระดับ เข้าใจถึงพลังงานนิวเคลียร์ และประโยชน์ที่ได้รับทุกรูปแบบอย่างถูกต้องและถ่องแท้ อันเป็นการพัฒนาคนให้มีความรู้พื้นฐาน ซึ่งจะส่งผลไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทยต่อไปในอนาคตอันใกล้
ข่าว/วิเคราะห์ เจาะลึก
รมว.พลังงาน ดันตั้งโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เพื่อลดภาวะโลกร้อน
รมว.พลังงาน ระบุไทยจำเป็นต้องมีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ เพราะการใช้ไฟฟ้าพุ่งสูงขึ้นทุกปี นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวแสดงปาฐกถาพิเศษเรื่อง "ทำไมต้องโรงไฟฟ้านิวเคลียร์" ในงานสิ่งแวดล้อมการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ว่า ไทยจำเป็นต้องมีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แล้ว เพราะการใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นปีละ 1.14% แต่การก่อสร้างโรงไฟฟ้าในไทยมีข้อจำกัด ทั้งในส่วนของโรงไฟฟ้าถ่านหิน และโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติ
โดยรัฐบาลจะเร่งจัดทำแผนปฏิบัติของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ให้เสร็จภายในปลายปี 2550นี้ โดยใช้เวลา 7 ปี ในการเตรียมการ และใช้เวลา 6 ปี ในการก่อสร้าง หรือจะแล้วเสร็จในอีก 13 ปีข้างหน้า ซึ่งตามแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าหรือพีดีพีฉบับใหม่ กำหนดให้มีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เกิดขึ้นในปี 2563 จำนวน 4,000 เมกะวัตต์ ซึ่งจะช่วยลดปริมาณก๊าซคาร์บอนด์ไดออกไซด์ เพื่อลดปัญหาภาวะโลกร้อน รวมถึงค่าไฟฟ้าที่จะเฉลี่ยต่ำลงได้ในระยะยาว ซึ่งขณะนี้ก๊าซธรรมชาติที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงหลักในการผลิตกระแสไฟฟ้าของไทยเริ่มลดลง จึงทำให้ต้องนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) แต่ขณะนี้สัญญาซื้อขายแอลเอ็นจียังเจรจากันอยู่
นายไกรสีห์ กรรณสูต ผู้ว่าการ กฟผ.กล่าวว่า กฟผ.เตรียมก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ตามแผนของรัฐบาล ซึ่งการก่อสร้างคงต้องขึ้นอยู่กับการยอมรับของประชาชนด้วย คาดว่าต้องใช้พื้นที่ประมาณ 1-2 พันไร่ใกล้แหล่งน้ำ ใช้เงินลงทุนประมาณ 6,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ประมาณ 204,000 ล้านบาท ซึ่งการเลือกพื้นที่ก่อสร้างนี้คงจะไม่เลือกพื้นที่เก่าที่เคยศึกษาไว้ เพราะปัจจุบันเป็นชุมชนหมดแล้ว
"โรงไฟฟ้านิวเคลียร์" ปลอดภัยแค่ไหนขึ้นกับคนใช้
เจ้าหน้าที่ไอเออีเอชี้ ความปลอดภัยโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ขึ้นอยู่กับเจ้าหน้าที่ปฎิบัติงานไม่ใช่เทคโนโลยี และต้องสร้าง "วัฒนธรรมความปลอดภัย" อย่างเข้มแข็ง ใส่ใจทุกรายละเอียดความผิดปกติจากเจ้าหน้าที่ทุกระดับ ด้านผู้เชี่ยวชาญเชื้อเพลิงนิวเคลียร์จากอังกฤษเผยประชาชนในประเทศยอมรับนิวเคลียร์มากขึ้น ด้วยเห็นว่าทำลายสิ่งแวดล้อมน้อยกว่าเชื้อเพลิงฟอสซิล ส่วนเจ้าหน้าที่สิ่งแวดล้อมไทยแจงจะสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ต้องสร้างความมั่นใจเรื่องความปลอดภัยให้กับชุมชน การระเบิดของ “เชอร์โนบิล” เมื่อ พ.ศ.2529 ในประเทศรัสเซียขณะนั้นหรือประเทศยูเครนในปัจจุบัน เป็นอุบัติเหตุครั้งใหญ่ที่ฝังใจผู้คนในวงกว้าง ซึ่งทำให้หลายคนไม่มั่นใจความปลอดภัยของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ แม้ทั่วโลกมีโรงไฟฟ้าทั้งหมด 442 โรง แต่มีข้อมูลว่าเกิดอุบัติเหตุจริงๆ เพียง 9 ครั้ง และมียอดมีชีวิตฉับพลันจากอุบัติเหตุเพียง 34 คน และผู้บาดเจ็บอีก 203 คน แต่จากการศึกษาขององค์การสหประชาชาติซึ่งได้ติดตามผลกระทบใน 20 ปีต่อมา พบว่ามีผู้เสียชีวิตจากมะเร็งต่อมไทรอยด์จากการได้รับสารรังสีในเหตุการณ์ดังกล่าวถึง 4,000 คน และยังมีคนอีกจำนวนมากที่ได้รับผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจและสุขภาพจิต จึงไม่แปลกหากคนในสังคมจะตั้งคำถามว่าการผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานนิวเคลียร์นั้นมีความปลอดภัยแค่ไหน มร.เดวิด เจ ลานจ์ (David J. Lange) จากแผนกปฏิบัติการด้านความปลอดภัย ทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (ไอเออีเอ) กล่าวว่า โรงไฟฟ้านิวเคลียร์มีความปลอดภัยอย่างแน่นอน ตราบใดที่ยังดำเนินการอย่างปลอดภัย การจัดการเรื่องความปลอดภัยต้องครอบคลุมถึงการออกแบบ การก่อสร้าง การเริ่มดำเนินงาน การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ ตลอดจนการปลดประจำการเครื่องปฏิกรณ์ปรมาณู ในการดำเนินการนั้นต้องให้ความสำคัญกับความปลอดภัยทางด้านนิวเคลียร์สูงสุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องมีสภาพแวดล้อมของจิตสำนึกที่คำนึงถึงความปลอดภัย "ระลึกไว้เสมอว่าความปลอดภัยทางด้านนิวเคลียร์นั้น แท้จริงขึ้นอยู่กับผู้ปฏิบัติงานในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ไม่ใช่ผู้ออกข้อกำหนด ผู้รับเหมา หรือตัวโรงไฟฟ้าเอง "วัฒนธรรมความปลอดภัย" ที่เข้มแข็งต้องได้รับความใส่ใจ และต้อง "เชื่อใจ" ในทุกระดับขององค์กร โดยรับฟังและเคลื่อนไหวต่อความกังวลของพนักงาน ตรวจหาสัญญาณเบื้องต้นของปัญหา และพัฒนากระบวนการจัดการให้สามารถเข้าใจและปฏิบัติตามได้โดยง่าย” มร.ลานจ์กล่าว ทั้งนี้ได้ยกตัวอย่างของอุบัติเหตุในอดีตที่เกิดกับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ว่า ส่วนใหญ่เกิดจากความบกพร่องในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงาน อย่างเช่น อุบัติเหตุของ “ทรีไมล์ไอส์แลนด์” (Tree Mile Island) ซึ่งเป็นโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ขนาด 880 เมกะวัตต์ ของสหรัฐอเมริกานั้น เกิดจากเชื้อเพลิงได้หลอมละลายเนื่องจากสูญเสียน้ำระบายความร้อน ทั้งนี้เป็นเพราะเจ้าหน้าที่ขาดความเข้าใจต่อเหตุการณ์และตัดสินใจผิดพลาด อุบัติเหตุดังกล่าวให้บทเรียนว่าเราต้องออกแบบโรงงานให้มีความปลอดภัยมากขึ้น และเพิ่มประสิทธิภาพของเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน รวมถึงปรับปรุงระบบฉุกเฉินเพื่อบอกเหตุ นอกจากนี้ในอุบัติเหตุอื่นๆ ก็ต้องแก้ไขจุดที่เป็นสาเหตุของความเสียหายเช่นเดียวกัน ทางด้าน มร.เอเดรียน บูล (Adrian Bull) หัวหน้าหน่วยศึกษานโยบายพลังงาน ขององค์กรเชื้อเพลิงนิวเคลียร์อังกฤษ (British Nuclear Feul Plc) กล่าวถึงการยอมรับเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ของชาวอังกฤษว่า ระยะหลัง 2-3 ปีที่ผ่านมาประชาชนที่อาศัยอยู่ใกล้กับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ให้การสนับสนุนมากขึ้น โดยสัดส่วนของผู้สนับสนุนเพิ่มขึ้นจาก พ.ศ.2544 ที่มีอยู่ 20 เปอร์เซ็นต์เป็น 41 เปอร์เซ็นต์ใน พ.ศ.2546 และผู้คัดค้านในช่วง 5 ปีดังกล่าวลดลงจาก 60 เปอร์เซ็นต์เหลือ 28 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากประชาชนเข้าใจสถานภาพของพลังงานที่เป็นอยู่ และสภาวะที่ทำให้โลกร้อนจากเชื้อเพลิงฟอสซิล ประชาชนจึงเห็นว่าพลังงานนิวเคลียร์เป็นพลังงานที่สะอาดและให้การสนับสนุน กระบวนการในการสร้างความเชื่อมั่นเรื่องความปลอดภัยให้กับประชาชนนั้น มร.บูลกล่าวว่าใช้ระยะเวลาค่อนข้างนาน โดยต้องให้ความรู้แลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างประชาชนและผู้ประกอบการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ และจัดสัมมนาเป็นระยะๆ แต่ทั้งนี้ผู้ที่อยู่ใกล้กับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ยังคงมีความกังวลว่าจะมีผลกระทบอยู่ และสิ่งที่ชาวอังกฤษกังวลอยู่มากในขณะนี้คือเรื่องการกำจัดกากกัมมันตรังสี ซึ่งได้มีการศึกษาและหาทางออกให้กับปัญหาดังกล่าวเป็นเวลากว่า 2-3 ปี ซึ่งกำลังจะได้ข้อสรุปในเร็วๆ นี้ว่าจะดำเนินการอย่างไร นอกจากนี้สถิติการดำเนินงานโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ของอังกฤษที่ผ่านมาพบว่ามีความปลอดภัยอย่างยิ่ง สำหรับเทคโนโลยีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในปัจจุบันนั้น นายอารีรัตน์ คอนดวงแก้ว นักฟิสิกส์นิวเคลียร์ สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ กล่าวว่าปัจจุบันเทคโนโลยีก้าวมาสู่ยุคที่ 3 (Generation 3) คือเป็นโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แบบก้าวหน้า (Advanced Nuclear Power plant) ซึ่งเมื่อเกิดสัญญาณที่อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุ ระบบภายในโรงไฟฟ้าจะตั้งค่าตัวเองให้ปลอดภัยจากอันตรายโดยที่คนไม่ต้องเข้าไปเกี่ยวข้อง และเทคโนโลยีกำลังจะก้าวไปสู่ยุคที่ 4 (Generation 4) คือนอกจากจะผลิตกระแสไฟฟ้าแล้ว ยังให้ความร้อนที่นำไปใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมได้ พลังงานนำไปใช้ผลิตน้ำจืดจากน้ำเค็มได้ รวมถึงการผลิตไฮโดรเจนเพื่อใช้สำหรับเซลล์เชื้อเพลิงได้ อย่างไรก็ดี นางปิยนันท์ โศภคนาภรณ์ นักวิชาการสิ่งแวดล้อม หัวหน้ากลุ่มงานพลังงาน สำนักวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ให้ความเห็นว่า แม้ต่างประเทศจะดำเนินการทางด้านโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ได้อย่างปลอดภัย แต่หากจะมีการตั้งโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในเมืองไทยจะต้องพบกับคำถามตามมาอีกมากมาย และจะทำอย่างไรให้ประชาชนยอมรับ ทำอย่างไรจึงจะให้ชุมชนในระแวกที่มีการตั้งโรงไฟฟ้ามีความเข้าใจ เพราะแม้จะทราบว่าปัจจุบันมีเทคโนโลยีที่ความปลอดภัย แต่ก็คงไม่มีใครอยากให้มาตั้งอยู่ใกล้บ้านหรือชุมชนของตัวเอง “เมื่อยอมรับให้ตั้งโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ สิ่งที่ต้องพิจารณาคือเกณฑ์ในการก่อสร้างเป็นไปตามข้อกำหนดของไอเออีเอหรือไม่ มีการเปรียบเทียบผลกระทบสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจอย่างไร ชุมชนใกล้กับที่ตั้งโรงไฟฟ้าย่อมห่วงในผลกระทบที่อาจจะเปลี่ยนวิถีชีวิตของชุมชน อาจจะเกิดคำถามตามมาว่าเทคโนโลยีเป็นอย่างไร การกำจัดกากกัมมันตรังสีมีความปลอดภัยหรือไม่ ถ้าเกิดอุบัติเหตุแล้วชุมชนจะปลอดภัยหรือไม่ จะคลายความวิตกได้อย่างไร การดำเนินงานที่ไม่เป็นไปตามปกติจะมีช่วงใดบ้าง แล้วชุมชนจะทราบได้อย่างไร หากเกิดอุบัติเหตุจะเตือนภัยอย่างไร ความเสียหายที่เกิดขึ้นมีขอบเขตแค่ไหน มีการป้องกันการก่อวินาศกรรมหรือไม่” นางปิยนันท์กล่าวถึงคำถามที่อาจจะเกิดขึ้น “ประเด็นการยอมรับของประชาชนเป็นปัญหาสำคัญ นักวิชาการที่มีความรู้อาจจะเข้าใจและยอมรับได้ แต่ในกรณีของชุมชนที่ไม่มีความรู้เพียงพอ พวกเขาอาจจะกังวลได้ ทั้งนี้ต้องให้ความรู้แก่ชุมชน และต้องติดตามผลว่าพวกเขารับรู้มากแค่ไหน แล้วอะไรที่ยังเป็นปัญหา เพื่อจะได้เตรียมการชี้แจงและสร้างความมั่นใจ แล้วพลังงานอื่นๆ อีก เช่น พลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์ เหล่านี้มีประสิทธิภาพเพียงพอหรือไม่ ทั้งนี้เชื่อว่าอนาคตพลังงานนิวเคลียร์จะเป็นทางเลือกหนึ่งที่เราจะได้ใช้ต่อไป” นางปิยนันท์กล่าว
หนังสือพิมพ์ผู้จัดการออนไลน์ ฉบับวันที่ 3 สิงหาคม 2549 12:50 น. หน้าhttp://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9490000094044ผู้คัดลอกข่าว : นายปราโมทย์ ป้องสุธาธาร กลุ่มงานประชาสัมพันธ์ โทร. 0-2354-4466 ต่อ 118
พัฒนาโดย : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวง โทร 0-2246-0064 ต่อ 146
โรงไฟฟ้านิวเคลียร์แห่งแรกของไทย
หลังจากร่ำลือมานานว่าไทยจะสร้าง"โรงไฟฟ้านิวเคลียร์"
ถึงวันนี้ เรื่องราวดังกล่าวเริ่มมีเค้าลางว่าจะเป้นความจริงแล้ว เมื่อแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้า 2007 หรือ ( PDP2007) ที่เพิ่งผ่านสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนผ.) ไปเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2550 โดยวางแผนให้มีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์จำนวน 2 แห่ง โดยมีกำลังการผลิตรวม 4,000 เมกะวัตต์ ภายในปี 2020 (2563) และ 2021 (2564)
โดยผู้พิจารณาระบุเหตุผลว่า ต้องการกระจายความเสี่ยงด้านการจัดหาเชื้อเพลิง เพราะเชื้อเพลิงจากฟอสซิลและถ่านหินนั้นมีราคาสูงขึ้นเรื่อยๆและกำลังจะหมดไปโดยที่ผ่านมามีการเปิดรับฟังวามคิดเห็นจากประชาชนในสถานที่ซึ่งค่อนข้างปิดคือที่สโมสรกองทัพบกโดยมีทหารควบคุมนับร้อยนายโดยใช้เวลารับฟังความเห็นเพียง 1 ชั่วโมงหลังจากมีการจัดคนพูดมากถึง10คน
ทั้งที่ก่อนหน้านั้นใน PDP ฉบับที่เปิดรับฟังความเห็นที่โรงแรมสยามซิตี้ เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2550 ยังวางแผนการผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิง 3 แบบ โดยมีนิวเคลียร์เป็นทางเลือกสุดท้าย อีกทั้งหน่วยงานรับผิดชอบก็ไม่มีแนวโน้มที่ชัดเจนว่าจะเลือกทางนี้
ตามแผนพีดีพีฉบับล่าสุดซึ่งดรงไฟฟ้านิวเคลียร์รวมอยู่ด้วยนี้ จะทำให้รัฐบาลไทยทั้งรัฐบาลทหารชุดปัจจุบันและรัฐบาลพลเรือนซึ่งคาดว่าจะมีในอนาคต ต้องใช้งบประมาณจัดหาไฟฟ้าในอนาคตถึง2ล้านล้านบาทมากที่สุดในประวัติศาสตร์
เรามีทางเลือกที่ดีกว่าโรงไฟฟ้านิวเคลียร์หรือไม่ หรือวันนี้ประเทศไทยถึงเวลาต้องมีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แล้ว
คุณคิดเห็นอย่างไรที่ ประเทศไทยจะสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในเร็ววันนี้
เห็นด้วย
ไม่เห็นด้วย
คุณคิดเห็นอย่างไรที่ ประเทศไทยจะสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในเร็ววันนี้
เห็นด้วย 45.36% (127)
ไม่เห็นด้วย 54.64% (153)
ความเห็นทั้งหมด: 280
สรุป
โรงไฟฟ้านิวเคลียร์
พลังงานไฟฟ้านับเป็นปัจจัยที่จำเป็นต่อสิ่งอำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวันของผู้คนในปัจจุบันอย่างยิ่ง ทั้งภายในบ้านเรือนห้างร้าน สถานประกอบการต่างๆ รวมทั้งโรงงานอุตสาหกรรมเป็นต้น ซึ่งมีผลต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและการพัฒนาประเทศทั้งทางตรงและทางอ้อม พลังงานไฟฟ้าซึ่งใช้กันอยู่นี้ได้มาจากการแปรสภาพทรัพยากรธรรมชาติในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นพลังงานลม แสงอาทิตย์ น้ำ การเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล เช่น น้ำมัน ถ่านหิน และก๊าซธรรมชาติ เป็นต้น การแปรสภาพทรัพยากรธรรมชาติเป็นพลังงานดังกล่าวย่อมมีผลกระทบต่อธรรมชาติมากน้อยต่างกันไป
ในปัจจุบันการดำเนินนโยบายและการจัดหาพลังงานต่างๆ รวมทั้งพลังงานไฟฟ้าเพื่อตอบสนองความต้องการทั้งภาครัฐ และเอกชนเป็นหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐ ซึ่งต้องมีการวางแผนไว้เป็นระยะยาวเพื่อป้องกันการเกิดการขาดแคลนพลังงานขึ้นทรัพยากรธรรมชาติหลายชนิดดังกล่าวข้างต้นมีขีดจำกัดในการขยายกำลังการผลิตและบางอย่างนับวันจะหมดไป รัฐจึงจำเป็นต้องมีการพิจารณาแหล่งพลังงานใหม่เพื่อมาเสริมสร้างความมั่นคงการผลิตกระแสไฟฟ้าในอนาคต นั่นคือ พลังงานนิวเคลียร์ และทั้งนี้รัฐบาลมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเผยแพร่ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับแหล่งพลังงานนิวเคลียร์ให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจอย่างถูกต้อง เพื่อให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการพิจารณาตัดสินใจ และเพื่อป้องกันมิให้เกิดการกระแสคัดค้านโดยไร้เหตุผลในอนาคต
วันพุธที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2550
งานกลุ่ม3 HD-DVD & Blue-ray
HD-DVD & Blue-ray
เทคโนโลยีวิดีโอความคมชัดสูงนี้มีด้วยกัน 2 รูปแบบด้วยกัน คือ
1. HD-DVD ของโตชิบา HD-DVD ถูกพัฒนาโดยโตชิบาและเอ็นอีซีเท่านั้น นั่นทำให้ผู้บริโภคมีทางเลือกในการนั่งดูหนังที่บ้านมากขึ้น โดยเป็นภาพยนตร์ความคมชัดสูงในระดับเดียวกับที่สามารถนั่งดูได้ที่มัลติเพล็กซ์
2. Blue-ray ของโซนี่ Blue-ray มีโซนี่เป็นแกนนำภายใต้การสนับสนุนจากบริษัทอีกหลายบริษัท เช่น มัตซึ ชิตะ (พานาโซนิค), ธอมสัน, แอลจี, ฟิลิปส์, ไพโอเนียร์, ชาร์ป และซัมซุง รวมถึงวงการคอมพิวเตอร์อย่างเดลล์และเอชพี ในขณะที่ HD-DVD ถูกพัฒนาโดยโตชิบาและเอ็นอีซีเท่านั้น นั่นทำให้ผู้บริโภคมีทางเลือกในการนั่งดูหนังที่บ้านมากขึ้น โดยเป็นภาพยนตร์ความคมชัดสูงในระดับเดียวกับที่สามารถนั่งดูได้ที่มัลติเพล็กซ์
ถ้ายังจำกันได้เมื่อหลายปีก่อนมีมาตรฐานของวิดีโอออกมาสองตัว คือ VHS และ Betamax ซึ่งในตอนนั้นผู้บริโภคจะต้อง ตัดสินใจเลือกหนึ่งในสองมาตรฐานนั้น หรือไม่ก็ต้องซื้อทั้งสองมาตรฐานเลย เพราะทั้งสองมาตรฐานไม่สามารถใช้ร่วมกันได้ นั่นหมายความว่า ถ้าผู้บริโภคเลือกทั้งสองมาตรฐานก็จะต้องซื้อเครื่องเล่นสองเครื่อง เทคโนโลยีวิดีโอความคมชัดสูงนี้ก็เช่นเดียวกัน โดย HD-DVD ได้รับการสนับสนุนจากโตชิบา และเอ็นอีซี ส่วน Blue-ray มีโซนี่หนุนหลัง อย่างไรก็ตาม เคยมีบทวิเคราะห์ก่อนหน้านี้ว่า สุดท้ายแล้วฮอลลีวูดคงจะต้องเลือกแค่เพียงมาตรฐานเดียว และมาตรฐานที่จะได้รับเลือก ก็จะเป็นมาตรฐานที่สามารถเก็บข้อมูลได้มากที่สุด ซึ่งนั่นหมายความว่า Blue-ray น่าจะ ชนะไปอย่างฉิวเฉียดในท้ายที่สุด
แผ่นดีวีดีโดยทั่วๆ ไปมีความจุ 4.7 กิกะไบต์ โดยเป็นขนาดความจุที่สามารถเก็บ ภาพยนตร์ขนาดความยาว 135 นาทีได้ในรูปแบบภาพวิดีโอมาตรฐานที่ถูกบีบอัดแล้ว อย่างไรก็ตาม ความจุขนาดนี้แม้จะมากก็ตาม แต่ก็ไม่สามารถเก็บภาพยนตร์ในรูปแบบวิดีโอแบบความคมชัดสูงได้ โดยถ้าต้องการเก็บภาพยนตร์ความยาวเท่ากันในรูปแบบวิดีโอความคมชัดสูงแบบบีบอัดจะต้องการพื้นที่เพิ่มมากถึงห้าเท่า ทำให้ Blue-ray และ HD-DVD ถือกำเนิดขึ้นมาโดยใช้แสงเลเซอร์ที่ใช้ในการอ่านและเขียนแผ่นดิสก์แบบใหม่ซึ่งเป็นแสงสีน้ำเงิน (ถ้าจะพูดจริงๆ คือแสงสีน้ำเงิน-ม่วง)
แสงสีน้ำเงินนี้จะมีความยาวคลื่นสั้นกว่าแสงเลเซอร์สีแดงของแผ่นดีวีดีทั่วๆ ไปทำให้สามารถบันทึกข้อมูลลงแผ่นดิสก์ได้มาก กว่าบนเนื้อที่เท่าเดิม โดย Blue-ray สามารถเก็บวิดีโอความคมชัดสูงได้นานถึง 9 ชั่วโมงในแผ่นดิสก์แบบ double-layer และเก็บไฟล์วิดีโอที่บีบอัดตามมาตรฐานที่ใช้ในดีวีดีทั่วๆ ไปได้นานต่อเนื่องถึง 23 ชั่วโมง
นอกจากนี้ยังมีความแตกต่างในเรื่องของชั้นเคลือบดิสก์ โดยดิสก์แบบ Blue-ray มีชั้นเคลือบที่มีความหนาเพียงหนึ่งในหกของ ความหนาของดีวีดีทั่วๆ ไปหรือ HD-DVD นั่นทำให้ชั้นข้อมูลของดิสก์แบบ Blue-ray ใกล้ชิดกับผิวหน้าของดิสก์มากขึ้นและทำให้แสงเลเซอร์จากเครื่องเล่นแบบ Blue-ray อ่านข้อมูล ที่ถูกเก็บไว้เป็นชั้น (layer) ชั้นเดียวได้จำนวน มากขึ้น โดยโซนี่เองวางแผนที่จะเพิ่มชั้นของข้อมูลจาก 2 เป็น 4 ชั้นภายในปี 2007 และจะเพิ่มเป็น 8 ชั้นในที่สุด นั่นทำให้ดิสก์แบบ Blue-ray สามารถเก็บข้อมูลได้มากขึ้นในแต่ละ ชั้นและเก็บได้หลายชั้นมากกว่า HD-DVD
เมื่อเรามองย้อนไปในอดีตจะพบว่า การเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีอันมีผลต่อการเสพสิ่งบันเทิงล้วนสร้างความแตกต่างให้กับผู้เสพในเรื่องประสบการณ์ใหม่ๆ อยู่เสมอ การถือกำเนิดของโทรทัศน์ที่กลายเป็นเครื่องใช้ประจำบ้านไปแล้วและเป็นอุปกรณ์ที่เกือบมาทำให้ธุรกิจภาพยนตร์ต้องถึงกาลอวสานโดยทำให้จำนวนผู้ออกไปชมภาพยนตร์ นอกบ้านในปี 1948 ที่มีจำนวน 90 ล้านคนต่อสัปดาห์เหลือเพียง 20 ล้านคนต่อสัปดาห์ในปี 1966 และเมื่อคนอเมริกันมีโทรทัศน์สีใช้แล้วก็ทำให้คนดูอีกกว่า 70 ล้านคนต่อสัปดาห์ เลิกไปโรงภาพยนตร์ และทำให้ฮอลลีวูดต้องหันมาลงทุนโฆษณาจำนวนมหาศาล เพื่อประชาสัมพันธ์ภาพยนตร์เรื่องใหม่ๆ ผ่านโทรทัศน์เพื่อดึงคนกลับไปดูภาพยนตร์อีกครั้ง เมื่อมีวิดีโอและดีวีดี รวมถึงการสามารถทำสำเนาวิดีโอและดีวีดีเถื่อนได้ก็ส่งผลให้โรงภาพยนตร์แทบจะหายไปจากทวีปเอเชียและยุโรปตะวันออกเลย
นี่หมายความว่า Blue-ray รวมถึง HD-DVD กำลังจะมาสร้างปรากฏการณ์ใหม่อีกครั้งต่อวงการฮอลลีวูด จริงๆ แล้วดีวีดีแบบ Blue-ray น่าจะเป็นเครื่องมือทางยุทธศาสตร์ที่สำคัญของโซนี่ โดยการที่ดีวีดีแบบนี้จะมีชั้นของการเก็บข้อมูล หลายชั้น ซึ่งนอกจากสามารถเก็บข้อมูลดิจิตอลจำนวนมากๆ ได้แล้วยังสามารถใช้ใน การบันทึกข้อมูลที่ดาวน์โหลดมาจากอินเทอร์เน็ตได้ด้วย โดยเป็นโปรโมชั่นของเว็บไซต์ของ โซนี่เองที่สามารถเพิ่มเกม, มิวสิกวิดีโอ รวมถึง อะไรก็ตามที่เกี่ยวข้องกับภาพยนตร์เรื่องนั้นๆ ที่สามารถนำมาเพิ่มให้เต็มครบชุดได้
อย่างไรก็ตาม ความคิดของสตูดิโอภาพยนตร์และผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มองว่าเทคโนโลยีใหม่นี้จะช่วยให้สามารถเพิ่มตลาดบันเทิงภายในบ้านให้กว้างขวางมากขึ้นนั้นอาจจะเป็นเรื่องที่ผิดก็ได้ ไม่ใช่เป็นเพราะการ ที่ผู้บริโภคต้องมาเดิมพันเลือกข้างของเทคโนโลยีเหมือนสมัยสงครามระหว่าง VHS กับ Betamax เพราะอย่างน้อยภายในปีหน้าก็จะมีเครื่องเล่นที่สามารถสนับสนุนมาตรฐานทั้งสองได้ แต่จะเป็นเพราะอาจจะถึงคราวสิ้น สุดยุคของดิสก์แล้วก็ได้ โดยมีสี่เหตุผลสำคัญ ที่มาสนับสนุน ได้แก่
1. อินเทอร์เน็ต ไมโครซอฟท์กำลังเปิดบริการให้เช่าภาพยนตร์และบริการดาวน์โหลดผ่านเครื่องเล่น Xbox Live ของตัวเอง โดยเป็นบริการแรกที่รวมเอาการดาวน์โหลดภาพยนตร์ที่มีความคมชัดสูงด้วย ซึ่งถือเป็น การตัดหน้าเพลย์สเตชั่น 3 ของโซนี่ซึ่งจะรวมเอาเทคโนโลยี Blue-ray เอาไว้ด้วย โดยเครื่อง Xbox 360 สามารถเล่นได้เพียงแค่ดีวีดีทั่วๆ ไปเท่านั้น บริการให้เช่าวิดีโอผ่านการดาวน์โหลดถือเป็นการข้ามความจำเป็นที่ต้องใช้มิเดียหรือดิสก์ไป รวมถึงเป็นการแก้ปัญหาที่ intones ต้องเผชิญในการขายภาพยนตร์โดยเฉพาะภาพยนตร์ความละเอียดสูง โดยเมื่อเราดาวน์โหลดภาพยนตร์เข้ามาไว้ในเครื่อง Xbox แล้วซึ่งปกติเครื่อง Xbox ต้องต่อกับโทรทัศน์อยู่แล้วก็ทำให้สามารถดูผ่านโทรทัศน์ได้เลย แต่ข้อเสียก็คือต้องมีเครื่องXboxด้วย 2. Cable on-demand เครื่องมืออย่าง Comcast Box เป็น การนำภาพยนตร์ความคมชัดสูงมาเจอกับจอแบบ HDTV นอกจากนี้การ ดูแบบออนดีมานด์สามารถเปิดดูได้ทันทีโดยไม่ต้องมานั่งรอดาวน์โหลดให้เสร็จอีก แต่สตูดิโอโดยส่วนใหญ่ก็พยายามไม่เอาภาพยนตร์ที่เพิ่งลง โรงมาให้ดูผ่านบริการแบบออนดีมานด์ แต่ทุกวันนี้สถานการณ์กำลังจะ เปลี่ยนแปลงไป และมีการลองนำภาพยนตร์ที่เพิ่งลงโรงมาฉายบ้างแล้ว ที่สำคัญเทคโนโลยีป้องกันการทำซ้ำของบริษัทเคเบิลทั้งหลายน่าจะทำให้ ผู้ผลิตภาพยนตร์เบาใจลงบ้าง เช่นเดียวกับบริการให้เช่าภาพยนตร์ของ Xbox ที่ภาพยนตร์เรื่องนั้นๆ จะหมดอายุภายใน 24 ชั่วโมงภายหลังจากการดาวน์โหลด 3. การปรากฏของรูปแบบของดิสก์แบบใหม่หมายถึงเงินลงทุน เรื่องฮาร์ดแวร์ที่ต้องเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน แน่นอนว่าหลังจากลงทุนซื้อ HDTV (ราคาประมาณ 3,000 เหรียญ) รวมถึงเครื่องเสียงอีกจำนวนหนึ่ง คงไม่มีใครอยากจะลงทุนอีกมากมายนักแน่นอน และเครื่องเล่นวิดีโอความ คมชัดสูงก็ไม่ใช่ถูกๆ (เครื่องเล่น HD-DVD ราคาประมาณ 350-600 เหรียญสหรัฐ ในขณะที่เครื่องเล่น Blue-ray ราคาอยู่ระหว่าง 750-1,000 เหรียญสหรัฐ) การตัดสินใจที่จะให้เครื่องเล่นเพลย์สเตชั่น 3 ของโซนี่ เองสนับสนุนเทคโนโลยี Blue-ray ถือเป็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญและยอดเยี่ยม ในการเพิ่มอุปสงค์ต่อภาพยนตร์ที่ใช้เทคโนโลยี Blue-ray อย่างไรก็ตามถือเป็นการเดิมพันครั้งสำคัญของโซนี่ด้วยเพราะถ้ามาตรฐานนี้ไม่ได้รับการยอมรับจากตลาดก็จะทำให้เครื่องเพลย์สเตชั่นของโซนี่กลายเป็นเครื่องพิกลพิการไปด้วย 4. การกลับมาอีกครั้งของฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ การดาวน์โหลดภาพยนตร์ต่างจากดีวีดีตรงที่เพียงต้องการพื้นที่ที่จำเป็นต้องเก็บไว้ในฮาร์ดดิสก์เท่านั้น โดยสามารถเก็บได้นานเท่าที่ต้องการ โดยอาจจะเก็บไว้ดูเพียงครั้งสองครั้ง หรือเก็บไว้ตลอดกาลก็ได้เช่นกัน เมื่อเทียบกับการโหลดเพลงผ่าน intones ซึ่งมีราคาถูกกว่าการซื้ออัลบั้มจริงๆ 8-10 เหรียญสหรัฐ ตามร้านขายปลีกทั่วไป และเมื่อพิจารณาว่าราคาฮาร์ดดิกส์ได้ลดลงอย่างต่อเนื่องในขณะที่ขนาดความจุกลับเพิ่มขึ้นอย่าง ก้าวกระโดดเช่นกัน ก็ยิ่งเห็นประโยชน์ของฮาร์ดดิสก์
อย่างไรก็ตาม ปัญหาของการดาวน์โหลดภาพยนตร์ผ่านทางอินเทอร์เน็ตก็คือ การนำไปใช้งานที่ยังยากอยู่เมื่อเทียบกับดูผ่าน แผ่นดีวีดีทั่วๆ ไปเพราะจำเป็นต้องมีทักษะในระดับหนึ่ง นอกจากนี้การที่ต้องนั่งรอดาวน์โหลดให้เสร็จถึงจะดูได้ก็เป็นอุปสรรคสำคัญอย่างหนึ่งด้วยเช่นกัน ดิสก์จะถึงกาลอวสานตามการคาดการณ์หรือไม่ ก็ตาม ความเปลี่ยนแปลง คือ สัจธรรมอันเป็นนิรันดร์ที่ใครก็ตามที่ก้าวเข้ามาสู่โลกของเทคโนโลยีหรือโลกใดๆ ก็ตามแต่ไม่สามารถข้ามพ้นมันไปได้
ประวัติความเป็นมาของ Blue-ray
บลูเรย์ดิสค์ (Blu-ray Disc) หรือ บีดี (BD) คือรูปแบบของแผ่นออพติคอลสำหรับบันทึกข้อมูลความละเอียดสูง ชื่อของบลูเรย์มาจาก ช่วงความยาวคลื่นที่ใช้ในระบบบลูเรย์ ที่ 405 nm ของเลเซอร์สี "ฟ้า" ซึ่งทำให้สามารถทำให้เก็บข้อมูลได้มากกว่าดีวีดี ที่มีขนาดแผ่นเท่ากัน โดยดีวีดีใช้เลเซอร์สีแดงความยาวคลื่น 650 nm
มาตรฐานของบลูเรย์พัฒนาโดย กลุ่มของบริษัทที่เรียกว่า Blu-ray Disc Association ซึ่งนำโดยโซนี และ ฟิลิปส์ เปรียบเทียบกับ เอ็ชดีดีวีดี (HD-DVD) ที่มีลักษณะและการพัฒนาใกล้เคียงกัน บลูเรย์มีความจุ 25 GB ในแบบเลเยอร์เดียว (Single-Layer) และ 50 GB ในแบบสองเลเยอร์ (Double-Layer) ขณะที่ เอ็ชดีดีวีดีแบบเลเยอร์เดียว มี 15 GB และสองเลเยอร์มี 30 GB
ความจุของบลูเรย์ดิสค์
ซึ่งปกติแผ่นบลูเรย์นั้นจะมีลักษณะคล้ายกับแผ่น ซีดี/ดีวีดี โดยแผ่นบลูเรย์จะมีลักษณะแบบหน้าเดียว และสองหน้า โดยแต่ละหน้าสามารถรองรับได้มากถึง 2 เลเยอร์ อาทิ แผ่น BD-R (SL) หมายถึง Blu-Ray Disc ROM แบบ Single Layer แบบหน้าเดียว มีความจุ 25 GB แผ่น BD-R (DL) หมายถึง Blu-Ray Disc ROM แบบ Double Layer แบบหน้าเดียว มีความจุ 50 GB แผ่น BD-R (2DL) หมายถึง Blu-Ray Disc ROM แบบ Double Layer แบบสองหน้า มีความจุ 100 GB
ส่วนความเร็วในการอ่านหรือบันทึกแผ่น Blu-Ray ที่มีค่า 1x, 2x, 4x ในแต่ละ 1x จะมีความเร็ว 36 เมกะบิต ต่อ วินาที นั่นหมายความว่า 4x นั่นจะสามารถบันทึกได้เร็วถึง 144 เมกะบิต ต่อ วินาที
ประวัติความเป็นมาของ HD DVD
เมื่อ 19 พฤศจิกายน 2003 ทางสมาคม DVD Forum ได้ลงความเห็นให้ HD DVD เป็นฟอร์แมตแผ่นบันทึกข้อมูลรุ่นถัดไป ต่อจากดีวีดี ในขณะเดียวกันแผ่นแบบ Blu-ray ก็ถูกพัฒนาขึ้นโดยไม่ผ่าน DVD Forum ในช่วงที่ผ่านมามีความพยายามที่จะรวมฟอร์แมตให้เหลือเพียงแบบเดียวหลายครั้ง แต่ก็ประสบความล้มเหลวจนผลิตภัณฑ์จริงวางจำหน่ายทั้งสองฝั่งในที่สุด
HD DVD (High Definition DVD หรือ High Density DVD) เป็นแผ่นข้อมูลแบบบันทึกด้วยแสง (optical disc) ที่ใช้บันทึกวิดีโอความละเอียดสูง (high definition) หรือข้อมูลชนิดอื่นๆ ก็ได้ HD DVD มีลักษณะใกล้เคียงกับ Blu-ray ซึ่งเป็นแผ่นบันทึกข้อมูลคู่แข่ง โดยใช้ขนาดแผ่นเท่ากับซีดีรอม (เส้นผ่านศูนย์กลาง 12 ซม.)
HD DVD ได้รับการสนับสนุนจากบริษัทขนาดใหญ่ในอุตสาหกรรมหลายบริษัท เช่น โตชิบา, NEC, ซันโย, ไมโครซอฟท์ และอินเทล รวมถึงบริษัทภาพยนตร์อย่าง Universal Studios โตชิบายังได้ออกวางขายเครื่องเล่นแผ่น HD DVD เครื่องแรกเมื่อวันที่ 31 มีนาคม ค.ศ. 2006
//
รายละเอียดตัวแผ่น
HD DVD แบบเลเยอร์เดียวจุข้อมูลได้ 15GB และ 30GB สำหรับแบบสองเลเยอร์ โตชิบาได้ประกาศว่าจะผลิตแผ่นแบบ 3 เลเยอร์ที่จุได้ 45GB ในตัวแผ่น HD DVD สามารถใส่ข้อมูลชนิดดีวีดีแบบเดิม และ HD DVD ได้พร้อมกัน การอ่านข้อมูลใช้เลเซอร์ความยาวคลื่นแสงสีฟ้า (405 นาโนเมตร)
ชั้นข้อมูลจะถูกบันทึกถัดไปจากพื้นผิว 0.6 มิลลิเมตรเช่นเดียวกับดีวีดีทั่วไป เทคโนโลยีการบีบอัดข้อมูลวิดีโอคือ MPEG-2, Video Codec 1 และ H.264/MPEG-4 AVC สนับสนุนระบบเสียงแบบ 7.1 ในส่วนความละเอียดของภาพนั้นขึ้นกับจอภาพที่ใช้ด้วย แต่สามารถขึ้นได้ที่ความละเอียดสูงสุด 1080p
Blue-rayและHD-DVDคืออะไร?
Blu-ray Disc จากค่ายโซนี่ และ HD-DVD จากค่ายโตชิบา ล้วนเป็นเทคโนโลยีออพติคอลดิสก์รุ่นล่าสุด ที่รองรับมาตรฐานวิดีโอแบบ High-Definition และสามารถบรรจุข้อมูลลงบนแผ่นได้จำนวนมากขึ้น โดยทั้งสองเทคโนโลยีใช้เลเซอร์แบบพิเศษสีน้ำเงินและมีหน่วยเก็บข้อมูลบนดิสก์ที่หนาแน่นกว่า ทำให้ปริมาณข้อมูลของแผ่นออพติคอลยุคใหม่มีจำนวนสูงกว่าแผ่นดีวีดีที่เราใช้กันในปัจจุบัน โดยแผ่น Blu-ray แบบชั้นเดียวสามารถเก็บบันทึกข้อมูลได้ 25 กิกะไบต์ และแบบสองชั้นเก็บข้อมูลได้ที่ 50 กิกะไบต์ ส่วนแผ่น HD-DVD นั้นมีความจุสำหรับแผ่นแบบชั้นเดียวที่ 15 กิกะไบต์ และแบบสองชั้นที่ 30 กิกะไบต์ บลูเรย์แบบชั้นเดียวมีความจุ 25 กิกะไบต์ ซึ่งมากกว่าแผ่นดีวีดีทั่วไปประมาณ 5 เท่า และมากกว่าแผ่นซีดีธรรมดา 33 เท่า .. ความจุขนาดนี้ใช่ว่าขนาดของแผ่นจะต้องใหญ่ขึ้นนะ! ความจริงถ้าดูเฉพาะรูปลักษณ์ภายนอกของ Blu-ray และ HD-DVD อาจแทบแยกไม่ออกด้วยซ้ำว่าต่างจากดีวีดีทั่วไปตรงไหน
Blue-rayและHD-DVDแตกต่างกันอย่างไร?
แผ่นทั้งสองประเภทมีขนาดเท่ากันคือ เส้นผ่านศูนย์กลาง 120 มิลลิเมตร และมีความหนาประมาณ 1.2 มิลลิเมตร โดย HD-DVD มีระดับชั้นที่เคลือบเพื่อปกป้องลายนิ้วมือและรอยขูดขีดประมาณ 0.6 มิลลิเมตร ส่วนทาง Blu-ray นั้นมีระดับชั้นป้องกันปัญหาดังกล่างเพียง 0.1 มิลลิเมตรเท่านั้น แต่เสริมด้วยเทคโนโลยี Hard Coating ที่ทางโซนี่บอกว่า สามารถป้องกันรอยขูดขีดได้ดีกว่าเดิม ส่วนความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูลนั้นอยู่ที่ประมาณ 36 เมกะบิตต่อวินาที สำหรับความเร็วระดับ 1 เท่า ซึ่งถือว่าเร็วขึ้นมากเมื่อเทียบกับดีวีดีและแผ่นซีดีทั่วไป
จุดเด่นของ Blue-ray และ HD-DVD
สื่อรุ่นใหม่ทั้งสองประเภทไม่ได้มีดีที่ความจุเท่านั้น สิ่งที่หลายคนคาดหวังกับ Blu-ray และ HD-DVD ก็คือ คุณภาพของภาพที่คมชัดขึ้นกว่าเดิมและให้สีสันสมจริงที่สุดในแบบที่ดีวีดีเองก็ยังเทียบไม่ได้ แต่ก็ใช่ว่าแค่ซื้อแผ่นและเครื่องเล่นรุ่นใหม่แล้วคุณก็จะได้คุณภาพระดับดังกล่าว ถ้าจะเล่นแผ่นระดับนี้ คุณต้องมีโทรทัศน์แบบ High Definition หรือที่เรียกกันว่า HD-TV ด้วยความคมชัดของคุณภาพระดับ High-Definition นั้น เชื่อว่าใครได้ชมเป็นต้องติดใจเพราะแตกต่างอย่างเห็นได้ชัดเมื่อเทียบกับภาพที่เล่นจากแผ่นดีวีดีหรือแผ่นซีดธรรมดา แต่จะคุ้มค่ากันหรือไม่ อันนี้ผู้บริโภคต้องลองตัดสินใจกันดู โดยราคาเฉลี่ยของเครื่องเล่น Blu-ray นั้นอยู่ที่เกิน 3 หมื่นบาทขึ้นไป ส่วนเครื่องเล่น HD-DVD นั้นราคาก็ยังอยู่ประมาณ 2 หมื่นบาท นี่ยังไม่รวมค่าแผ่นภาพยนตร์ที่ตกแผ่นละประมาณเกือบๆพันบาท.... แน่นอนว่าสิ่งที่ทุกท่านจะได้กลับมาก็คือคุณภาพของภาพและระบบเสียงที่สมจริงขึ้น
อุปสรรคของBlu-rayและHD-DVD แต่ความซับซ้อนและปัญหาเกี่ยวกับ Blu-ray และ HD-DVD นั้น ไม่ได้มีแค่เรื่องราคาที่ยังแพงอยู่ เพราะปัญหาสำคัญก็คือ ทั้งสองค่ายทะเลาะกันมาข้ามปี ยังหาจุดลงตัวไม่ได้ ทำให้ผู้บริโภคตัดสินใจเลือกซื้อสื่อรุ่นใหม่นี้ได้ลำบากขึ้น เพราะแผ่นแบบ Blu-ray นั้นก็ต้องเล่นเฉพาะบนเครื่องเล่นที่รองรับ Blu-ray เท่านั้น เช่นเดียวกันกับ HD-DVD สองปีผ่านไป ทั้งสองค่ายก็ยังหาทางสมานฉันท์ไม่ได้ ทั้งๆ ที่ก่อนหน้านี้มีข่าวหลายครั้งว่าจะรอมชอมกันได้ และที่จริงเดิมทีซัมซุงและแอลจีก็เคยมีแผนที่จะปล่อยเครื่องเล่นแบบที่รองรับได้ทั้งสองมาตรฐาน แต่ท้ายสุดก็เป็นอันเงียบไป ทำให้ผู้บริโภคต้อง "เสี่ยง" ดวงเอาเอง คือ ถ้าสองค่ายไม่มีใครยอมใครกันจริงๆ แน่นอนว่าในอนาคตย่อมมีหนึ่งมาตรฐานที่ชนะ และอีกหนึ่งค่ายที่แพ้หากใครเลือกผิดก็เหมือนกับซื้อเครื่องเล่นเอาไว้เป็นของประดับบ้านเฉยๆนั่นละ!!
สถานการณ์ตอนนี้หากดูกันโดยภาพรวมแล้ว Blu-ray ยังคงได้เปรียบอยู่พอสมควร เพราะค่ายหนังฮอลลีวูดยักษ์ใหญ่ 7 ใน 8 รายให้การสนับสนุนอย่างดี ซึ่งได้แก่ Warner, Paramount, Fox, Disney, Sony, MGM และ Lionsgate มีเพียงค่าย Universal เท่านั้นที่ยังปักใจกับ HD-DVD โดยมี Warner และ Paramount เป็นที่ปันใจเลือกทั้งสองฝั่งเป็นแรงหนุนอีกที นอกจากนี้ Blu-ray ยังมีค่ายผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าชั้นนำคอยดันกันอีกหลายแรง ทั้ง Panasonic, Philips, Samsung, Pioneer, Sharp, JVC, Hitachi, Mitsubishi, LG รวมไปถึงค่ายใหญ่ในวงการคอมพิวเตอร์ทั้ง Apple, HP และ Dell เรียกว่าทำให้ฟากHD-DVDของโตชิบานั้นสั่นได้ไม่น้อยทีเดียว แต่ใช่ว่า HD-DVD นั้นจะต้องเป็นฝ่ายแพ้นะ ลองฟังชื่อของบริษัทระดับบิ๊กๆ ที่หนุนหลังโตชิบาซะก่อนแล้วค่อยตัดสินใจใหม่ เพราะมีทั้ง NEC, Sanyo พร้อมด้วยคู่หูดูโอวงการคอมพิวเตอร์อย่าง Microsoft และ Intel เรียกว่าทาง Blu-ray เองก็ประมาทไม่ได้เลยทีเดียว
สำหรับใครที่อยากลองของใหม่ ทั้ง Blu-ray และ HD-DVD น่าจะสร้างความตื่นเต้นประทับใจให้ได้ไม่น้อยทีเดียว แต่ถ้าใครชอบความคุ้มค่า Choose IT ของเราขอแนะนำว่า ... รอไปก่อน รอจนกว่าเค้าจะทะเลาะกันเสร็จ รอจนกว่าราคาจะเหมาะสมกว่านี้ แล้วค่อยซื้อก็ยังไม่ช้าเกินไป
ข้อควรจำสำหรับ Blue-ray และ HD-DVD
อย่าลืมนะว่า จะชมภาพยนตร์คมชัดสมจริงระดับ High-Definition ได้นั้น คุณต้องมีโทรทัศน์ HD-TV รุ่นใหม่ที่รองรับการเชื่อมต่อผ่าน HDMI (High Definition Multimedia Interface) แถมยังต้องเสี่ยงเลือกซื้อเครื่องเล่นจากค่ายใดค่ายหนึ่ง และยังต้องคอยระมัดระวังเวลาซื้อแผ่นหนังให้ตรงกับชนิดของเครื่องเล่นอีก ที่สำคัญราคาของแผ่นหนังฟอร์แมตใหม่นั้นยังมีราคาค่อนข้างสูง ซึ่งอาจยังไม่คุ้มนักหากไม่ได้เป็นคนที่รักการชมภาพยนตร์แบบจริงจัง อีกหนึ่งประเด็นที่สำคัญก็คือ เทคโนโลยีใหม่ทั้งสองประเภทนั้นมาพร้อมกับการปกป้องลิขสิทธิ์แบบเข้มงวดมาก ตั้งแต่การเชื่อมต่อแบบ HDMI ซึ่งรองรับการเข้ารหัสปกป้องลิขสิทธิ์ ไปจนถึงการใช้เทคโนโลยี AACS ที่ทำให้แผ่นเหล่านี้ไม่สามารถเล่นกับซอฟต์แวร์ฟรีบนพีซีได้อย่างสะดวก หากใครนิยมแผ่นผีซีดีเถื่อนละก็ต้องเตรียมตัวผิดหวังไว้ได้เลยล่ะ.. ถ้าชอบดูหนัง .. ก็คงต้องเลือก Blu-ray เพราะมีค่ายหนังดังสนับสนุนเพียบ แต่ถ้าชอบความคุ้มค่าราคาประหยัดกว่า ก็คงต้องเป็น HD-DVD..... แต่ถ้าจะให้ดีที่สุด อย่าเพิ่งซื้อ รออีกซักนิดจนกว่าทิศทางในตลาดจะชัดเจนรับรองว่ายังไม่สายเกินไป!!
สินค้า HD-DVD และ Blue-ray ของแต่ละบริษัท/แต่ละรุ่น
เครื่องเล่นบลูเรย์รุ่นแรก
1. โซนี่ เพลย์สเตชัน 3
เพลย์สเตชัน3PlayStation 3
ผู้ผลิต
โซนีคอมพิวเตอร์เอ็นเตอร์เทนเมนต์
ชนิด
เครื่องเล่นวีดีโอเกม
ยุค
ยุคที่ 7
ออกจำหน่าย
11พฤศจิกายน2549(JP)17พฤศจิกายน2549(NA)7 มีนาคม 2550 (EU)
ซีพียู
3.2 GHz PPC Cell with 7 3.2 GHz SPEs
สื่อที่ใช้
บลูเรย์(BD)ดีวีดี(DVD)ซีดี(CD)เอสเอซีดี (SACD)
การเล่นออนไลน์
PlayStation Network Platform (PNP)
รุ่นก่อนหน้า
เพลย์สเตชัน 2
เพลย์สเตชัน 3 (PlayStation 3, プレイステーション 3) ตัวย่อ PS3 เป็นเครื่องเล่นวิดีโอเกมตระกูลเพลย์สเตชันรุ่นที่ 3 ของบริษัท โซนี่คอมพิวเตอร์เอ็นเตอร์เทนเมนต์ ถือเป็นเครื่องเล่นวีดีโอเกมยุคที่ 7 ตัวเครื่องมีขนาด 12.8×3.9×10.8 นิ้ว (32.5×9.8×27.4 เซนติเมตร) ตัวเครื่องมีอย่างน้อย 3 สีให้เลือก คือสีดำ, สีขาว, และสีเงิน ตัวเครื่องที่ขายจะมีตัวเลือก 2 แบบที่แตกต่างกันในเรื่องของความจุฮาร์ดไดรฟ์ และช่องสัญญาณต่างๆ ขณะนี้ได้ออกวางจำหน่ายแล้ว โดยออกวางตลาดที่ประเทศญี่ปุ่นเป็นที่แรก ในวันที่ 11 พ.ย. พ.ศ. 2549 ส่วนประเทศอื่นๆ วางตลาดในวันที่ 17 พฤศจิกายน โดยราคาอยู่ที่ US$499 (฿19,000) ในรุ่น 20 GB. และ US$599(฿23,000) สำหรับรุ่น 60 GB. การออกแบบตัวเครื่องจะดูเรียบง่าย ทันสมัย มีรูปทรงโค้งมน น้ำหนักประมาณ 11 ปอนด์ (5 กิโลกรัม) ซึ่งหนักกว่า Xbox 360 ซึ่งราคาจำหน่ายในไทยสัปดาห์แรกหลังจากที่ออกขายที่ญี่ปุ่น ราคาอยู่ที่ประมาณ 38,000 บาท
ในวันที่ 18 สิงหาคม 2549 โซนีได้ประกาศว่ามีโครงการ folding@home ร่วมกับทางนักวิจัยที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดในการใช้เครื่องเพลย์สเตชัน 3 เป็นเครื่องมือช่วยในการคำนวณผลการทดลองในทางการแพทย์ [1]
การจัดระบบภายใน
ล่าสุด โซนี่กล่าวว่า เพลย์สเตชัน 3 จะจัดมาใน 2 รูปแบบที่แตกต่างกัน โดยในรุ่นพิเศษ (Premium) จะมาพร้อมกับฮาร์ดไดรฟ์แบบอัพเกรดได้ขนาด 60 GB, การเชื่อมต่อไร้สายแบบ Wi-Fi, ช่องต่อ HDMI 1.3, และตัวอ่านการ์ดภายใน
โครงสร้างระบบ
โครงสร้างระบบ
รุ่น
พื้นฐาน
พิเศษ
ฮาร์ดไดรฟ์แบบอัพเกรดได้
มี 20 GB
มี 60 GB
บลูเรย์ ไดรฟ์
มี
มี
คอนโทรลเลอร์ไร้สายระบบบลูทูธ
มี
มี
ข่องต่อ HDMI
มี
มี
ตัวอ่านการ์ดภายใน
ไม่มี
มี
ระบบเชื่อมต่อWi-Fi
ไม่มี
มี
ขอบและโลโก้สีเงิน
ไม่มี
มี
เครื่องพีเอส 3 แสดงส่วนโค้งแบบใหม่
และในรุ่น "พื้นฐาน" (Basic) จะมาพร้อมกับฮาร์ดไดรฟ์ขนาด 20 GB แต่ไม่มีระบบ Wi-Fi, HDMI, ตัวอ่านการ์ด แต่ก็สามารถเพิ่มระบบ Wi-Fi และตัวอ่านการ์ดสามารถตอเพิ่มจากภายนอกได้ โดย ปัญหาของรุ่น 20 GB จะเกิดกับการแสดงผลวีดีโอความละเอียดสูง หรือ บรู-เรย์ วีดีโอ ซึ่งความละเอียดจะถูกจำกัดไว้ที่ 960x540 พิกเซล (ละเอียดกว่า ระบบ NTSC 50% และ 32% ของระบบ PAL)
ความสามารถในการเล่นอุปกรณ์รุ่นก่อนหน้า
ทางโซนี่ได้กล่าวมาว่าเครื่องเพลย์สเตชัน 3 สามารถเล่นเกม เพลย์สเตชัน 1 และ 2 ที่ผ่านมาตรฐานของระบบ Technical Requirements Checklist โดยทางประธาน เคน คุตะระงิ ได้กล่าวไว้ว่าอาจมีหลายเกมที่ไม่ผ่านมาตรฐานนี้
สำหรับเมโมรีการ์ด ทางเครื่องเพลย์สเตชัน 3 ไม่มีช่องสำหรับใช้แต่อย่างใด แต่จะมีอแดปเตอร์เสริมสำหรับการนำข้อมูลจากเมโมรีการ์ดมาเซฟเก็บไว้ในฮาร์ดดิสก์ นอกจากนี้เพลย์สเตชัน 3 ยังคงนำเมโมรีสติกมาเซฟข้อมูลของ รุ่น 1 และ 2 ได้
เกมที่ลงเครื่อง เพลย์สเตชัน 3
ได้มีหลายบริษัทได้ประกาศรายชื่อเกมที่จะลงเครื่อง รุ่น 3 ซึ่งบางส่วนได้แก่
Resident Evil 5 (แคปคอม)
WWE SmackDown! vs. RAW 2008 (ที เฮช คิว)
แกรนด์ เธฟต์ ออโต 4 (ร็อกสตาร์)
แกรนทัวริสโม (โพลีโฟนี)
คาสเซิลเวเนีย (โคนามิ)
โซลคาลิเบอร์ (แคปคอม)
บอมเมอร์แมน (ฮัดสัน)
ไบโอฮาซาร์ด (แคปคอม)
ดราก้อนบอล (บันได)
เดวิลเมย์คราย (แคปคอม)
ไดแนสตีวอรีเออร์ (โคเอ)
เทคเคน (แนมโค)
ไฟนอลแฟนตาซี XIII (สแควร์เอนิกซ์)
วินนิงอีเลฟเวน (โคนามิ)
เอปเอสเคป (โซนี)
โซนิค เดอะเฮดจ์ฮ็อก(2006) (เซก้า)
บริการออนไลน์
ด้วยความสำเร็จของบริการเอ็กซ์บ็อกซ์ ไลฟ์ ของไมโครซอฟท์ โซนี่จึงได้เปิดบริการออนไลน์ของโซนี่คือ เพลย์สเตชัน เน็ตเวิร์กแพลตฟอร์ม (PlayStation Network Platform ตัวย่อ PSNP) โดยจะให้บริการฟรีสำหรับการเล่นหลายคนผ่านเครือข่าย
ระบบปฏิบัติการและอินเตอร์เฟส
เพลย์สเตชัน 3 จะใช้อินเตอร์เฟสชื่อว่า "ครอส มีเดีย บาร์" (Cross Media Bar : XMB) ซึ่งเป็นอินเตอร์เฟสระบบเดียวกับ เพลย์สเตชัน พอร์เทเบิล ซึ่งสำหรับเพลย์สเตชัน 3 อินเตอร์เฟสนี่จะแบ่งโหมดการทำงานตามสื่อต่างๆ เช่น เพลง วีดีโอ อินเทอร์เน็ต เกม รายชือเพื่อน (Friend List) พร้อมสามารถแบ่งบัญชีผู้ใช้ได้ สามารถใช้งานร่วมกับ คีย์บอร์ดและเม้าส์ที่รองรับผ่านช่อง USB เพื่อความสะดวกในการท่องอินเทอร์เน็ตและพูดคุยกับเพื่อนผ่านระบบ การพิมพ์ ภาพ และเสียง
- ระบบปฏิบัติการ
เป็นที่รับรองแล้วว่า เพลย์สเตชัน 3 จะมาพร้อมระบบปฏิบัติการ ลีนุกซ์ ซึ่งโซนี่หวังจะให้เพลย์สเตชัน 3 ทำงานแทนอุปกรณ์บางชิ้นในบ้านได้
ปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลว่าเพลย์สเตชัน 3 จะใช้ ลีนุกซ์ เป็นระบบปฏิบัติการเดี่ยว หรือจะสามารถเลือกบู๊ตได้ 2 แบบจาก XMB
สเป็กเครื่องและส่วนประกอบ
รายละเอียดนี้เป็นข้อมูลจากการเปิดเผลของโซนี่ในงาน อี3 (E³ : [[Electronic Entertainment Expo]])
หน่วยประมวลผลกลาง (ซีพียู)
- 3.2 GHz PowerPC "Cell Processor" 1 ตัว ที่เป็น "Power Processing Element : PPE" และ "Synergystic Processing Elements : SPEs" ความเร็ว 3.2 GHz จำนวน 7 ตัว มีความจำแคช L2 ขนาด 512Kb
หน่วยประมวลผลกราฟิก (จีพียู)
พัฒนาขึ้นโดย nVidia โดยให้ชื่อว่า "Reality Syntheziser"
พัฒนาขึ้นบนพื้นฐานของโครงสร้าง NVIDIA NV47
ความเร็วสัญญาณนาฬิกา 550 MHz.
ความจำแบบ 128 บิต
211.2 GFLOPS แบบโปรแกรมได้ สูงสุด 1.8 TFLOPS
136 shader operations per clock ( * 550 Mhz = 74.8 billion / second, 1 แสนล้าน with CPU)
24 2D texture lookups per clock ( * 550 Mhz = 13.2 billion / second)
33 billion dot products per second (51 billion dot products with CPU)
128-bit pixel precision offers rendering of scenes with High dynamic range rendering
หน่วยความจำ
ทั้งหมด 512 MB แบ่งเป็น
-256 MB Rambus XDR DRAM ความเร็ว 3.2 เท่ากับซีพียู
-256 MB GDDR3 VRAM ความเร็วสัญญาณนาฬิกา 700 MHz
System Bandwidth
-204.8 GB/s Cell Element Interconnect Bus (Theoretical peak performance)
-Cell FlexIO Bus: 35 GB/s outbound, 25 GB/s inbound (7 outbound and 5 inbound 1Byte wide -channels operating at 5 GHz) (effective bandwidth typically 50-80% of total)
-51.2 GB/s SPE to local store
-Experimental Sustained bandwidth for some SPE-to-SPE DMA transfers - 78 to 197 GB/s.
-25.6 GB/s to Main Ram XDR DRAM: 64 bits × 3.2 GHz / 8 bits to a byte
-22.4 GB/s to GDDR3 VRAM: 128 bits × 700 MHz × 2 accesses per clock cycle (one per edge) / 8 bits to a byte
-RSX 20 GB/s (write), 15 GB/s (read)
-System Bus (separate from XIO controller) 2.5 GB/s write and 2.5 GB/s read
-อินเตอร์เฟส
วีดีโอ
-แบบ Composite (หัวสีเหลือง แบบ RCA)
-แบบ S-Video (แยกระหว่างสัญญาณภาพและแสง)
-แบบ Component Video (หัวแบบ RCA สีแดง น้ำเงิน และเขียว) ความละเอียดสูงสุด 1080p
-แบบ HDMI 1.3 (สัญญาณดิจิตอล เฉพาะรุ่น "พิเศษ" เท่านั้น)
ขนาดภาพ (กว้าง*ยาว)
สัดส่วนภาพ
เมกะพิกเซลล์
ระบบ
ช่องต่อ (RGB ผ่าน ช่องต่อ VGA หรือ SCART)
720x480 แบบไขว้กัน
4:3
0.31 แบบไขว้กัน
480i
Composite video / S-Video / Component video / RGBHV / RGB-SCART
720x480
4:3
0.31
VGA / 480p
Component video / RGBHV
1280x720
16:9
0.92
720p
Component video / RGBHV
1920x1080 แบบไขว้กัน
16:9
2.07 แบบไขว้กัน
1080i
1920x1080 แบบเส้นตรง
16:9
2.07
1080p
Component video / HDMI
เสียง
-S/PDIF เป็นช่องต่อแบบ ออพติคอล แบ่งสัญญาณมากที่สุดที่ 7.1 ช่อง
-Dolby TrueHD โดยใช้ร่วมกับอุปกรณ์ที่รองรับ
-DTS-HD
-LPCM ประมวลผลโดยระบบประมวลผลกลาง
การเชื่อมต่อ/สื่อสาร
-Gigabit Ethernet 1 พอร์ต
-USB 4 พอร์ต
-บลูทูธ 2.0 พร้อม EDR
การเก็บข้อมูล
แบบออพติคอล
-บลูเรย์ (ความเร็ว 2x = 9MB/s) เพลย์สเตชัน 3 BD-ROM, BD-Video, BD-R/RE
-ดีวีดี (ความเร็ว 8x = 11MB/s) เพลย์สเตชัน 2 DVD-ROM, DVD-Video, DVD ± R/RW
-ซีดี (ความเร็ว 24x = 3.5MB/s) เพลย์สเตชัน CD-ROM, เพลย์สเตชัน 2 CD-ROM, CD-DA, CD-DA (ROM), CD-R, CD-RW
-เอสเอซีดี (2x)
-ฮาร์ดไดรฟ์ แบบอัพเกรดได้ 2 ความจุ คือ 20 และ 60GB ขนาด 2.5 นิ้ว พร้อมติดตั้ง ลีนุกซ์-เมมโมรี่แบบการ์ด (เฉพาะรุ่น "พิเศษ") อ่าน Memory Stick, SD&MMC, CompactFlash.
คอนโทรลเลอร์
คอนโทรลเลอร์แบบล่าสุด รูปร่างคล้าย Dualshock 2 เดิมมากหลังจากเปิดตัวคอนโทรลเลอร์รูปทรงคล้าย บูมเมอแรง หรือ กล้วยหอม ในงาน E3 2005 มีเสียงปฏิเสธอย่างหนาหู ทำให้โซนี่ยกเลิกรูปแบบคอนโทรลเลอร์นี้และหันกลับมาใช้แบบ Dualshock 2 เดิม โดยเพิ่มระบบไร้สาย เพิ่มประสิทธิภาพของการวัดแรงกดของปุ่มต่างๆ ทำรูปทรงปุ่ม L2 และ R2 คล้ายไกปืนมากขึ้น เพิ่มปุ่มกลางคอนโทรลเลอร์ (คล้ายกับ Xbox 360) และมีช่องต่อ B-type USB เพื่อใช้ในการชาร์จแบตและเล่นแบบต่อสาย มีไฟ 4 ดวงพร้อมตัวเลขแสดงการเชื่อมต่อกับตัวเครื่องเมื่อต่อพร้อมกัน 4 ตัว มีระบบจับการเคลื่อนไหว ซึ่งทั้งหมดนี้ทำให้ต้องตัดระบบสั่นออกเพื่อป้องกันการก่อกวน
ข้อมูลเพิ่มเติม
เคน คุตะระงิ กล่าวว่า เพลย์สเตชัน 3 จะใช้ระบบลดอุณหภูมิด้วยท่อนำความร้อน และไม่ใช้ระบบของเหลว เพื่อให้เครื่องทำงานเงียบเทียบเท่าเพลย์สเตชัน 2 ตัวเล็ก
คอนโทรลเลอร์แบบ "บูมเมอแรง" ได้ถูกยกเลิกไป
ปัญหาของเครื่อง เพลย์สเตชัน 3
เครื่องเพลย์สเตชัน 3 ยังมีคนเรียกร้องว่า "คอนโทรลเลอร์" ของเพลย์สเตชัน 3 ยังมีปัญหาอยู่ ปัญหานั้นก็คือ สัญญาณกวนคอนโทรลเลอร์ ทำให้การเล่นเกมส์ของเพลย์สเตชัน 3 มีผลเสียไปด้วย ปัจจุบันเพลย์สเตชัน 3 ไม่ค่อยได้รับความนิยมมากเท่าไร และทางบริษัทโซนี่ของประเทศไทยก็ยังไม่ได้นำเพลย์สเตชัน 3 เข้ามาจำหน่ายเลย เพราะเนื่องจากปัญหาของคอนโทรลเลอร์ที่ยังมีปัญหาสัญญาณกวนอยู่ ทางบริษัทโซนี่ของต่างประเทศก็กำลังจะปรับปรุงระบบ คอนโทรลเลอร์ ของเพลย์สเตชัน 3 เพื่อไม่ให้มีปัญหาสัญญาณกวน
อ้างอิง
↑ ข่าวโซนีและ folding@home จาก ซีเอ็นเอ็น (อังกฤษ)
เครื่องเล่นวิดีโอเกมที่นิยมในแต่ละยุค
ยุคหนึ่ง
โคเลโคเทลสตาร์ - ป็อง - แม็กนาวอกซ์โอดีสซี
ยุคสอง
แชนนอลเอฟ - อาตาริ 2600 - อินเทลลิวิชัน
ยุคสาม
แฟมิคอม - มาสเตอร์ซิสเตม - อาตาริ 7800
ยุคสี่
ซูเปอร์แฟมิคอม - นีโอจีโอ - เมก้าไดรฟ์
ยุคห้า
3DO - จากัวร์ - แซทเทิร์น - นินเทนโด 64 - เพลย์สเตชัน
ยุคหก
เกมคิวบ์ - ดรีมแคสต์ - เพลย์สเตชัน 2 - เอกซ์บอกซ์
ยุคเจ็ด
เพลย์สเตชัน 3 - วี - เอกซ์บอกซ์ 360
2. โซนี่
โซนี่ รุ่น BDP-S1
บริษัทโซนี่คอร์เปอเรชัน (Sony Corporation, ソニー株式会社, Sonī Kabushiki-gaisha) เป็นเครือบริษัทเกี่ยวกับสื่อขนาดใหญ่ของโลก ก่อตั้งที่เมืองโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น โดยบริษัทลูกคือ โซนี่ อิเล็กทรอนิกส์ เป็นผู้นำในด้านการผลิตอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับวิดีโอ การสื่อสาร และเทคโนโลยีสารสนเทศ
//
ชื่อบริษัท
ชื่อ "โซนี่" (Sony) เกิดจากการผสมของคำว่า "Sonus" (ภาษาละตินความหมายคือ เสียง), "Sunny" (อากาศดีในภาษาอังกฤษ) และ "Sonny-boys" ซึ่งเป็นศัพท์แสลงในภาษาญี่ปุ่น
ผลิตภัณฑ์ที่สำคัญของโซนี่
ค.ศ. 1950-ค.ศ. 1959
-Reel-to-reel tape recorders (1950-??)
-Transistor radios (1955-)
ค.ศ. 1960-ค.ศ. 1969
-Portapak (1967-)
-Trinitron (1968-)
ค.ศ. 1970-ค.ศ. 1979
-U-matic (1971-1983)
-Betamax* (1975-1988)
-Elcaset (1976-1980)
-STR Series of AV receivers (197X-present)
-Walkman (1979-)
-ICF-7600 Series of Shortwave Radios (1979-)
ค.ศ. 1980-ค.ศ. 1989
-MD Walkman
-Mavica (1981-??)
-Betacam* (1982-)
-Compact Disc (1982-)
-Watchman (1982-)
-3½" diskette (1983-)
-Discman (1984-)
-Handycam (1985-)
-Video8 (1985-??)
-ICF-2010 Longwave/AM/Shortwave/FM/Air Band Receiver (1985-2003)
-NEWS (1987-??)
-D2 (1988-)
-Hi8 (1989-)
-Video Walkman (1989-)
ค.ศ. 1990-ค.ศ. 1999
-The PlayStation 2
-NT (1991-??)
-MiniDisc* (1992-)
-PlayStation (later PS one) (1994-2004)
-Magic Link (1994-1997)
-DV (1995-)
-MiniDV (1995-)
-Cyber-shot (1996-)
-Digital8* (1999-)
-FD Trinitron (1996-)
-VAIO (1997-)
-Digital Mavica (1997-)
-Ruvi (1998-1999)
-Memory Stick* (1998-)
-HiFD (1998-2001)
-Super Audio CD (1998-)
-Aibo (1999-2006)
ค.ศ. 2000-ปัจจุบัน
-Playstation 3
-CLIÉ (2000-2005)
-ImageStation (2000-)
-PlayStation 2 (2000-)
-MicroMV (2002-)
-SonicStage (2002-)
-HDV (2003-)
-Qualia (2003-2006)
-Blu-ray Disc (2006-)
-PSX (2003-)
-Qrio (2003-)
-Connect (2004-)
-PlayStation Portable (2004-)
-Universal Media Disc (UMD)* (2004-) (2005 UK-)
-Librie (2004-)
-LocationFree Player (2004-)
-Cellular Walkman (2005-)
-BRAVIA (2005-)
-PlayStation 3 (November 2006)
-Sony α Digital SLR Cameras (Summer 2006)
3. ซัมซุง รุ่น BD-P1000
ซัมซุง (Samsung) (삼성, , ฮันจา: 三星, , MC: Samseong, , MR: Samsŏng ?, ภาษาเกาหลีอ่านว่า ซัม-ซอง) เป็นชื่อกลุ่มบริษัทแห่งหนึ่งจากประเทศเกาหลีใต้ สำนักงานใหญ่อยู่ที่โซล ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2493 โดย Lee Byung-Chul
ชื่อซัมซุงในภาษาเกาหลีมีความหมายว่า "สามดาว"
4. พานาโซนิค รุ่น DMP-BD10
5. ไพโอเนียร์ รุ่น BDP-HD1
6. ฟิลิปส์ รุ่น BDP9000
7. ชาร์ป รุ่น DV-BP1
8. แอลจี รุ่น BD100
9. ไลท์-ออน รุ่น BDP-X1
Blu-ray players
1.Sony BDP-S300 Blu-ray Player
Release
Now available (US)
Pricing
$499.90
Buy
Amazon Technical data
2.Samsung BD-P1200 Blu-ray Player
Release
Now available (US)
Pricing
$636.99 (subject to change)
Buy
Amazon Technical data
3.Sony PlayStation 3 Blu-ray Player
Release
Now available (US, Japan), March 2007 (Europe)
Pricing
US $499, EU €499
Buy
Amazon (60GB) Amazon (20GB) Technical data
4.Sony BDP-S1 Blu-ray Player
Release
Now available (US)
Pricing
$748.87 (subject to change)
Buy
Amazon Technical data
5.Samsung BD-P1000 Blu-ray Player
Release
Now available (US), October 2006 (Europe)
Pricing
$508.68 (subject to change)
Buy
Amazon Technical data
6.Panasonic DMP-BD10 Blu-ray Player
Release
Now available (US), October 2006 (Canada), Autumn 2006 (Europe)
Pricing
$878.00 (subject to change)
Buy
Amazon Technical data
7.Pioneer BDP-HD1 Blu-ray Player
Release
Now available (US)
Pricing
$1,499.80 (high-end model, subject to change)
Buy
Amazon Technical data
8.Pioneer BDP-LX70 Blu-ray Player
Release
June (Europe)
Pricing
-
Buy
Technical data
9.Pioneer BDP-94HD Blu-ray Player
Release
-
Pricing
$999.00 (subject to change)
Buy
Technical data
10.Philips BDP9000 Blu-ray Player
Release
Now available (US), Early 2007 (Europe)
Pricing
$549.99 (subject to change)
Buy
Amazon Technical data
11.LG BH100 Hybrid Blu-ray/HD-DVD Player
Release
Now available (US)
Pricing
$1,099.00
Buy
Amazon Technical data
12.Sharp DV-BP1 Blu-ray Player
Release
Q2 2007 (US)
Pricing
-
13.LG BD100 Blu-ray Player
Release
-
Pricing
-
14.Lite-On BDP-X1 Blu-ray Player
Release
-
Pricing
-
15.Mitsubishi Blu-ray Player
Release
-
Pricing
-
Blu-ray Player
HD DVD Player
Blu-ray Disc และ HD DVD Disc
HD DVD Player
HD DVD Player
Blue-ray Disc
Blu-ray Player
Blu-ray Player
Blu-ray Disc และ HD DVD Disc
HD DVD Disc
Blu-ray Disc และ HD DVD Disc
ประโยชน์ที่มีต่อสังคม
สำหรับคนที่เฝ้าติดตามความเคลื่อนไหว วงการบันเทิงในห้องนั่งเล่นที่บ้านแล้ว ประวัติศาสตร์ของฟอร์แมต การเอ็นโค้ดข้อมูลน่าจะเป็นเรื่องที่น่าสนใจที่สุด ผู้ผลิตที่ต้องการนำผลิตภัณฑ์เพลง และภาพยนตร์ของตน เข้าสู่บ้านของผู้บริโภคให้ได้นั้น พวกเขาจะต้องคิดค้นสื่อที่สามารถเก็บเพลง และภาพยนตร์เหล่านั้นในสภาพที่เหมือนจริงมากที่สุด นั่นเป็นที่มาของเทคโนโลยีตั้งแต่ไวนิล, เทปคาสเซตต์, เบต้าแมกซ์, วีเอชเอส, ซีดี มาจนถึงดีวีดีที่ปัจจุบันใช้กันอย่างแพร่หลายมากขึ้นเรื่อยๆ จนทำให้ชั้นเก็บของข้างโทรทัศน์ที่บ้านเต็มไปด้วยแผ่นพลาสติก และแถบแม่เหล็กมากมาย
ล่าสุด เทคโนโลยีใหม่ที่นำมาเสนอเพื่อความบันเทิงภายในบ้าน ก็คือ วิดีโอความคมชัดสูง หรือ High Definition Video เทคโนโลยีใหม่นี้เพิ่มจำนวนของพิกเซลหรือความละเอียดของภาพให้เพิ่มขึ้น ซึ่งทำให้ได้ภาพบนหน้าจอที่คมชัดมากขึ้น และเนื่องจาก ภาพความคมชัดสูงนี้เก็บข้อมูลภาพที่ละเอียดขึ้นทำให้ภาพยนตร์ความคมชัดสูงต้องการพื้นที่ในการจัดเก็บสูงมากขึ้นด้วยและมากกว่าที่แผ่นดีวีดีทั่วๆ ไปสามารถจัดเก็บได้
ซีบิตจุดพลุรถอิเล็กทรอนิกส์‘บลูเรย์’ตั้งเป้า3ปี
กลุ่มผู้ผลิตชิปอิเล็กทรอนิกส์อย่างอินเทลและอินฟินิออนเทคโนโลยีส์เอจี ยืดพื้นที่งานซีบิตประกาศความร่วมมือกับบริษัทค่ายรถอย่างบีเอ็มดับเบิลยูและฮุนไดมอเตอร์ ผนึกกำลังพัฒนาระบบอิเล็กทรอนิกส์สำหรับใช้ในรถยนต์ยุคหน้า ด้านสมาคมผู้สนับสนุนเทคโนโลยีบลูเรย์ดิสก์ ประกาศเป้าหมายเข้ามาแทนที่สื่อเก็บข้อมูลยอดนิยมอย่างดีวีดีให้ได้ภายใน 3 ปี
ภาพยนตร์ที่ออกใหม่ทำให้ต้องมีการผลิตสินค้าอีเล็คทรอนิคส์หลายทางเลือกสำหรับผู้บริโภคสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งได้แก่ ผลิตภัณฑ์ทางด้านเกมส์ และคอมพิวเตอร์ สมาคม บลู-เรย์ ดิสก์ หรือ บีดีเอ (The Blue-Ray Disk Association - BDA) แถลงข่าวในวันนี้ว่า บริษัท วอลท์ ดิสนีย์ (NYSE:DIS) จะเข้าร่วมเป็นสมาชิกของคณะกรรมการบริหารของบีดีเอ และจะเริ่มเผยแพร่เนื้อหาที่ไม่มีการผูกขาดในรูปแบบของบลู-เรย์ ดิสก์ เมื่อมีการเปิดตัวฮาร์ดแวร์บลู-เรย์ในอเมริกาเหนือและญี่ปุ่นแล้ว และด้วยการพัฒนาที่ไม่หยุดยั้งเช่นนี้ จึงทำให้ดิสนีย์เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มสินค้าอีเล็คทรอนิคส์, ผลิตภัณฑ์ทางด้านไอที, บริษัทผู้ผลิตเกมและข้อมูลซึ่งมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นและยังสนับสนุนการทำงานในรูปแบบนี้ การตัดสินใจครั้งนี้จะสามารถทำให้ผู้บริโภคเกิดความเพลิดเพลินไปกับภาพยนตร์ใหม่ๆ ที่ได้รับความนิยมและภาพยนตร์คลาสสิกในรูปแบบบลู-เรย์ ดิสก์ จากกลุ่มบัวน่า วิสต้า โฮม เอนเตอร์เทนเมนต์ ของวอลท์ นิสนีย์ โดย บัวน่า วิสต้า โฮม เอนเตอร์เทนเมนต์ประกอบด้วยวอลท์ ดิสนีย์ โฮม เอนเตอร์เทนเมนท์, ฮอลลีวู้ด พิคเจอร์ โฮม วีดิโอ, ทัชสโตน โฮม เอนเตอร์เทนเมนต์, มิราแม็กซ์ โฮม เอนเตอร์เทนเมนต์, ไดเมนชั่น โฮม วิดีโอ และดิสนีย์ ดีวีดี “ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยและการสนับสนุนอย่างกว้างขวางจากผู้นำทั่วทุกมุมโลกในด้านกลุ่มสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้า, ไอที, และกลุ่มอุตสาหกรรมผู้ผลิตเกมส์ บลู-เรย์ ดิสก์ เป็นรูปแบบในอุดมคติสำหรับบริษัทผลิตรายการแห่งความบันเทิง อย่าง ดิสนีย์” มัวรีน เวบเบอร์ ผู้จัดการทั่วไปกลุ่มธุรกิจโซลูชั่นการเก็บข้อมูลแบบออปติคอล ฮิวเล็ต แพ็คการ์ดกล่าว “ทางบีดีเอรู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ดิสนีย์ให้การสนับสนุนบลู-เรย์ ดิสก์ และเรารู้สึกตื่นเต้นที่สามารถดึงผลงานความบันเทิงที่จำนวนมากของดิสนีย์มาใช้” ด้านปีเตอร์ เมอร์ฟี่ รองประธานผู้บริหารอาวุโส และประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายวางแผนกลยุทธ์ของบริษัทวอลท์ดิสนีย์กล่าวว่า“ดิสนีย์ยินดีที่ได้ร่วมงานกับบีดีเอ” “เราเชื่อว่าผลงานของแบรนด์ที่ขึ้นชื่อและเนื้อหาที่รวมเข้ากับเทคโนโลยีบลู-เรย์ของเราจะเป็นก้าวสำคัญของการนำเสนอข้อมูลให้กับผู้บริโภคที่นิยมระบบไฮไฟ เราตั้งหน้าตั้งตารอที่จะเพิ่มความเชี่ยวชาญด้านการตลาดและเทคนิกให้กับบลู-เรย์ กรุ๊ป” นายเมอร์ฟีกล่าว
วิเคราะห์- เจาะลึก
ซัมซุงเลือกเดินทางสายกลาง สนับสนุนทั้ง Blue-ray และ HD DVD
Submitted by inferno hellion on 17 April, 2007 - 03:40. tags:
Blue-ray
HD DVD
Samsung
ซัมซุง หนึ่งในบริษัทผู้พัฒนา Blu-ray Disc นั้นได้ออกมาประกาศว่าจะสนับสนุน HD DVD ด้วย โดยการประกาศครั้งนี้ซัมซุงอ้างว่าบริษัทต้องการที่จะผลิตเครื่องเล่นที่สนับสนุนทั้งสองฟอร์แมทคล้าย ๆ กับ LG แม้ว่าในขณะนี้ Blu-ray ขายดีกว่า HD DVD มาก
HD DVD นั้นมีค่ายหนังใหญ่สามค่ายคอยสนับสนุนอยู่ ได้แก่ Universal Studios, Warner Bros. และ Paramount Pictures ในขณะที่ 20th Century Fox, Walt Disney Pictures และ Sony Pictures ที่สนับสนุน Blu-ray แต่ที่จริงแล้ว Warner Bros. และ Paramount ก็สนับสนุน Blu-ray เช่นกัน
การตัดสินใจของซัมซุงครั้งนี้ทำให้ Craig Kornblau ประธานของ Universal Studios Home Entertainment ยิ้มออกทันที โดยเขาได้กล่าวทิ้งท้ายว่า "HD DVD มองตลาดที่มีต้นทุนต่ำกว่า และเมื่อก่อน DVD ก็ไม่ดังจนกว่าผู้ผลิตในจีนเข้ามามีส่วน..."
Any DVD HD เตรียมวางตลาด
Submitted by lew on 15 February, 2007 - 10:47. tags:
Blue-ray
HD DVD
หลังจากที่โดนแฮกจนหมดเปลือกไปเรียบร้อย บริษัทซอฟต์แวร์ก็เริ่มวางตลาดกันอย่างรวดเร็ว เพราะแน่นอนว่าธุรกิจนี้ความเร็วสร้างความได้เปรียบมหาศาล งานนี้บริษัทที่เข้าวินคือ Sly Soft ผู้ผลิตโปรแกรม Clone DVD ที่หลายๆ คนคงรู้จักกันเป็นอย่างดี
ตอนนี้โปรแกรม Any DVD HD 6.1.2.0 ที่รองรับแผ่น HD นี้ยังอยู่ในช่วงเบต้าและกำลังแจกฟรี แต่ต้องลงทะเบียนคนทดสอบก่อน
ที่สำคัญคือมันใช้งานกับไดร์ฟ HD DVD สำหรับ Xbox ได้ด้วย...!
ยอดขาย Blu-ray เพิ่มขึ้นเร็วกว่า HD DVD ถึงสามเท่าตัว
Submitted by lew on 5 February, 2007 - 22:18. tags:
Blue-ray
HD DVD
ผลการสำรวจล่าสุดจาก Videos can รายงานถึงยอดขายภาพยนตร์เปรียบเทียบกันระหว่าง HD DVD และ Blue-ray พบว่าในช่วงตั้งแต่วันที่ 8 ถึง 14 มกราคมที่ผ่านมาปริมาณแผ่น Blue-ray มียอดขายสูงกว่าเกือบสามเท่าตัว แม้ว่ายอดขายรวมนับแต่เริ่มวางตลาดนั้นฝั่ง HD DVD จะนำหน้าออกไปค่อนข้างไกลก็ตาม
ส่วนทางด้านเครื่องเล่นนั้น ปัจจุบันมีเครื่องเล่น HD DVD วางขายในสหรัฐฯ ไปแล้วประมาณ 175,000 เครื่อง ขณะที่ Blue-ray นั้นเมื่อรวมยอดเข้ากับ PS3 แล้วมียอดขายถึง 687,300 เครื่อง นับว่าน่าตระหนกทีเดียวสำหรับกลุ่มที่ซัพพอร์ต HD DVD อยู่ในตอนนี้
แน่นอนว่าสงครามตอนนี้ยังอยู่ในช่วงเริ่มต้นเท่านั้น แต่ด้วยแผนการอัดฉีดเครื่องเข้าสู่ตลาดผ่าน PS3 ของโซนี่ก็สร้างความได้เปรียบที่ทางฝั่ง HD DVD นั้นต้องทำการบ้านอีกนานกว่าจะตามทัน
ปัญหาหลักตอนนี้คือจอที่มันรองรับ 1080p นี่แพงเลยน่ะสิ
ตั้งเป้าบลูเรย์แทนดีวีดีภายใน3ปี ในงานซีบิต สมาคมผู้ผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่ให้การสนัลสนุนเทคโนโลยีบลูเรย์ดิสก์ (Blu-ray) ภาคพื้นยุโรปออกมาประกาศว่ากำหนดขอบเวลาให้บลูเรย์สามารถเข้ามาแทนสื่อเก็บข้อมูลดีวีดีไว้ที่3ปี "ภายในสามปี สื่อเก็บข้อมูลที่ได้รับความนิยมจะมีเพียงบลูเรย์" แฟรงค์ ซิโมนิส (Frank Simonis) ประธานสมาคมบลูเรย์ดิสก์ภาคพื้นยุโรปหรือ Blu-ray Disc Association European กล่าว เพราะความจุที่ไม่เพียงพอต่อความต้องการของอุตสาหกรรมความบันเทิงทำให้ทุกฝ่ายมองว่ากาลอวสานของสื่อเก็บข้อมูลดีวีดีกำลังจะมาถึง บลูเรย์นั้นเป็นหนึ่งในสองสื่อเก็บข้อมูลชนิดใหม่ที่คาดว่าจะมาแทนที่ดีวีดี ซึ่งที่ผ่านมามีการแข่งขันอย่างดุเดือดกับเทคโนโลยีเอชดี ดีวีดี (HD DVD) ที่เสนอตัวเป็นสื่อเก็บข้อมูลชนิดใหม่เช่นกัน โดยทั้งสองเทคโนโลยีมีความจุสำหรับเก็บข้อมูลมากกว่าแผ่นดีวีดีปัจจุบันราว5เท่าทำให้สามารถเก็บภาพกราฟิกสมจริงมากขึ้น การประกาศครั้งนี้เกิดขึ้นหลังจากการประกาศกำหนดการส่งเครื่องเล่นแผ่นบลูเรย์ดิสก์รุ่นใหม่ "BDP-S300" ลงตลาดช่วงกลางปีนี้ของโซนี่ ความพิเศษของเครื่องเล่นนี้คือราคาที่กำหนดไว้ที่ 599 เหรียญสหรัฐ ถูกกว่ารุ่นเครื่องเล่นบลูเรย์ BDP-S1 ที่มีฟีเจอร์เหมือนกันซึ่งวางขายในขณะนี้ถึง 400 เหรียญสหรัฐ การหั่นราคาเครื่องเล่นบลูเรย์ครั้งนี้ถูกนักวิเคราะห์มองว่าเป็นการตัดราคาเพื่อให้สามารถแข่งขันกับฟอร์แมตของคู่แข่งอย่างHD-DVDที่มีโตชิบาเป็นผู้นำทัพ ที่มา http://www.manager.co.th/Cyberbiz/ViewNews.aspx?NewsID=9500000030759]
Blu-ray เสียงตอบรับไม่ดีเท่า HD DVD
Submitted by mk on 8 December, 2006 - 12:54. tags:
Blue-ray
HD DVD
Storage
บริษัทวิเคราะห์ตลาดชื่อ Cymfony ได้สำรวจเสียงตอบรับของผู้บริโภคจากบล็อกและเว็บบอร์ดต่างๆ (ส่วนมากเป็นพวก Hi-Fi กับเกมเมอร์) ในช่วงสองเดือนที่ผ่านมา สรุปได้ว่า HD DVD ได้เสียงตอบรับเป็นบวกมากกว่า Blue-ray
เหตุผลหลักกลับไม่ใช่ประเด็นทางเทคนิค สาเหตุอันดับหนึ่งที่ไม่สนับสนุน Blue-ray คือ ไม่ชอบเป็นการส่วนตัว (26%) เพราะฟอร์แมตของโซนี่ในอดีต (Minidisk, Beta, ATRAC) และท่าทีของโซนี่เองที่ค่อนข้างหยิ่งในเรื่องนี้
อันดับสองคือการที่โซนี่รวม Blue-ray เข้ามาใน PS3 ทำให้เครื่อง+เกมแพงโดยใช่เหตุ (21%) และอันดับสามเรื่องสงครามฟอร์แมต (16%) คิดจะซื้อเครื่องเล่นแผ่นยุคใหม่ในช่วงนี้คงยังไม่เหมาะ น่าจะรออีกซักปีสองปี
TDK ประกาศพร้อมวางตลาดแผ่น Blu-ray
Submitted by lew on 11 April, 2006 - 22:38. tags:
Blue-ray
Digital Media
Hardware
สงครามแผ่นออปติคอลรุ่นต่อไประอุขึ้นเรื่อยๆ เมื่อค่าย Blue-ray อย่าง TDK ออกมาประกาศว่าพร้อมวางตลาดแผ่น BD-R ที่เขียนได้ครั้งเดียวที่ความจุ 25 กิกะไบต์ และแผ่น BD-RW ที่เขียนซ้ำได้ที่ความจุเดียวกัน โดยแผ่นทั้งสองจะวางจำหน่ายในราคา 19.99 และ 24.99 ดอลลาร์ตามลำดับ
งานนี้ทางด้าน HD-DVD รีบออกมาโต้ว่าแผ่นเขียนได้ความจุ 30 กิกะไบต์ก็กำลังวางตลาดในเร็วๆ นี้เช่นกัน ส่วนด้าน Blue-ray นั้นยังมีไม้เด็ดคือแผ่นแบบสองชั้นที่ให้ความจุถึง 50 กิกะไบต์ ซึ่งทาง TDK ระบุว่าจะวางขายกันในปลายปี เพราะเครื่องที่รองรับยังไม่มีออกมาจนกว่านะถึงช่วงนั้น
อาจจะขัดกับนโยบายเว็บที่ไม่สนับสนุนของเถื่อนสักหน่อย แต่ถ้าถามผม ฟอร์แมตที่อยู่รอดคือฟอร์แมตที่มีแผ่นก๊อปออกมาวางขายก่อน :p
ที่มา - TG Daily
คุณคิดว่าศึกระหว่าง Blue-ray กับ HD-DVD ใครจะไปได้ไกลกว่ากัน?
Blue-ray HD-DVD คู่คี่-สูสี ขึ้นกับแผนการตลาด ไม่สนใจทั้งคู่
คุณคิดว่าศึกระหว่าง Blue-ray กับ HD-DVD ใครจะไปได้ไกลกว่ากัน?
Blue-ray
(27.8%, 209 votes)
HD-DVD
(29.9%, 225 votes)
คู่คี่-สูสี
(14.2%, 107 votes)
ขึ้นกับแผนการตลาด
(15.7%, 118 votes)
ไม่สนใจทั้งคู่
(12.5%, 94 votes)
เทคโนโลยีวิดีโอความคมชัดสูงนี้มีด้วยกัน 2 รูปแบบด้วยกัน คือ
1. HD-DVD ของโตชิบา HD-DVD ถูกพัฒนาโดยโตชิบาและเอ็นอีซีเท่านั้น นั่นทำให้ผู้บริโภคมีทางเลือกในการนั่งดูหนังที่บ้านมากขึ้น โดยเป็นภาพยนตร์ความคมชัดสูงในระดับเดียวกับที่สามารถนั่งดูได้ที่มัลติเพล็กซ์
2. Blue-ray ของโซนี่ Blue-ray มีโซนี่เป็นแกนนำภายใต้การสนับสนุนจากบริษัทอีกหลายบริษัท เช่น มัตซึ ชิตะ (พานาโซนิค), ธอมสัน, แอลจี, ฟิลิปส์, ไพโอเนียร์, ชาร์ป และซัมซุง รวมถึงวงการคอมพิวเตอร์อย่างเดลล์และเอชพี ในขณะที่ HD-DVD ถูกพัฒนาโดยโตชิบาและเอ็นอีซีเท่านั้น นั่นทำให้ผู้บริโภคมีทางเลือกในการนั่งดูหนังที่บ้านมากขึ้น โดยเป็นภาพยนตร์ความคมชัดสูงในระดับเดียวกับที่สามารถนั่งดูได้ที่มัลติเพล็กซ์
ถ้ายังจำกันได้เมื่อหลายปีก่อนมีมาตรฐานของวิดีโอออกมาสองตัว คือ VHS และ Betamax ซึ่งในตอนนั้นผู้บริโภคจะต้อง ตัดสินใจเลือกหนึ่งในสองมาตรฐานนั้น หรือไม่ก็ต้องซื้อทั้งสองมาตรฐานเลย เพราะทั้งสองมาตรฐานไม่สามารถใช้ร่วมกันได้ นั่นหมายความว่า ถ้าผู้บริโภคเลือกทั้งสองมาตรฐานก็จะต้องซื้อเครื่องเล่นสองเครื่อง เทคโนโลยีวิดีโอความคมชัดสูงนี้ก็เช่นเดียวกัน โดย HD-DVD ได้รับการสนับสนุนจากโตชิบา และเอ็นอีซี ส่วน Blue-ray มีโซนี่หนุนหลัง อย่างไรก็ตาม เคยมีบทวิเคราะห์ก่อนหน้านี้ว่า สุดท้ายแล้วฮอลลีวูดคงจะต้องเลือกแค่เพียงมาตรฐานเดียว และมาตรฐานที่จะได้รับเลือก ก็จะเป็นมาตรฐานที่สามารถเก็บข้อมูลได้มากที่สุด ซึ่งนั่นหมายความว่า Blue-ray น่าจะ ชนะไปอย่างฉิวเฉียดในท้ายที่สุด
แผ่นดีวีดีโดยทั่วๆ ไปมีความจุ 4.7 กิกะไบต์ โดยเป็นขนาดความจุที่สามารถเก็บ ภาพยนตร์ขนาดความยาว 135 นาทีได้ในรูปแบบภาพวิดีโอมาตรฐานที่ถูกบีบอัดแล้ว อย่างไรก็ตาม ความจุขนาดนี้แม้จะมากก็ตาม แต่ก็ไม่สามารถเก็บภาพยนตร์ในรูปแบบวิดีโอแบบความคมชัดสูงได้ โดยถ้าต้องการเก็บภาพยนตร์ความยาวเท่ากันในรูปแบบวิดีโอความคมชัดสูงแบบบีบอัดจะต้องการพื้นที่เพิ่มมากถึงห้าเท่า ทำให้ Blue-ray และ HD-DVD ถือกำเนิดขึ้นมาโดยใช้แสงเลเซอร์ที่ใช้ในการอ่านและเขียนแผ่นดิสก์แบบใหม่ซึ่งเป็นแสงสีน้ำเงิน (ถ้าจะพูดจริงๆ คือแสงสีน้ำเงิน-ม่วง)
แสงสีน้ำเงินนี้จะมีความยาวคลื่นสั้นกว่าแสงเลเซอร์สีแดงของแผ่นดีวีดีทั่วๆ ไปทำให้สามารถบันทึกข้อมูลลงแผ่นดิสก์ได้มาก กว่าบนเนื้อที่เท่าเดิม โดย Blue-ray สามารถเก็บวิดีโอความคมชัดสูงได้นานถึง 9 ชั่วโมงในแผ่นดิสก์แบบ double-layer และเก็บไฟล์วิดีโอที่บีบอัดตามมาตรฐานที่ใช้ในดีวีดีทั่วๆ ไปได้นานต่อเนื่องถึง 23 ชั่วโมง
นอกจากนี้ยังมีความแตกต่างในเรื่องของชั้นเคลือบดิสก์ โดยดิสก์แบบ Blue-ray มีชั้นเคลือบที่มีความหนาเพียงหนึ่งในหกของ ความหนาของดีวีดีทั่วๆ ไปหรือ HD-DVD นั่นทำให้ชั้นข้อมูลของดิสก์แบบ Blue-ray ใกล้ชิดกับผิวหน้าของดิสก์มากขึ้นและทำให้แสงเลเซอร์จากเครื่องเล่นแบบ Blue-ray อ่านข้อมูล ที่ถูกเก็บไว้เป็นชั้น (layer) ชั้นเดียวได้จำนวน มากขึ้น โดยโซนี่เองวางแผนที่จะเพิ่มชั้นของข้อมูลจาก 2 เป็น 4 ชั้นภายในปี 2007 และจะเพิ่มเป็น 8 ชั้นในที่สุด นั่นทำให้ดิสก์แบบ Blue-ray สามารถเก็บข้อมูลได้มากขึ้นในแต่ละ ชั้นและเก็บได้หลายชั้นมากกว่า HD-DVD
เมื่อเรามองย้อนไปในอดีตจะพบว่า การเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีอันมีผลต่อการเสพสิ่งบันเทิงล้วนสร้างความแตกต่างให้กับผู้เสพในเรื่องประสบการณ์ใหม่ๆ อยู่เสมอ การถือกำเนิดของโทรทัศน์ที่กลายเป็นเครื่องใช้ประจำบ้านไปแล้วและเป็นอุปกรณ์ที่เกือบมาทำให้ธุรกิจภาพยนตร์ต้องถึงกาลอวสานโดยทำให้จำนวนผู้ออกไปชมภาพยนตร์ นอกบ้านในปี 1948 ที่มีจำนวน 90 ล้านคนต่อสัปดาห์เหลือเพียง 20 ล้านคนต่อสัปดาห์ในปี 1966 และเมื่อคนอเมริกันมีโทรทัศน์สีใช้แล้วก็ทำให้คนดูอีกกว่า 70 ล้านคนต่อสัปดาห์ เลิกไปโรงภาพยนตร์ และทำให้ฮอลลีวูดต้องหันมาลงทุนโฆษณาจำนวนมหาศาล เพื่อประชาสัมพันธ์ภาพยนตร์เรื่องใหม่ๆ ผ่านโทรทัศน์เพื่อดึงคนกลับไปดูภาพยนตร์อีกครั้ง เมื่อมีวิดีโอและดีวีดี รวมถึงการสามารถทำสำเนาวิดีโอและดีวีดีเถื่อนได้ก็ส่งผลให้โรงภาพยนตร์แทบจะหายไปจากทวีปเอเชียและยุโรปตะวันออกเลย
นี่หมายความว่า Blue-ray รวมถึง HD-DVD กำลังจะมาสร้างปรากฏการณ์ใหม่อีกครั้งต่อวงการฮอลลีวูด จริงๆ แล้วดีวีดีแบบ Blue-ray น่าจะเป็นเครื่องมือทางยุทธศาสตร์ที่สำคัญของโซนี่ โดยการที่ดีวีดีแบบนี้จะมีชั้นของการเก็บข้อมูล หลายชั้น ซึ่งนอกจากสามารถเก็บข้อมูลดิจิตอลจำนวนมากๆ ได้แล้วยังสามารถใช้ใน การบันทึกข้อมูลที่ดาวน์โหลดมาจากอินเทอร์เน็ตได้ด้วย โดยเป็นโปรโมชั่นของเว็บไซต์ของ โซนี่เองที่สามารถเพิ่มเกม, มิวสิกวิดีโอ รวมถึง อะไรก็ตามที่เกี่ยวข้องกับภาพยนตร์เรื่องนั้นๆ ที่สามารถนำมาเพิ่มให้เต็มครบชุดได้
อย่างไรก็ตาม ความคิดของสตูดิโอภาพยนตร์และผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มองว่าเทคโนโลยีใหม่นี้จะช่วยให้สามารถเพิ่มตลาดบันเทิงภายในบ้านให้กว้างขวางมากขึ้นนั้นอาจจะเป็นเรื่องที่ผิดก็ได้ ไม่ใช่เป็นเพราะการ ที่ผู้บริโภคต้องมาเดิมพันเลือกข้างของเทคโนโลยีเหมือนสมัยสงครามระหว่าง VHS กับ Betamax เพราะอย่างน้อยภายในปีหน้าก็จะมีเครื่องเล่นที่สามารถสนับสนุนมาตรฐานทั้งสองได้ แต่จะเป็นเพราะอาจจะถึงคราวสิ้น สุดยุคของดิสก์แล้วก็ได้ โดยมีสี่เหตุผลสำคัญ ที่มาสนับสนุน ได้แก่
1. อินเทอร์เน็ต ไมโครซอฟท์กำลังเปิดบริการให้เช่าภาพยนตร์และบริการดาวน์โหลดผ่านเครื่องเล่น Xbox Live ของตัวเอง โดยเป็นบริการแรกที่รวมเอาการดาวน์โหลดภาพยนตร์ที่มีความคมชัดสูงด้วย ซึ่งถือเป็น การตัดหน้าเพลย์สเตชั่น 3 ของโซนี่ซึ่งจะรวมเอาเทคโนโลยี Blue-ray เอาไว้ด้วย โดยเครื่อง Xbox 360 สามารถเล่นได้เพียงแค่ดีวีดีทั่วๆ ไปเท่านั้น บริการให้เช่าวิดีโอผ่านการดาวน์โหลดถือเป็นการข้ามความจำเป็นที่ต้องใช้มิเดียหรือดิสก์ไป รวมถึงเป็นการแก้ปัญหาที่ intones ต้องเผชิญในการขายภาพยนตร์โดยเฉพาะภาพยนตร์ความละเอียดสูง โดยเมื่อเราดาวน์โหลดภาพยนตร์เข้ามาไว้ในเครื่อง Xbox แล้วซึ่งปกติเครื่อง Xbox ต้องต่อกับโทรทัศน์อยู่แล้วก็ทำให้สามารถดูผ่านโทรทัศน์ได้เลย แต่ข้อเสียก็คือต้องมีเครื่องXboxด้วย 2. Cable on-demand เครื่องมืออย่าง Comcast Box เป็น การนำภาพยนตร์ความคมชัดสูงมาเจอกับจอแบบ HDTV นอกจากนี้การ ดูแบบออนดีมานด์สามารถเปิดดูได้ทันทีโดยไม่ต้องมานั่งรอดาวน์โหลดให้เสร็จอีก แต่สตูดิโอโดยส่วนใหญ่ก็พยายามไม่เอาภาพยนตร์ที่เพิ่งลง โรงมาให้ดูผ่านบริการแบบออนดีมานด์ แต่ทุกวันนี้สถานการณ์กำลังจะ เปลี่ยนแปลงไป และมีการลองนำภาพยนตร์ที่เพิ่งลงโรงมาฉายบ้างแล้ว ที่สำคัญเทคโนโลยีป้องกันการทำซ้ำของบริษัทเคเบิลทั้งหลายน่าจะทำให้ ผู้ผลิตภาพยนตร์เบาใจลงบ้าง เช่นเดียวกับบริการให้เช่าภาพยนตร์ของ Xbox ที่ภาพยนตร์เรื่องนั้นๆ จะหมดอายุภายใน 24 ชั่วโมงภายหลังจากการดาวน์โหลด 3. การปรากฏของรูปแบบของดิสก์แบบใหม่หมายถึงเงินลงทุน เรื่องฮาร์ดแวร์ที่ต้องเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน แน่นอนว่าหลังจากลงทุนซื้อ HDTV (ราคาประมาณ 3,000 เหรียญ) รวมถึงเครื่องเสียงอีกจำนวนหนึ่ง คงไม่มีใครอยากจะลงทุนอีกมากมายนักแน่นอน และเครื่องเล่นวิดีโอความ คมชัดสูงก็ไม่ใช่ถูกๆ (เครื่องเล่น HD-DVD ราคาประมาณ 350-600 เหรียญสหรัฐ ในขณะที่เครื่องเล่น Blue-ray ราคาอยู่ระหว่าง 750-1,000 เหรียญสหรัฐ) การตัดสินใจที่จะให้เครื่องเล่นเพลย์สเตชั่น 3 ของโซนี่ เองสนับสนุนเทคโนโลยี Blue-ray ถือเป็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญและยอดเยี่ยม ในการเพิ่มอุปสงค์ต่อภาพยนตร์ที่ใช้เทคโนโลยี Blue-ray อย่างไรก็ตามถือเป็นการเดิมพันครั้งสำคัญของโซนี่ด้วยเพราะถ้ามาตรฐานนี้ไม่ได้รับการยอมรับจากตลาดก็จะทำให้เครื่องเพลย์สเตชั่นของโซนี่กลายเป็นเครื่องพิกลพิการไปด้วย 4. การกลับมาอีกครั้งของฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ การดาวน์โหลดภาพยนตร์ต่างจากดีวีดีตรงที่เพียงต้องการพื้นที่ที่จำเป็นต้องเก็บไว้ในฮาร์ดดิสก์เท่านั้น โดยสามารถเก็บได้นานเท่าที่ต้องการ โดยอาจจะเก็บไว้ดูเพียงครั้งสองครั้ง หรือเก็บไว้ตลอดกาลก็ได้เช่นกัน เมื่อเทียบกับการโหลดเพลงผ่าน intones ซึ่งมีราคาถูกกว่าการซื้ออัลบั้มจริงๆ 8-10 เหรียญสหรัฐ ตามร้านขายปลีกทั่วไป และเมื่อพิจารณาว่าราคาฮาร์ดดิกส์ได้ลดลงอย่างต่อเนื่องในขณะที่ขนาดความจุกลับเพิ่มขึ้นอย่าง ก้าวกระโดดเช่นกัน ก็ยิ่งเห็นประโยชน์ของฮาร์ดดิสก์
อย่างไรก็ตาม ปัญหาของการดาวน์โหลดภาพยนตร์ผ่านทางอินเทอร์เน็ตก็คือ การนำไปใช้งานที่ยังยากอยู่เมื่อเทียบกับดูผ่าน แผ่นดีวีดีทั่วๆ ไปเพราะจำเป็นต้องมีทักษะในระดับหนึ่ง นอกจากนี้การที่ต้องนั่งรอดาวน์โหลดให้เสร็จถึงจะดูได้ก็เป็นอุปสรรคสำคัญอย่างหนึ่งด้วยเช่นกัน ดิสก์จะถึงกาลอวสานตามการคาดการณ์หรือไม่ ก็ตาม ความเปลี่ยนแปลง คือ สัจธรรมอันเป็นนิรันดร์ที่ใครก็ตามที่ก้าวเข้ามาสู่โลกของเทคโนโลยีหรือโลกใดๆ ก็ตามแต่ไม่สามารถข้ามพ้นมันไปได้
ประวัติความเป็นมาของ Blue-ray
บลูเรย์ดิสค์ (Blu-ray Disc) หรือ บีดี (BD) คือรูปแบบของแผ่นออพติคอลสำหรับบันทึกข้อมูลความละเอียดสูง ชื่อของบลูเรย์มาจาก ช่วงความยาวคลื่นที่ใช้ในระบบบลูเรย์ ที่ 405 nm ของเลเซอร์สี "ฟ้า" ซึ่งทำให้สามารถทำให้เก็บข้อมูลได้มากกว่าดีวีดี ที่มีขนาดแผ่นเท่ากัน โดยดีวีดีใช้เลเซอร์สีแดงความยาวคลื่น 650 nm
มาตรฐานของบลูเรย์พัฒนาโดย กลุ่มของบริษัทที่เรียกว่า Blu-ray Disc Association ซึ่งนำโดยโซนี และ ฟิลิปส์ เปรียบเทียบกับ เอ็ชดีดีวีดี (HD-DVD) ที่มีลักษณะและการพัฒนาใกล้เคียงกัน บลูเรย์มีความจุ 25 GB ในแบบเลเยอร์เดียว (Single-Layer) และ 50 GB ในแบบสองเลเยอร์ (Double-Layer) ขณะที่ เอ็ชดีดีวีดีแบบเลเยอร์เดียว มี 15 GB และสองเลเยอร์มี 30 GB
ความจุของบลูเรย์ดิสค์
ซึ่งปกติแผ่นบลูเรย์นั้นจะมีลักษณะคล้ายกับแผ่น ซีดี/ดีวีดี โดยแผ่นบลูเรย์จะมีลักษณะแบบหน้าเดียว และสองหน้า โดยแต่ละหน้าสามารถรองรับได้มากถึง 2 เลเยอร์ อาทิ แผ่น BD-R (SL) หมายถึง Blu-Ray Disc ROM แบบ Single Layer แบบหน้าเดียว มีความจุ 25 GB แผ่น BD-R (DL) หมายถึง Blu-Ray Disc ROM แบบ Double Layer แบบหน้าเดียว มีความจุ 50 GB แผ่น BD-R (2DL) หมายถึง Blu-Ray Disc ROM แบบ Double Layer แบบสองหน้า มีความจุ 100 GB
ส่วนความเร็วในการอ่านหรือบันทึกแผ่น Blu-Ray ที่มีค่า 1x, 2x, 4x ในแต่ละ 1x จะมีความเร็ว 36 เมกะบิต ต่อ วินาที นั่นหมายความว่า 4x นั่นจะสามารถบันทึกได้เร็วถึง 144 เมกะบิต ต่อ วินาที
ประวัติความเป็นมาของ HD DVD
เมื่อ 19 พฤศจิกายน 2003 ทางสมาคม DVD Forum ได้ลงความเห็นให้ HD DVD เป็นฟอร์แมตแผ่นบันทึกข้อมูลรุ่นถัดไป ต่อจากดีวีดี ในขณะเดียวกันแผ่นแบบ Blu-ray ก็ถูกพัฒนาขึ้นโดยไม่ผ่าน DVD Forum ในช่วงที่ผ่านมามีความพยายามที่จะรวมฟอร์แมตให้เหลือเพียงแบบเดียวหลายครั้ง แต่ก็ประสบความล้มเหลวจนผลิตภัณฑ์จริงวางจำหน่ายทั้งสองฝั่งในที่สุด
HD DVD (High Definition DVD หรือ High Density DVD) เป็นแผ่นข้อมูลแบบบันทึกด้วยแสง (optical disc) ที่ใช้บันทึกวิดีโอความละเอียดสูง (high definition) หรือข้อมูลชนิดอื่นๆ ก็ได้ HD DVD มีลักษณะใกล้เคียงกับ Blu-ray ซึ่งเป็นแผ่นบันทึกข้อมูลคู่แข่ง โดยใช้ขนาดแผ่นเท่ากับซีดีรอม (เส้นผ่านศูนย์กลาง 12 ซม.)
HD DVD ได้รับการสนับสนุนจากบริษัทขนาดใหญ่ในอุตสาหกรรมหลายบริษัท เช่น โตชิบา, NEC, ซันโย, ไมโครซอฟท์ และอินเทล รวมถึงบริษัทภาพยนตร์อย่าง Universal Studios โตชิบายังได้ออกวางขายเครื่องเล่นแผ่น HD DVD เครื่องแรกเมื่อวันที่ 31 มีนาคม ค.ศ. 2006
//
รายละเอียดตัวแผ่น
HD DVD แบบเลเยอร์เดียวจุข้อมูลได้ 15GB และ 30GB สำหรับแบบสองเลเยอร์ โตชิบาได้ประกาศว่าจะผลิตแผ่นแบบ 3 เลเยอร์ที่จุได้ 45GB ในตัวแผ่น HD DVD สามารถใส่ข้อมูลชนิดดีวีดีแบบเดิม และ HD DVD ได้พร้อมกัน การอ่านข้อมูลใช้เลเซอร์ความยาวคลื่นแสงสีฟ้า (405 นาโนเมตร)
ชั้นข้อมูลจะถูกบันทึกถัดไปจากพื้นผิว 0.6 มิลลิเมตรเช่นเดียวกับดีวีดีทั่วไป เทคโนโลยีการบีบอัดข้อมูลวิดีโอคือ MPEG-2, Video Codec 1 และ H.264/MPEG-4 AVC สนับสนุนระบบเสียงแบบ 7.1 ในส่วนความละเอียดของภาพนั้นขึ้นกับจอภาพที่ใช้ด้วย แต่สามารถขึ้นได้ที่ความละเอียดสูงสุด 1080p
Blue-rayและHD-DVDคืออะไร?
Blu-ray Disc จากค่ายโซนี่ และ HD-DVD จากค่ายโตชิบา ล้วนเป็นเทคโนโลยีออพติคอลดิสก์รุ่นล่าสุด ที่รองรับมาตรฐานวิดีโอแบบ High-Definition และสามารถบรรจุข้อมูลลงบนแผ่นได้จำนวนมากขึ้น โดยทั้งสองเทคโนโลยีใช้เลเซอร์แบบพิเศษสีน้ำเงินและมีหน่วยเก็บข้อมูลบนดิสก์ที่หนาแน่นกว่า ทำให้ปริมาณข้อมูลของแผ่นออพติคอลยุคใหม่มีจำนวนสูงกว่าแผ่นดีวีดีที่เราใช้กันในปัจจุบัน โดยแผ่น Blu-ray แบบชั้นเดียวสามารถเก็บบันทึกข้อมูลได้ 25 กิกะไบต์ และแบบสองชั้นเก็บข้อมูลได้ที่ 50 กิกะไบต์ ส่วนแผ่น HD-DVD นั้นมีความจุสำหรับแผ่นแบบชั้นเดียวที่ 15 กิกะไบต์ และแบบสองชั้นที่ 30 กิกะไบต์ บลูเรย์แบบชั้นเดียวมีความจุ 25 กิกะไบต์ ซึ่งมากกว่าแผ่นดีวีดีทั่วไปประมาณ 5 เท่า และมากกว่าแผ่นซีดีธรรมดา 33 เท่า .. ความจุขนาดนี้ใช่ว่าขนาดของแผ่นจะต้องใหญ่ขึ้นนะ! ความจริงถ้าดูเฉพาะรูปลักษณ์ภายนอกของ Blu-ray และ HD-DVD อาจแทบแยกไม่ออกด้วยซ้ำว่าต่างจากดีวีดีทั่วไปตรงไหน
Blue-rayและHD-DVDแตกต่างกันอย่างไร?
แผ่นทั้งสองประเภทมีขนาดเท่ากันคือ เส้นผ่านศูนย์กลาง 120 มิลลิเมตร และมีความหนาประมาณ 1.2 มิลลิเมตร โดย HD-DVD มีระดับชั้นที่เคลือบเพื่อปกป้องลายนิ้วมือและรอยขูดขีดประมาณ 0.6 มิลลิเมตร ส่วนทาง Blu-ray นั้นมีระดับชั้นป้องกันปัญหาดังกล่างเพียง 0.1 มิลลิเมตรเท่านั้น แต่เสริมด้วยเทคโนโลยี Hard Coating ที่ทางโซนี่บอกว่า สามารถป้องกันรอยขูดขีดได้ดีกว่าเดิม ส่วนความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูลนั้นอยู่ที่ประมาณ 36 เมกะบิตต่อวินาที สำหรับความเร็วระดับ 1 เท่า ซึ่งถือว่าเร็วขึ้นมากเมื่อเทียบกับดีวีดีและแผ่นซีดีทั่วไป
จุดเด่นของ Blue-ray และ HD-DVD
สื่อรุ่นใหม่ทั้งสองประเภทไม่ได้มีดีที่ความจุเท่านั้น สิ่งที่หลายคนคาดหวังกับ Blu-ray และ HD-DVD ก็คือ คุณภาพของภาพที่คมชัดขึ้นกว่าเดิมและให้สีสันสมจริงที่สุดในแบบที่ดีวีดีเองก็ยังเทียบไม่ได้ แต่ก็ใช่ว่าแค่ซื้อแผ่นและเครื่องเล่นรุ่นใหม่แล้วคุณก็จะได้คุณภาพระดับดังกล่าว ถ้าจะเล่นแผ่นระดับนี้ คุณต้องมีโทรทัศน์แบบ High Definition หรือที่เรียกกันว่า HD-TV ด้วยความคมชัดของคุณภาพระดับ High-Definition นั้น เชื่อว่าใครได้ชมเป็นต้องติดใจเพราะแตกต่างอย่างเห็นได้ชัดเมื่อเทียบกับภาพที่เล่นจากแผ่นดีวีดีหรือแผ่นซีดธรรมดา แต่จะคุ้มค่ากันหรือไม่ อันนี้ผู้บริโภคต้องลองตัดสินใจกันดู โดยราคาเฉลี่ยของเครื่องเล่น Blu-ray นั้นอยู่ที่เกิน 3 หมื่นบาทขึ้นไป ส่วนเครื่องเล่น HD-DVD นั้นราคาก็ยังอยู่ประมาณ 2 หมื่นบาท นี่ยังไม่รวมค่าแผ่นภาพยนตร์ที่ตกแผ่นละประมาณเกือบๆพันบาท.... แน่นอนว่าสิ่งที่ทุกท่านจะได้กลับมาก็คือคุณภาพของภาพและระบบเสียงที่สมจริงขึ้น
อุปสรรคของBlu-rayและHD-DVD แต่ความซับซ้อนและปัญหาเกี่ยวกับ Blu-ray และ HD-DVD นั้น ไม่ได้มีแค่เรื่องราคาที่ยังแพงอยู่ เพราะปัญหาสำคัญก็คือ ทั้งสองค่ายทะเลาะกันมาข้ามปี ยังหาจุดลงตัวไม่ได้ ทำให้ผู้บริโภคตัดสินใจเลือกซื้อสื่อรุ่นใหม่นี้ได้ลำบากขึ้น เพราะแผ่นแบบ Blu-ray นั้นก็ต้องเล่นเฉพาะบนเครื่องเล่นที่รองรับ Blu-ray เท่านั้น เช่นเดียวกันกับ HD-DVD สองปีผ่านไป ทั้งสองค่ายก็ยังหาทางสมานฉันท์ไม่ได้ ทั้งๆ ที่ก่อนหน้านี้มีข่าวหลายครั้งว่าจะรอมชอมกันได้ และที่จริงเดิมทีซัมซุงและแอลจีก็เคยมีแผนที่จะปล่อยเครื่องเล่นแบบที่รองรับได้ทั้งสองมาตรฐาน แต่ท้ายสุดก็เป็นอันเงียบไป ทำให้ผู้บริโภคต้อง "เสี่ยง" ดวงเอาเอง คือ ถ้าสองค่ายไม่มีใครยอมใครกันจริงๆ แน่นอนว่าในอนาคตย่อมมีหนึ่งมาตรฐานที่ชนะ และอีกหนึ่งค่ายที่แพ้หากใครเลือกผิดก็เหมือนกับซื้อเครื่องเล่นเอาไว้เป็นของประดับบ้านเฉยๆนั่นละ!!
สถานการณ์ตอนนี้หากดูกันโดยภาพรวมแล้ว Blu-ray ยังคงได้เปรียบอยู่พอสมควร เพราะค่ายหนังฮอลลีวูดยักษ์ใหญ่ 7 ใน 8 รายให้การสนับสนุนอย่างดี ซึ่งได้แก่ Warner, Paramount, Fox, Disney, Sony, MGM และ Lionsgate มีเพียงค่าย Universal เท่านั้นที่ยังปักใจกับ HD-DVD โดยมี Warner และ Paramount เป็นที่ปันใจเลือกทั้งสองฝั่งเป็นแรงหนุนอีกที นอกจากนี้ Blu-ray ยังมีค่ายผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าชั้นนำคอยดันกันอีกหลายแรง ทั้ง Panasonic, Philips, Samsung, Pioneer, Sharp, JVC, Hitachi, Mitsubishi, LG รวมไปถึงค่ายใหญ่ในวงการคอมพิวเตอร์ทั้ง Apple, HP และ Dell เรียกว่าทำให้ฟากHD-DVDของโตชิบานั้นสั่นได้ไม่น้อยทีเดียว แต่ใช่ว่า HD-DVD นั้นจะต้องเป็นฝ่ายแพ้นะ ลองฟังชื่อของบริษัทระดับบิ๊กๆ ที่หนุนหลังโตชิบาซะก่อนแล้วค่อยตัดสินใจใหม่ เพราะมีทั้ง NEC, Sanyo พร้อมด้วยคู่หูดูโอวงการคอมพิวเตอร์อย่าง Microsoft และ Intel เรียกว่าทาง Blu-ray เองก็ประมาทไม่ได้เลยทีเดียว
สำหรับใครที่อยากลองของใหม่ ทั้ง Blu-ray และ HD-DVD น่าจะสร้างความตื่นเต้นประทับใจให้ได้ไม่น้อยทีเดียว แต่ถ้าใครชอบความคุ้มค่า Choose IT ของเราขอแนะนำว่า ... รอไปก่อน รอจนกว่าเค้าจะทะเลาะกันเสร็จ รอจนกว่าราคาจะเหมาะสมกว่านี้ แล้วค่อยซื้อก็ยังไม่ช้าเกินไป
ข้อควรจำสำหรับ Blue-ray และ HD-DVD
อย่าลืมนะว่า จะชมภาพยนตร์คมชัดสมจริงระดับ High-Definition ได้นั้น คุณต้องมีโทรทัศน์ HD-TV รุ่นใหม่ที่รองรับการเชื่อมต่อผ่าน HDMI (High Definition Multimedia Interface) แถมยังต้องเสี่ยงเลือกซื้อเครื่องเล่นจากค่ายใดค่ายหนึ่ง และยังต้องคอยระมัดระวังเวลาซื้อแผ่นหนังให้ตรงกับชนิดของเครื่องเล่นอีก ที่สำคัญราคาของแผ่นหนังฟอร์แมตใหม่นั้นยังมีราคาค่อนข้างสูง ซึ่งอาจยังไม่คุ้มนักหากไม่ได้เป็นคนที่รักการชมภาพยนตร์แบบจริงจัง อีกหนึ่งประเด็นที่สำคัญก็คือ เทคโนโลยีใหม่ทั้งสองประเภทนั้นมาพร้อมกับการปกป้องลิขสิทธิ์แบบเข้มงวดมาก ตั้งแต่การเชื่อมต่อแบบ HDMI ซึ่งรองรับการเข้ารหัสปกป้องลิขสิทธิ์ ไปจนถึงการใช้เทคโนโลยี AACS ที่ทำให้แผ่นเหล่านี้ไม่สามารถเล่นกับซอฟต์แวร์ฟรีบนพีซีได้อย่างสะดวก หากใครนิยมแผ่นผีซีดีเถื่อนละก็ต้องเตรียมตัวผิดหวังไว้ได้เลยล่ะ.. ถ้าชอบดูหนัง .. ก็คงต้องเลือก Blu-ray เพราะมีค่ายหนังดังสนับสนุนเพียบ แต่ถ้าชอบความคุ้มค่าราคาประหยัดกว่า ก็คงต้องเป็น HD-DVD..... แต่ถ้าจะให้ดีที่สุด อย่าเพิ่งซื้อ รออีกซักนิดจนกว่าทิศทางในตลาดจะชัดเจนรับรองว่ายังไม่สายเกินไป!!
สินค้า HD-DVD และ Blue-ray ของแต่ละบริษัท/แต่ละรุ่น
เครื่องเล่นบลูเรย์รุ่นแรก
1. โซนี่ เพลย์สเตชัน 3
เพลย์สเตชัน3PlayStation 3
ผู้ผลิต
โซนีคอมพิวเตอร์เอ็นเตอร์เทนเมนต์
ชนิด
เครื่องเล่นวีดีโอเกม
ยุค
ยุคที่ 7
ออกจำหน่าย
11พฤศจิกายน2549(JP)17พฤศจิกายน2549(NA)7 มีนาคม 2550 (EU)
ซีพียู
3.2 GHz PPC Cell with 7 3.2 GHz SPEs
สื่อที่ใช้
บลูเรย์(BD)ดีวีดี(DVD)ซีดี(CD)เอสเอซีดี (SACD)
การเล่นออนไลน์
PlayStation Network Platform (PNP)
รุ่นก่อนหน้า
เพลย์สเตชัน 2
เพลย์สเตชัน 3 (PlayStation 3, プレイステーション 3) ตัวย่อ PS3 เป็นเครื่องเล่นวิดีโอเกมตระกูลเพลย์สเตชันรุ่นที่ 3 ของบริษัท โซนี่คอมพิวเตอร์เอ็นเตอร์เทนเมนต์ ถือเป็นเครื่องเล่นวีดีโอเกมยุคที่ 7 ตัวเครื่องมีขนาด 12.8×3.9×10.8 นิ้ว (32.5×9.8×27.4 เซนติเมตร) ตัวเครื่องมีอย่างน้อย 3 สีให้เลือก คือสีดำ, สีขาว, และสีเงิน ตัวเครื่องที่ขายจะมีตัวเลือก 2 แบบที่แตกต่างกันในเรื่องของความจุฮาร์ดไดรฟ์ และช่องสัญญาณต่างๆ ขณะนี้ได้ออกวางจำหน่ายแล้ว โดยออกวางตลาดที่ประเทศญี่ปุ่นเป็นที่แรก ในวันที่ 11 พ.ย. พ.ศ. 2549 ส่วนประเทศอื่นๆ วางตลาดในวันที่ 17 พฤศจิกายน โดยราคาอยู่ที่ US$499 (฿19,000) ในรุ่น 20 GB. และ US$599(฿23,000) สำหรับรุ่น 60 GB. การออกแบบตัวเครื่องจะดูเรียบง่าย ทันสมัย มีรูปทรงโค้งมน น้ำหนักประมาณ 11 ปอนด์ (5 กิโลกรัม) ซึ่งหนักกว่า Xbox 360 ซึ่งราคาจำหน่ายในไทยสัปดาห์แรกหลังจากที่ออกขายที่ญี่ปุ่น ราคาอยู่ที่ประมาณ 38,000 บาท
ในวันที่ 18 สิงหาคม 2549 โซนีได้ประกาศว่ามีโครงการ folding@home ร่วมกับทางนักวิจัยที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดในการใช้เครื่องเพลย์สเตชัน 3 เป็นเครื่องมือช่วยในการคำนวณผลการทดลองในทางการแพทย์ [1]
การจัดระบบภายใน
ล่าสุด โซนี่กล่าวว่า เพลย์สเตชัน 3 จะจัดมาใน 2 รูปแบบที่แตกต่างกัน โดยในรุ่นพิเศษ (Premium) จะมาพร้อมกับฮาร์ดไดรฟ์แบบอัพเกรดได้ขนาด 60 GB, การเชื่อมต่อไร้สายแบบ Wi-Fi, ช่องต่อ HDMI 1.3, และตัวอ่านการ์ดภายใน
โครงสร้างระบบ
โครงสร้างระบบ
รุ่น
พื้นฐาน
พิเศษ
ฮาร์ดไดรฟ์แบบอัพเกรดได้
มี 20 GB
มี 60 GB
บลูเรย์ ไดรฟ์
มี
มี
คอนโทรลเลอร์ไร้สายระบบบลูทูธ
มี
มี
ข่องต่อ HDMI
มี
มี
ตัวอ่านการ์ดภายใน
ไม่มี
มี
ระบบเชื่อมต่อWi-Fi
ไม่มี
มี
ขอบและโลโก้สีเงิน
ไม่มี
มี
เครื่องพีเอส 3 แสดงส่วนโค้งแบบใหม่
และในรุ่น "พื้นฐาน" (Basic) จะมาพร้อมกับฮาร์ดไดรฟ์ขนาด 20 GB แต่ไม่มีระบบ Wi-Fi, HDMI, ตัวอ่านการ์ด แต่ก็สามารถเพิ่มระบบ Wi-Fi และตัวอ่านการ์ดสามารถตอเพิ่มจากภายนอกได้ โดย ปัญหาของรุ่น 20 GB จะเกิดกับการแสดงผลวีดีโอความละเอียดสูง หรือ บรู-เรย์ วีดีโอ ซึ่งความละเอียดจะถูกจำกัดไว้ที่ 960x540 พิกเซล (ละเอียดกว่า ระบบ NTSC 50% และ 32% ของระบบ PAL)
ความสามารถในการเล่นอุปกรณ์รุ่นก่อนหน้า
ทางโซนี่ได้กล่าวมาว่าเครื่องเพลย์สเตชัน 3 สามารถเล่นเกม เพลย์สเตชัน 1 และ 2 ที่ผ่านมาตรฐานของระบบ Technical Requirements Checklist โดยทางประธาน เคน คุตะระงิ ได้กล่าวไว้ว่าอาจมีหลายเกมที่ไม่ผ่านมาตรฐานนี้
สำหรับเมโมรีการ์ด ทางเครื่องเพลย์สเตชัน 3 ไม่มีช่องสำหรับใช้แต่อย่างใด แต่จะมีอแดปเตอร์เสริมสำหรับการนำข้อมูลจากเมโมรีการ์ดมาเซฟเก็บไว้ในฮาร์ดดิสก์ นอกจากนี้เพลย์สเตชัน 3 ยังคงนำเมโมรีสติกมาเซฟข้อมูลของ รุ่น 1 และ 2 ได้
เกมที่ลงเครื่อง เพลย์สเตชัน 3
ได้มีหลายบริษัทได้ประกาศรายชื่อเกมที่จะลงเครื่อง รุ่น 3 ซึ่งบางส่วนได้แก่
Resident Evil 5 (แคปคอม)
WWE SmackDown! vs. RAW 2008 (ที เฮช คิว)
แกรนด์ เธฟต์ ออโต 4 (ร็อกสตาร์)
แกรนทัวริสโม (โพลีโฟนี)
คาสเซิลเวเนีย (โคนามิ)
โซลคาลิเบอร์ (แคปคอม)
บอมเมอร์แมน (ฮัดสัน)
ไบโอฮาซาร์ด (แคปคอม)
ดราก้อนบอล (บันได)
เดวิลเมย์คราย (แคปคอม)
ไดแนสตีวอรีเออร์ (โคเอ)
เทคเคน (แนมโค)
ไฟนอลแฟนตาซี XIII (สแควร์เอนิกซ์)
วินนิงอีเลฟเวน (โคนามิ)
เอปเอสเคป (โซนี)
โซนิค เดอะเฮดจ์ฮ็อก(2006) (เซก้า)
บริการออนไลน์
ด้วยความสำเร็จของบริการเอ็กซ์บ็อกซ์ ไลฟ์ ของไมโครซอฟท์ โซนี่จึงได้เปิดบริการออนไลน์ของโซนี่คือ เพลย์สเตชัน เน็ตเวิร์กแพลตฟอร์ม (PlayStation Network Platform ตัวย่อ PSNP) โดยจะให้บริการฟรีสำหรับการเล่นหลายคนผ่านเครือข่าย
ระบบปฏิบัติการและอินเตอร์เฟส
เพลย์สเตชัน 3 จะใช้อินเตอร์เฟสชื่อว่า "ครอส มีเดีย บาร์" (Cross Media Bar : XMB) ซึ่งเป็นอินเตอร์เฟสระบบเดียวกับ เพลย์สเตชัน พอร์เทเบิล ซึ่งสำหรับเพลย์สเตชัน 3 อินเตอร์เฟสนี่จะแบ่งโหมดการทำงานตามสื่อต่างๆ เช่น เพลง วีดีโอ อินเทอร์เน็ต เกม รายชือเพื่อน (Friend List) พร้อมสามารถแบ่งบัญชีผู้ใช้ได้ สามารถใช้งานร่วมกับ คีย์บอร์ดและเม้าส์ที่รองรับผ่านช่อง USB เพื่อความสะดวกในการท่องอินเทอร์เน็ตและพูดคุยกับเพื่อนผ่านระบบ การพิมพ์ ภาพ และเสียง
- ระบบปฏิบัติการ
เป็นที่รับรองแล้วว่า เพลย์สเตชัน 3 จะมาพร้อมระบบปฏิบัติการ ลีนุกซ์ ซึ่งโซนี่หวังจะให้เพลย์สเตชัน 3 ทำงานแทนอุปกรณ์บางชิ้นในบ้านได้
ปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลว่าเพลย์สเตชัน 3 จะใช้ ลีนุกซ์ เป็นระบบปฏิบัติการเดี่ยว หรือจะสามารถเลือกบู๊ตได้ 2 แบบจาก XMB
สเป็กเครื่องและส่วนประกอบ
รายละเอียดนี้เป็นข้อมูลจากการเปิดเผลของโซนี่ในงาน อี3 (E³ : [[Electronic Entertainment Expo]])
หน่วยประมวลผลกลาง (ซีพียู)
- 3.2 GHz PowerPC "Cell Processor" 1 ตัว ที่เป็น "Power Processing Element : PPE" และ "Synergystic Processing Elements : SPEs" ความเร็ว 3.2 GHz จำนวน 7 ตัว มีความจำแคช L2 ขนาด 512Kb
หน่วยประมวลผลกราฟิก (จีพียู)
พัฒนาขึ้นโดย nVidia โดยให้ชื่อว่า "Reality Syntheziser"
พัฒนาขึ้นบนพื้นฐานของโครงสร้าง NVIDIA NV47
ความเร็วสัญญาณนาฬิกา 550 MHz.
ความจำแบบ 128 บิต
211.2 GFLOPS แบบโปรแกรมได้ สูงสุด 1.8 TFLOPS
136 shader operations per clock ( * 550 Mhz = 74.8 billion / second, 1 แสนล้าน with CPU)
24 2D texture lookups per clock ( * 550 Mhz = 13.2 billion / second)
33 billion dot products per second (51 billion dot products with CPU)
128-bit pixel precision offers rendering of scenes with High dynamic range rendering
หน่วยความจำ
ทั้งหมด 512 MB แบ่งเป็น
-256 MB Rambus XDR DRAM ความเร็ว 3.2 เท่ากับซีพียู
-256 MB GDDR3 VRAM ความเร็วสัญญาณนาฬิกา 700 MHz
System Bandwidth
-204.8 GB/s Cell Element Interconnect Bus (Theoretical peak performance)
-Cell FlexIO Bus: 35 GB/s outbound, 25 GB/s inbound (7 outbound and 5 inbound 1Byte wide -channels operating at 5 GHz) (effective bandwidth typically 50-80% of total)
-51.2 GB/s SPE to local store
-Experimental Sustained bandwidth for some SPE-to-SPE DMA transfers - 78 to 197 GB/s.
-25.6 GB/s to Main Ram XDR DRAM: 64 bits × 3.2 GHz / 8 bits to a byte
-22.4 GB/s to GDDR3 VRAM: 128 bits × 700 MHz × 2 accesses per clock cycle (one per edge) / 8 bits to a byte
-RSX 20 GB/s (write), 15 GB/s (read)
-System Bus (separate from XIO controller) 2.5 GB/s write and 2.5 GB/s read
-อินเตอร์เฟส
วีดีโอ
-แบบ Composite (หัวสีเหลือง แบบ RCA)
-แบบ S-Video (แยกระหว่างสัญญาณภาพและแสง)
-แบบ Component Video (หัวแบบ RCA สีแดง น้ำเงิน และเขียว) ความละเอียดสูงสุด 1080p
-แบบ HDMI 1.3 (สัญญาณดิจิตอล เฉพาะรุ่น "พิเศษ" เท่านั้น)
ขนาดภาพ (กว้าง*ยาว)
สัดส่วนภาพ
เมกะพิกเซลล์
ระบบ
ช่องต่อ (RGB ผ่าน ช่องต่อ VGA หรือ SCART)
720x480 แบบไขว้กัน
4:3
0.31 แบบไขว้กัน
480i
Composite video / S-Video / Component video / RGBHV / RGB-SCART
720x480
4:3
0.31
VGA / 480p
Component video / RGBHV
1280x720
16:9
0.92
720p
Component video / RGBHV
1920x1080 แบบไขว้กัน
16:9
2.07 แบบไขว้กัน
1080i
1920x1080 แบบเส้นตรง
16:9
2.07
1080p
Component video / HDMI
เสียง
-S/PDIF เป็นช่องต่อแบบ ออพติคอล แบ่งสัญญาณมากที่สุดที่ 7.1 ช่อง
-Dolby TrueHD โดยใช้ร่วมกับอุปกรณ์ที่รองรับ
-DTS-HD
-LPCM ประมวลผลโดยระบบประมวลผลกลาง
การเชื่อมต่อ/สื่อสาร
-Gigabit Ethernet 1 พอร์ต
-USB 4 พอร์ต
-บลูทูธ 2.0 พร้อม EDR
การเก็บข้อมูล
แบบออพติคอล
-บลูเรย์ (ความเร็ว 2x = 9MB/s) เพลย์สเตชัน 3 BD-ROM, BD-Video, BD-R/RE
-ดีวีดี (ความเร็ว 8x = 11MB/s) เพลย์สเตชัน 2 DVD-ROM, DVD-Video, DVD ± R/RW
-ซีดี (ความเร็ว 24x = 3.5MB/s) เพลย์สเตชัน CD-ROM, เพลย์สเตชัน 2 CD-ROM, CD-DA, CD-DA (ROM), CD-R, CD-RW
-เอสเอซีดี (2x)
-ฮาร์ดไดรฟ์ แบบอัพเกรดได้ 2 ความจุ คือ 20 และ 60GB ขนาด 2.5 นิ้ว พร้อมติดตั้ง ลีนุกซ์-เมมโมรี่แบบการ์ด (เฉพาะรุ่น "พิเศษ") อ่าน Memory Stick, SD&MMC, CompactFlash.
คอนโทรลเลอร์
คอนโทรลเลอร์แบบล่าสุด รูปร่างคล้าย Dualshock 2 เดิมมากหลังจากเปิดตัวคอนโทรลเลอร์รูปทรงคล้าย บูมเมอแรง หรือ กล้วยหอม ในงาน E3 2005 มีเสียงปฏิเสธอย่างหนาหู ทำให้โซนี่ยกเลิกรูปแบบคอนโทรลเลอร์นี้และหันกลับมาใช้แบบ Dualshock 2 เดิม โดยเพิ่มระบบไร้สาย เพิ่มประสิทธิภาพของการวัดแรงกดของปุ่มต่างๆ ทำรูปทรงปุ่ม L2 และ R2 คล้ายไกปืนมากขึ้น เพิ่มปุ่มกลางคอนโทรลเลอร์ (คล้ายกับ Xbox 360) และมีช่องต่อ B-type USB เพื่อใช้ในการชาร์จแบตและเล่นแบบต่อสาย มีไฟ 4 ดวงพร้อมตัวเลขแสดงการเชื่อมต่อกับตัวเครื่องเมื่อต่อพร้อมกัน 4 ตัว มีระบบจับการเคลื่อนไหว ซึ่งทั้งหมดนี้ทำให้ต้องตัดระบบสั่นออกเพื่อป้องกันการก่อกวน
ข้อมูลเพิ่มเติม
เคน คุตะระงิ กล่าวว่า เพลย์สเตชัน 3 จะใช้ระบบลดอุณหภูมิด้วยท่อนำความร้อน และไม่ใช้ระบบของเหลว เพื่อให้เครื่องทำงานเงียบเทียบเท่าเพลย์สเตชัน 2 ตัวเล็ก
คอนโทรลเลอร์แบบ "บูมเมอแรง" ได้ถูกยกเลิกไป
ปัญหาของเครื่อง เพลย์สเตชัน 3
เครื่องเพลย์สเตชัน 3 ยังมีคนเรียกร้องว่า "คอนโทรลเลอร์" ของเพลย์สเตชัน 3 ยังมีปัญหาอยู่ ปัญหานั้นก็คือ สัญญาณกวนคอนโทรลเลอร์ ทำให้การเล่นเกมส์ของเพลย์สเตชัน 3 มีผลเสียไปด้วย ปัจจุบันเพลย์สเตชัน 3 ไม่ค่อยได้รับความนิยมมากเท่าไร และทางบริษัทโซนี่ของประเทศไทยก็ยังไม่ได้นำเพลย์สเตชัน 3 เข้ามาจำหน่ายเลย เพราะเนื่องจากปัญหาของคอนโทรลเลอร์ที่ยังมีปัญหาสัญญาณกวนอยู่ ทางบริษัทโซนี่ของต่างประเทศก็กำลังจะปรับปรุงระบบ คอนโทรลเลอร์ ของเพลย์สเตชัน 3 เพื่อไม่ให้มีปัญหาสัญญาณกวน
อ้างอิง
↑ ข่าวโซนีและ folding@home จาก ซีเอ็นเอ็น (อังกฤษ)
เครื่องเล่นวิดีโอเกมที่นิยมในแต่ละยุค
ยุคหนึ่ง
โคเลโคเทลสตาร์ - ป็อง - แม็กนาวอกซ์โอดีสซี
ยุคสอง
แชนนอลเอฟ - อาตาริ 2600 - อินเทลลิวิชัน
ยุคสาม
แฟมิคอม - มาสเตอร์ซิสเตม - อาตาริ 7800
ยุคสี่
ซูเปอร์แฟมิคอม - นีโอจีโอ - เมก้าไดรฟ์
ยุคห้า
3DO - จากัวร์ - แซทเทิร์น - นินเทนโด 64 - เพลย์สเตชัน
ยุคหก
เกมคิวบ์ - ดรีมแคสต์ - เพลย์สเตชัน 2 - เอกซ์บอกซ์
ยุคเจ็ด
เพลย์สเตชัน 3 - วี - เอกซ์บอกซ์ 360
2. โซนี่
โซนี่ รุ่น BDP-S1
บริษัทโซนี่คอร์เปอเรชัน (Sony Corporation, ソニー株式会社, Sonī Kabushiki-gaisha) เป็นเครือบริษัทเกี่ยวกับสื่อขนาดใหญ่ของโลก ก่อตั้งที่เมืองโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น โดยบริษัทลูกคือ โซนี่ อิเล็กทรอนิกส์ เป็นผู้นำในด้านการผลิตอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับวิดีโอ การสื่อสาร และเทคโนโลยีสารสนเทศ
//
ชื่อบริษัท
ชื่อ "โซนี่" (Sony) เกิดจากการผสมของคำว่า "Sonus" (ภาษาละตินความหมายคือ เสียง), "Sunny" (อากาศดีในภาษาอังกฤษ) และ "Sonny-boys" ซึ่งเป็นศัพท์แสลงในภาษาญี่ปุ่น
ผลิตภัณฑ์ที่สำคัญของโซนี่
ค.ศ. 1950-ค.ศ. 1959
-Reel-to-reel tape recorders (1950-??)
-Transistor radios (1955-)
ค.ศ. 1960-ค.ศ. 1969
-Portapak (1967-)
-Trinitron (1968-)
ค.ศ. 1970-ค.ศ. 1979
-U-matic (1971-1983)
-Betamax* (1975-1988)
-Elcaset (1976-1980)
-STR Series of AV receivers (197X-present)
-Walkman (1979-)
-ICF-7600 Series of Shortwave Radios (1979-)
ค.ศ. 1980-ค.ศ. 1989
-MD Walkman
-Mavica (1981-??)
-Betacam* (1982-)
-Compact Disc (1982-)
-Watchman (1982-)
-3½" diskette (1983-)
-Discman (1984-)
-Handycam (1985-)
-Video8 (1985-??)
-ICF-2010 Longwave/AM/Shortwave/FM/Air Band Receiver (1985-2003)
-NEWS (1987-??)
-D2 (1988-)
-Hi8 (1989-)
-Video Walkman (1989-)
ค.ศ. 1990-ค.ศ. 1999
-The PlayStation 2
-NT (1991-??)
-MiniDisc* (1992-)
-PlayStation (later PS one) (1994-2004)
-Magic Link (1994-1997)
-DV (1995-)
-MiniDV (1995-)
-Cyber-shot (1996-)
-Digital8* (1999-)
-FD Trinitron (1996-)
-VAIO (1997-)
-Digital Mavica (1997-)
-Ruvi (1998-1999)
-Memory Stick* (1998-)
-HiFD (1998-2001)
-Super Audio CD (1998-)
-Aibo (1999-2006)
ค.ศ. 2000-ปัจจุบัน
-Playstation 3
-CLIÉ (2000-2005)
-ImageStation (2000-)
-PlayStation 2 (2000-)
-MicroMV (2002-)
-SonicStage (2002-)
-HDV (2003-)
-Qualia (2003-2006)
-Blu-ray Disc (2006-)
-PSX (2003-)
-Qrio (2003-)
-Connect (2004-)
-PlayStation Portable (2004-)
-Universal Media Disc (UMD)* (2004-) (2005 UK-)
-Librie (2004-)
-LocationFree Player (2004-)
-Cellular Walkman (2005-)
-BRAVIA (2005-)
-PlayStation 3 (November 2006)
-Sony α Digital SLR Cameras (Summer 2006)
3. ซัมซุง รุ่น BD-P1000
ซัมซุง (Samsung) (삼성, , ฮันจา: 三星, , MC: Samseong, , MR: Samsŏng ?, ภาษาเกาหลีอ่านว่า ซัม-ซอง) เป็นชื่อกลุ่มบริษัทแห่งหนึ่งจากประเทศเกาหลีใต้ สำนักงานใหญ่อยู่ที่โซล ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2493 โดย Lee Byung-Chul
ชื่อซัมซุงในภาษาเกาหลีมีความหมายว่า "สามดาว"
4. พานาโซนิค รุ่น DMP-BD10
5. ไพโอเนียร์ รุ่น BDP-HD1
6. ฟิลิปส์ รุ่น BDP9000
7. ชาร์ป รุ่น DV-BP1
8. แอลจี รุ่น BD100
9. ไลท์-ออน รุ่น BDP-X1
Blu-ray players
1.Sony BDP-S300 Blu-ray Player
Release
Now available (US)
Pricing
$499.90
Buy
Amazon Technical data
2.Samsung BD-P1200 Blu-ray Player
Release
Now available (US)
Pricing
$636.99 (subject to change)
Buy
Amazon Technical data
3.Sony PlayStation 3 Blu-ray Player
Release
Now available (US, Japan), March 2007 (Europe)
Pricing
US $499, EU €499
Buy
Amazon (60GB) Amazon (20GB) Technical data
4.Sony BDP-S1 Blu-ray Player
Release
Now available (US)
Pricing
$748.87 (subject to change)
Buy
Amazon Technical data
5.Samsung BD-P1000 Blu-ray Player
Release
Now available (US), October 2006 (Europe)
Pricing
$508.68 (subject to change)
Buy
Amazon Technical data
6.Panasonic DMP-BD10 Blu-ray Player
Release
Now available (US), October 2006 (Canada), Autumn 2006 (Europe)
Pricing
$878.00 (subject to change)
Buy
Amazon Technical data
7.Pioneer BDP-HD1 Blu-ray Player
Release
Now available (US)
Pricing
$1,499.80 (high-end model, subject to change)
Buy
Amazon Technical data
8.Pioneer BDP-LX70 Blu-ray Player
Release
June (Europe)
Pricing
-
Buy
Technical data
9.Pioneer BDP-94HD Blu-ray Player
Release
-
Pricing
$999.00 (subject to change)
Buy
Technical data
10.Philips BDP9000 Blu-ray Player
Release
Now available (US), Early 2007 (Europe)
Pricing
$549.99 (subject to change)
Buy
Amazon Technical data
11.LG BH100 Hybrid Blu-ray/HD-DVD Player
Release
Now available (US)
Pricing
$1,099.00
Buy
Amazon Technical data
12.Sharp DV-BP1 Blu-ray Player
Release
Q2 2007 (US)
Pricing
-
13.LG BD100 Blu-ray Player
Release
-
Pricing
-
14.Lite-On BDP-X1 Blu-ray Player
Release
-
Pricing
-
15.Mitsubishi Blu-ray Player
Release
-
Pricing
-
Blu-ray Player
HD DVD Player
Blu-ray Disc และ HD DVD Disc
HD DVD Player
HD DVD Player
Blue-ray Disc
Blu-ray Player
Blu-ray Player
Blu-ray Disc และ HD DVD Disc
HD DVD Disc
Blu-ray Disc และ HD DVD Disc
ประโยชน์ที่มีต่อสังคม
สำหรับคนที่เฝ้าติดตามความเคลื่อนไหว วงการบันเทิงในห้องนั่งเล่นที่บ้านแล้ว ประวัติศาสตร์ของฟอร์แมต การเอ็นโค้ดข้อมูลน่าจะเป็นเรื่องที่น่าสนใจที่สุด ผู้ผลิตที่ต้องการนำผลิตภัณฑ์เพลง และภาพยนตร์ของตน เข้าสู่บ้านของผู้บริโภคให้ได้นั้น พวกเขาจะต้องคิดค้นสื่อที่สามารถเก็บเพลง และภาพยนตร์เหล่านั้นในสภาพที่เหมือนจริงมากที่สุด นั่นเป็นที่มาของเทคโนโลยีตั้งแต่ไวนิล, เทปคาสเซตต์, เบต้าแมกซ์, วีเอชเอส, ซีดี มาจนถึงดีวีดีที่ปัจจุบันใช้กันอย่างแพร่หลายมากขึ้นเรื่อยๆ จนทำให้ชั้นเก็บของข้างโทรทัศน์ที่บ้านเต็มไปด้วยแผ่นพลาสติก และแถบแม่เหล็กมากมาย
ล่าสุด เทคโนโลยีใหม่ที่นำมาเสนอเพื่อความบันเทิงภายในบ้าน ก็คือ วิดีโอความคมชัดสูง หรือ High Definition Video เทคโนโลยีใหม่นี้เพิ่มจำนวนของพิกเซลหรือความละเอียดของภาพให้เพิ่มขึ้น ซึ่งทำให้ได้ภาพบนหน้าจอที่คมชัดมากขึ้น และเนื่องจาก ภาพความคมชัดสูงนี้เก็บข้อมูลภาพที่ละเอียดขึ้นทำให้ภาพยนตร์ความคมชัดสูงต้องการพื้นที่ในการจัดเก็บสูงมากขึ้นด้วยและมากกว่าที่แผ่นดีวีดีทั่วๆ ไปสามารถจัดเก็บได้
ซีบิตจุดพลุรถอิเล็กทรอนิกส์‘บลูเรย์’ตั้งเป้า3ปี
กลุ่มผู้ผลิตชิปอิเล็กทรอนิกส์อย่างอินเทลและอินฟินิออนเทคโนโลยีส์เอจี ยืดพื้นที่งานซีบิตประกาศความร่วมมือกับบริษัทค่ายรถอย่างบีเอ็มดับเบิลยูและฮุนไดมอเตอร์ ผนึกกำลังพัฒนาระบบอิเล็กทรอนิกส์สำหรับใช้ในรถยนต์ยุคหน้า ด้านสมาคมผู้สนับสนุนเทคโนโลยีบลูเรย์ดิสก์ ประกาศเป้าหมายเข้ามาแทนที่สื่อเก็บข้อมูลยอดนิยมอย่างดีวีดีให้ได้ภายใน 3 ปี
ภาพยนตร์ที่ออกใหม่ทำให้ต้องมีการผลิตสินค้าอีเล็คทรอนิคส์หลายทางเลือกสำหรับผู้บริโภคสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งได้แก่ ผลิตภัณฑ์ทางด้านเกมส์ และคอมพิวเตอร์ สมาคม บลู-เรย์ ดิสก์ หรือ บีดีเอ (The Blue-Ray Disk Association - BDA) แถลงข่าวในวันนี้ว่า บริษัท วอลท์ ดิสนีย์ (NYSE:DIS) จะเข้าร่วมเป็นสมาชิกของคณะกรรมการบริหารของบีดีเอ และจะเริ่มเผยแพร่เนื้อหาที่ไม่มีการผูกขาดในรูปแบบของบลู-เรย์ ดิสก์ เมื่อมีการเปิดตัวฮาร์ดแวร์บลู-เรย์ในอเมริกาเหนือและญี่ปุ่นแล้ว และด้วยการพัฒนาที่ไม่หยุดยั้งเช่นนี้ จึงทำให้ดิสนีย์เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มสินค้าอีเล็คทรอนิคส์, ผลิตภัณฑ์ทางด้านไอที, บริษัทผู้ผลิตเกมและข้อมูลซึ่งมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นและยังสนับสนุนการทำงานในรูปแบบนี้ การตัดสินใจครั้งนี้จะสามารถทำให้ผู้บริโภคเกิดความเพลิดเพลินไปกับภาพยนตร์ใหม่ๆ ที่ได้รับความนิยมและภาพยนตร์คลาสสิกในรูปแบบบลู-เรย์ ดิสก์ จากกลุ่มบัวน่า วิสต้า โฮม เอนเตอร์เทนเมนต์ ของวอลท์ นิสนีย์ โดย บัวน่า วิสต้า โฮม เอนเตอร์เทนเมนต์ประกอบด้วยวอลท์ ดิสนีย์ โฮม เอนเตอร์เทนเมนท์, ฮอลลีวู้ด พิคเจอร์ โฮม วีดิโอ, ทัชสโตน โฮม เอนเตอร์เทนเมนต์, มิราแม็กซ์ โฮม เอนเตอร์เทนเมนต์, ไดเมนชั่น โฮม วิดีโอ และดิสนีย์ ดีวีดี “ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยและการสนับสนุนอย่างกว้างขวางจากผู้นำทั่วทุกมุมโลกในด้านกลุ่มสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้า, ไอที, และกลุ่มอุตสาหกรรมผู้ผลิตเกมส์ บลู-เรย์ ดิสก์ เป็นรูปแบบในอุดมคติสำหรับบริษัทผลิตรายการแห่งความบันเทิง อย่าง ดิสนีย์” มัวรีน เวบเบอร์ ผู้จัดการทั่วไปกลุ่มธุรกิจโซลูชั่นการเก็บข้อมูลแบบออปติคอล ฮิวเล็ต แพ็คการ์ดกล่าว “ทางบีดีเอรู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ดิสนีย์ให้การสนับสนุนบลู-เรย์ ดิสก์ และเรารู้สึกตื่นเต้นที่สามารถดึงผลงานความบันเทิงที่จำนวนมากของดิสนีย์มาใช้” ด้านปีเตอร์ เมอร์ฟี่ รองประธานผู้บริหารอาวุโส และประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายวางแผนกลยุทธ์ของบริษัทวอลท์ดิสนีย์กล่าวว่า“ดิสนีย์ยินดีที่ได้ร่วมงานกับบีดีเอ” “เราเชื่อว่าผลงานของแบรนด์ที่ขึ้นชื่อและเนื้อหาที่รวมเข้ากับเทคโนโลยีบลู-เรย์ของเราจะเป็นก้าวสำคัญของการนำเสนอข้อมูลให้กับผู้บริโภคที่นิยมระบบไฮไฟ เราตั้งหน้าตั้งตารอที่จะเพิ่มความเชี่ยวชาญด้านการตลาดและเทคนิกให้กับบลู-เรย์ กรุ๊ป” นายเมอร์ฟีกล่าว
วิเคราะห์- เจาะลึก
ซัมซุงเลือกเดินทางสายกลาง สนับสนุนทั้ง Blue-ray และ HD DVD
Submitted by inferno hellion on 17 April, 2007 - 03:40. tags:
Blue-ray
HD DVD
Samsung
ซัมซุง หนึ่งในบริษัทผู้พัฒนา Blu-ray Disc นั้นได้ออกมาประกาศว่าจะสนับสนุน HD DVD ด้วย โดยการประกาศครั้งนี้ซัมซุงอ้างว่าบริษัทต้องการที่จะผลิตเครื่องเล่นที่สนับสนุนทั้งสองฟอร์แมทคล้าย ๆ กับ LG แม้ว่าในขณะนี้ Blu-ray ขายดีกว่า HD DVD มาก
HD DVD นั้นมีค่ายหนังใหญ่สามค่ายคอยสนับสนุนอยู่ ได้แก่ Universal Studios, Warner Bros. และ Paramount Pictures ในขณะที่ 20th Century Fox, Walt Disney Pictures และ Sony Pictures ที่สนับสนุน Blu-ray แต่ที่จริงแล้ว Warner Bros. และ Paramount ก็สนับสนุน Blu-ray เช่นกัน
การตัดสินใจของซัมซุงครั้งนี้ทำให้ Craig Kornblau ประธานของ Universal Studios Home Entertainment ยิ้มออกทันที โดยเขาได้กล่าวทิ้งท้ายว่า "HD DVD มองตลาดที่มีต้นทุนต่ำกว่า และเมื่อก่อน DVD ก็ไม่ดังจนกว่าผู้ผลิตในจีนเข้ามามีส่วน..."
Any DVD HD เตรียมวางตลาด
Submitted by lew on 15 February, 2007 - 10:47. tags:
Blue-ray
HD DVD
หลังจากที่โดนแฮกจนหมดเปลือกไปเรียบร้อย บริษัทซอฟต์แวร์ก็เริ่มวางตลาดกันอย่างรวดเร็ว เพราะแน่นอนว่าธุรกิจนี้ความเร็วสร้างความได้เปรียบมหาศาล งานนี้บริษัทที่เข้าวินคือ Sly Soft ผู้ผลิตโปรแกรม Clone DVD ที่หลายๆ คนคงรู้จักกันเป็นอย่างดี
ตอนนี้โปรแกรม Any DVD HD 6.1.2.0 ที่รองรับแผ่น HD นี้ยังอยู่ในช่วงเบต้าและกำลังแจกฟรี แต่ต้องลงทะเบียนคนทดสอบก่อน
ที่สำคัญคือมันใช้งานกับไดร์ฟ HD DVD สำหรับ Xbox ได้ด้วย...!
ยอดขาย Blu-ray เพิ่มขึ้นเร็วกว่า HD DVD ถึงสามเท่าตัว
Submitted by lew on 5 February, 2007 - 22:18. tags:
Blue-ray
HD DVD
ผลการสำรวจล่าสุดจาก Videos can รายงานถึงยอดขายภาพยนตร์เปรียบเทียบกันระหว่าง HD DVD และ Blue-ray พบว่าในช่วงตั้งแต่วันที่ 8 ถึง 14 มกราคมที่ผ่านมาปริมาณแผ่น Blue-ray มียอดขายสูงกว่าเกือบสามเท่าตัว แม้ว่ายอดขายรวมนับแต่เริ่มวางตลาดนั้นฝั่ง HD DVD จะนำหน้าออกไปค่อนข้างไกลก็ตาม
ส่วนทางด้านเครื่องเล่นนั้น ปัจจุบันมีเครื่องเล่น HD DVD วางขายในสหรัฐฯ ไปแล้วประมาณ 175,000 เครื่อง ขณะที่ Blue-ray นั้นเมื่อรวมยอดเข้ากับ PS3 แล้วมียอดขายถึง 687,300 เครื่อง นับว่าน่าตระหนกทีเดียวสำหรับกลุ่มที่ซัพพอร์ต HD DVD อยู่ในตอนนี้
แน่นอนว่าสงครามตอนนี้ยังอยู่ในช่วงเริ่มต้นเท่านั้น แต่ด้วยแผนการอัดฉีดเครื่องเข้าสู่ตลาดผ่าน PS3 ของโซนี่ก็สร้างความได้เปรียบที่ทางฝั่ง HD DVD นั้นต้องทำการบ้านอีกนานกว่าจะตามทัน
ปัญหาหลักตอนนี้คือจอที่มันรองรับ 1080p นี่แพงเลยน่ะสิ
ตั้งเป้าบลูเรย์แทนดีวีดีภายใน3ปี ในงานซีบิต สมาคมผู้ผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่ให้การสนัลสนุนเทคโนโลยีบลูเรย์ดิสก์ (Blu-ray) ภาคพื้นยุโรปออกมาประกาศว่ากำหนดขอบเวลาให้บลูเรย์สามารถเข้ามาแทนสื่อเก็บข้อมูลดีวีดีไว้ที่3ปี "ภายในสามปี สื่อเก็บข้อมูลที่ได้รับความนิยมจะมีเพียงบลูเรย์" แฟรงค์ ซิโมนิส (Frank Simonis) ประธานสมาคมบลูเรย์ดิสก์ภาคพื้นยุโรปหรือ Blu-ray Disc Association European กล่าว เพราะความจุที่ไม่เพียงพอต่อความต้องการของอุตสาหกรรมความบันเทิงทำให้ทุกฝ่ายมองว่ากาลอวสานของสื่อเก็บข้อมูลดีวีดีกำลังจะมาถึง บลูเรย์นั้นเป็นหนึ่งในสองสื่อเก็บข้อมูลชนิดใหม่ที่คาดว่าจะมาแทนที่ดีวีดี ซึ่งที่ผ่านมามีการแข่งขันอย่างดุเดือดกับเทคโนโลยีเอชดี ดีวีดี (HD DVD) ที่เสนอตัวเป็นสื่อเก็บข้อมูลชนิดใหม่เช่นกัน โดยทั้งสองเทคโนโลยีมีความจุสำหรับเก็บข้อมูลมากกว่าแผ่นดีวีดีปัจจุบันราว5เท่าทำให้สามารถเก็บภาพกราฟิกสมจริงมากขึ้น การประกาศครั้งนี้เกิดขึ้นหลังจากการประกาศกำหนดการส่งเครื่องเล่นแผ่นบลูเรย์ดิสก์รุ่นใหม่ "BDP-S300" ลงตลาดช่วงกลางปีนี้ของโซนี่ ความพิเศษของเครื่องเล่นนี้คือราคาที่กำหนดไว้ที่ 599 เหรียญสหรัฐ ถูกกว่ารุ่นเครื่องเล่นบลูเรย์ BDP-S1 ที่มีฟีเจอร์เหมือนกันซึ่งวางขายในขณะนี้ถึง 400 เหรียญสหรัฐ การหั่นราคาเครื่องเล่นบลูเรย์ครั้งนี้ถูกนักวิเคราะห์มองว่าเป็นการตัดราคาเพื่อให้สามารถแข่งขันกับฟอร์แมตของคู่แข่งอย่างHD-DVDที่มีโตชิบาเป็นผู้นำทัพ ที่มา http://www.manager.co.th/Cyberbiz/ViewNews.aspx?NewsID=9500000030759]
Blu-ray เสียงตอบรับไม่ดีเท่า HD DVD
Submitted by mk on 8 December, 2006 - 12:54. tags:
Blue-ray
HD DVD
Storage
บริษัทวิเคราะห์ตลาดชื่อ Cymfony ได้สำรวจเสียงตอบรับของผู้บริโภคจากบล็อกและเว็บบอร์ดต่างๆ (ส่วนมากเป็นพวก Hi-Fi กับเกมเมอร์) ในช่วงสองเดือนที่ผ่านมา สรุปได้ว่า HD DVD ได้เสียงตอบรับเป็นบวกมากกว่า Blue-ray
เหตุผลหลักกลับไม่ใช่ประเด็นทางเทคนิค สาเหตุอันดับหนึ่งที่ไม่สนับสนุน Blue-ray คือ ไม่ชอบเป็นการส่วนตัว (26%) เพราะฟอร์แมตของโซนี่ในอดีต (Minidisk, Beta, ATRAC) และท่าทีของโซนี่เองที่ค่อนข้างหยิ่งในเรื่องนี้
อันดับสองคือการที่โซนี่รวม Blue-ray เข้ามาใน PS3 ทำให้เครื่อง+เกมแพงโดยใช่เหตุ (21%) และอันดับสามเรื่องสงครามฟอร์แมต (16%) คิดจะซื้อเครื่องเล่นแผ่นยุคใหม่ในช่วงนี้คงยังไม่เหมาะ น่าจะรออีกซักปีสองปี
TDK ประกาศพร้อมวางตลาดแผ่น Blu-ray
Submitted by lew on 11 April, 2006 - 22:38. tags:
Blue-ray
Digital Media
Hardware
สงครามแผ่นออปติคอลรุ่นต่อไประอุขึ้นเรื่อยๆ เมื่อค่าย Blue-ray อย่าง TDK ออกมาประกาศว่าพร้อมวางตลาดแผ่น BD-R ที่เขียนได้ครั้งเดียวที่ความจุ 25 กิกะไบต์ และแผ่น BD-RW ที่เขียนซ้ำได้ที่ความจุเดียวกัน โดยแผ่นทั้งสองจะวางจำหน่ายในราคา 19.99 และ 24.99 ดอลลาร์ตามลำดับ
งานนี้ทางด้าน HD-DVD รีบออกมาโต้ว่าแผ่นเขียนได้ความจุ 30 กิกะไบต์ก็กำลังวางตลาดในเร็วๆ นี้เช่นกัน ส่วนด้าน Blue-ray นั้นยังมีไม้เด็ดคือแผ่นแบบสองชั้นที่ให้ความจุถึง 50 กิกะไบต์ ซึ่งทาง TDK ระบุว่าจะวางขายกันในปลายปี เพราะเครื่องที่รองรับยังไม่มีออกมาจนกว่านะถึงช่วงนั้น
อาจจะขัดกับนโยบายเว็บที่ไม่สนับสนุนของเถื่อนสักหน่อย แต่ถ้าถามผม ฟอร์แมตที่อยู่รอดคือฟอร์แมตที่มีแผ่นก๊อปออกมาวางขายก่อน :p
ที่มา - TG Daily
คุณคิดว่าศึกระหว่าง Blue-ray กับ HD-DVD ใครจะไปได้ไกลกว่ากัน?
Blue-ray HD-DVD คู่คี่-สูสี ขึ้นกับแผนการตลาด ไม่สนใจทั้งคู่
คุณคิดว่าศึกระหว่าง Blue-ray กับ HD-DVD ใครจะไปได้ไกลกว่ากัน?
Blue-ray
(27.8%, 209 votes)
HD-DVD
(29.9%, 225 votes)
คู่คี่-สูสี
(14.2%, 107 votes)
ขึ้นกับแผนการตลาด
(15.7%, 118 votes)
ไม่สนใจทั้งคู่
(12.5%, 94 votes)
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)