1.นางสาวรอกาเยาะ เจะโด
คนคืออุปกรณ์สำนักงานชนิดหนึ่ง?
Radio Frequency Identification : RFID ชื่อระบบการระบุอัตลักษณ์วัตถุ โดยคลื่นวิทยุ การใช้คลื่นความถี่วิทยุเพื่อระบุลักษณะเฉพาะและรายละเอียดต่างๆ ของวัตถุ โดยในปัจจุบันมีการนำ RFID มาปรับประยุกต์เพื่อออกใช้งานในรูปแบบที่หลากหลาย เช่นระบบคลังสินค้า ระบบขนส่ง ระบบชำระเงิน ระบบห้องสมุด รวมถึงระบบทะเบียนคนใช้ RFID ทำงานโดยอาศัยอุปกรณ์หลัก 2 ตัว คือ แผ่นป้ายข้อมูล และเครื่องอ่านสัญญาณ แผ่นป้ายข้อมูล คือ อุปกรณ์ที่ใช้ติดกับวัตถุที่ต้องการ มีวัตถุให้เลือกใช้งานหลายแบบ เช่น กระดาษ แผ่นฟิล์ม แผ่นป้ายRFID ประกอบด้วยแผงวงจร RFID chips กับเสาอากาศจิ๋ว ซึ่งผังรวมอยู่ในแผ่นป้ายข้อมูล RFID นั้นทำงานโดยเครื่องอ่านสร้างความถี่สัญญาณวิทยุให้ตรงกับขนาดความถี่ที่แผ่นป้าย นอกจากการประยุกต์เทคโนโลยี RFID กับเรื่องค้าขาย มหาวิทยาลัยในต่างประเทศได้เริ่มนำ RFID มาใช้กับระบบลงทะเบียนเรียน ห้องสมุด ระบบสอบ และ ระบบทะเบียนคนใช้ มีบริษัทแห่งหนึ่งเริ่มเอา RFID มาใช้กับพนักงานในองค์กร บริษัทดังกล่าวได้ทำสัญญาจ้างงานก่อนที่จะบรรจุพนักงานแผนกคอมพิวเตอร์ทุกคนว่าต้องให้บริษัทฉีดแคปซูลที่มี RFID chips เข้าในร่างกาย วัตถุประสงค์คือ ใช้แทนบัตรพนักงานในการผ่านเข้าออกเมื่อพนักงานที่ฝัง RFID chips เข้าไปแล้วเดินผ่านเครื่องอ่านสัญญาณ RFID ก็ตรวจสอบทุกสิ่งทุกอย่างที่ระบบต้องการเกี่ยวข้องกับพนักงาน
เหตุผลที่พูดถึงเรื่องนี้ คือ ความก้าวหน้าของสถานที่ทำงานมีคอมพิวเตอร์ ขึ้นสะดวก
ประโยชน์
1. ทดแทนระบบการตรวจสอบแบบเดิมๆ
2. สามารถรู้ข้อมูลส่วนตัวเมื่อมีการผ่านเครื่องอ่านสัญญาณ RFID
ข้อเสนอแนะ
ควรมีหน้าคอลัมที่น่าสนใจมากกว่านี้ มีเนื้อหาที่เพิ่มขึ้นสำหรับคนที่สนใจในคอล์ลัมนี้
२.นางสาวซูไอนี อาแว
บริหารดาวเทียมแบบไทยไทย
จากกการให้สัมภาษณ์ ของ ดร. อนุภาพ ถิรลาภ ผู้เชี่ยวชาญเรื่องข้อกฎหมายเกี่ยวกับการสื่อสารระหว่างประเทศโดยเฉพาะประเด็นของดาวเทียม
ดาวเทียม เป็นเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ที่ซับซ้อน มีส่วนประกอบหลายๆอย่างประกอบเข้าด้วยกัน และสามารถทำงานโดยอัตโนมัติ สามารถโคจรรอบโลกด้วยความเร็วที่สูงพอที่จะหนีจากแรงดึงดูดของโลก
จากการให้สัมภาษณ์ของ ดร.อนุภาพ ท่านไม่เห็นด้วยกับการ “ทวงคืนดาวเทียมไทยคม” กับประกายความคิด ทวงคืนและลงขัน เพื่อซื้อคืนดาวเทียมให้เกิดขึ้นในหมู่ประชาชน เนื่องจากการซื้อดาวเทียมไม่ใช่หลักประกันว่า สิทธิในการครอบครองดาวเทียมจะไม่ถูกถ่ายเทหรือเปลี่ยนมืออย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด อีกทั้งการทวงคืนก็คงจะไม่เป็นภาพที่ดูดีนัก สำหรับประเทศที่บริหารด้วยหลักนิติรัฐอย่างประเทศไทย
จากการให้สัมภาษณ์ ทำให้รู้ว่าสิทธิ ในการครอบครองดาวเทียมนั้นไม่ใช่อยู่ที่ “สิทธิในตัวดาวเทียม” แต่เป็นการครอบครอง “สิทธิวงโคจร” ที่ไม่ว่า “เทมาเส็ก” หรือบริษัทไหนๆ จะหอบเงินมาให้ในอนาคตอีก ประเทศไทยเราก็ยังคงสิทธิการเป็นผู้ครอบครองวงโคจรดาวเทียมต่อไป ชั่วลูกชั่วหลาน
ข้อตกลงเกี่ยวกับตำแหน่งวงโคจร หนึ่งประเทศจะมีตำแหน่งวงโคจรเพียงหนึงเดียวเท่านั้น ยกเว้นประเทศที่มีพื้นที่กว้าง เช่น สหรัฐฯ รัสเซีย จีน ที่อาจมีมากกว่า 3-4 จุดได้ ตำแหน่งวงโคจรที่จัดสรรไว้ให้นั้น หมดแล้วหมดเลย หมายถึงว่า ประเทศที่เกิดขึ้นใหม่ๆ จะไม่มีสิทธิในตำแหน่งวงโคจรดาวเทียมแม้แต่จุดเดียว
การบริหารดาวเทียมแบบไทยๆ คือ ไทยคมนั้นสร้างขึ้นเพื่อใช้งานเชิงพาณิชย์เป็นหลัก ซึ่งการที่จะไปเปลี่ยนแปลงดาวเทียมไปใช้ในด้านความมั่นคงโดยเฉพาะเรื่องการทหารนั้น จะต้องติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติม ทว่า ไม่สามารถใส่อุปกรณ์เพื่อความมั่นคงใดๆ เพิ่มเข้าไปในดาวเทียมไทยคมได้อีกแล้ว
ถ้าถามว่าทำไมถึงพูดถึงเรื่อง การบริหารดาวเทียมแบบไทยๆ ก็เป็นอันที่รู้ว่า ไทยคม ปัจจุบัน ตกอยู่ในการบริหารของประเทศสิงค์โปร์ และเป็นช่วงที่กระแสปัจจุบัน ประธาน คมช.ได้ประกาศว่าจะทวงคืนไทยคม ซึ่งเป็นเรื่องที่จะทำให้สังคมเกิดสความสับสนกังวลใจ จึงเป็นเหตุผลหลักที่นำเรื่องนี้มาเล่า เพื่อทำให้ประชาชนกระจ้างแจ้งขึ้น
และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ คือ
1.ได้ทราบถึงว่า สิทธิในการครอบครองดาวเทียมนั้นไม่ใช่อยู่ที่ตัวดาวเทียมแต่เป็นการครอบครองสิทธิวงโคจร
2. ได้รู้ว่าประเทศไทยยังคงสิทธิการเป็นผู้ครอบครองวงโคจรดาวเทียมต่อไป
3.ได้รู้ว่าข้อตกลงเกี่ยวกับตำแหน่งวงโคจรซึ่งหนึ่งประเทศทั่วไปจะมีตำแหน่งวงโคจรเพียงหนึ่งเดียวเท่านั้น ยกเว้นประเทศที่มีพื้นที่กว้าง อย่างเช่น สหรัฐฯ จีน รัสเซีย ที่อาจมีมากกว่า 3-4 จุดได้
4. ประเทศที่เกิดขึ้นใหม่ๆ จะไม่มีสิทธิในตำแหน่งวงโคจรของดาวเทียมแม้แต่จุดเดียว
ข้อเสนอแนะ
อยากให้อธิบายเกี่ยวกับความเป็นมาของดาวเทียมให้ชัดเจนมากกว่านี้เพื่อให้เกิดการเรียนรู้
3.นางสาวมารีแย สง
ชื่อตอน: ตอบจดหมาย
แถบไคเปอร์และเมฆออร์ต หมายถึงอะไร
แถบไคเปอร์(kuiper Belt) เป็นหนึ่งในสามของสมาชิก Trans-Neptunian object : TNO หรือ วัตถุที่มีระยะห่างเฉลี่ยจากดวงอาทิตย์มากกว่าดาวเนปจูน
เมฆออร์ต (Oort cloud) ก็เป็นสมาชิกตัวหนึ่งของ tno คือชั้นเมฆในอวกาศที่ล้อมรอบระบบสุริยะอยู่ห่าง ๆ ส่วนสมาชิกตัวสุดท้ายของ TNO นั้น เพิ่งค้นพบมีชื่อว่า เซ็ดน่า (Sedna) เป็นดาวเคราห์น้อยที่ค้นพบโดยไมเคิล บราวน์ , แซด ทรูจิลโล , และเดวิด แวบิโน ค้นพบเมื่อวันที่ 14 พฤศิจิกายน 2546 อยู่ไกลกว่าดาวพลูโตประมาณ 3 เท่า
ประวัติความเป็นมาของพีซี
PC ย่อมาจาก Personal computer หมายถึง เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล มีชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า Microcomputer มีจุดกำเนิดใน ค.ศ. 1972 เมื่อบริษัท Xerox ได้ปล่อยเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กรุ่น PARC ออกสู่ตลาด แต่ไม่ได้รับความนิยมมากนัก เนื่องจากราคาแพง จนกระทั่งในเดือนสิงหาคม ปี 1981 บริษัท IBM ผู้ผลิตคอมพิวเตอร์รายใหญ่ของโลก ที่ถนัดการสร้างเครื่อ
Minicomputer และ Mainframe ได้วางจำหน่าย เครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ หรือ Desktop computer ในราคาที่ประชาชนทั่วไป สามารถหาซื้อเป็นเจ้าของได้ เนื่องจากราคาไม่แพง
ตั้งแต่นั้นมาเครื่อง PC ก็ขั้นสู่อันดับหนึ่ง นอกจากเหตุผลด้านราคาแล้ว PC ได้รับความนิยมในเรื่องความง่าย ทั้งการใช้งานและสะดวกต่อการดูแลรักษา อีกทั้งยังง่ายต่อการประกอบและซ่อมแซม อุปกรณ์ต่างๆ ของเครื่อง
แม้ในปัจจุบัน PC จะถูกพัฒนาอยู่ตลอดเวลา แต่คุณภาพของมันก็ยังเดิม
ประโยชน์
ทำให้ทราบประวัติความเป็นมาของ PC และทำให้รู้ความหมยของแถบไคเปอร์และเมฆออร์ต
ข้อเสนอแนะ
อยากให้มีรายละเอียดมากกว่านี้ และควรใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย
4.นางสาวพาดีล๊ะ ยามูสะนอ
ต้องทำซ้ำสื่อเพราะขาด content ดีๆ
การผสมพันธุ์ข้ามสื่อระหว่างสื่อสิ่งพิมพ์ที่เป็นกระดาษกับสื่อไฮเทคอย่างอินเตอร์มีมากขึ้นเรื่อยๆ สังเกตง่ายๆก็คือ ทุกวันนี้หนังสือพิมพ์หัวสีเริ่มที่จะเอาข่าวจากอินเตอร์เน็ตมาเล่นมกขึ้น เราจึงได้เห็นการผสมข้ามสายพันธุ์ของบรรดาสื่อไฮเทคกับสื่อสิ่งพิมพ์มัยใหม่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆที่นับวันก็รังแต่จะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ มีตั้งแต่การทำซ้ำ การแบ่งแซคชั่น
ออกไปจากเดิม จนถึงการเปิดพื้นที่ใหม่ๆ
การทำซ้ำก็คือการคิดลอกเอา content ดีๆ จากกระดาษไปลง Digital ส่วนการแบ่งแซคชั่นนั้นก็อาจเป็นเพราะบางครั้งพื้นที่บนสื่อหน้ากระดาษไม่เอื้ออำนวยจึ่งจำต้องตัดไปเผยแพร่ในสื่อไฮเทคแทนส่วนการเปิดพื้นที่ใหม่ๆนั้น อาทิ การเปิด OK NATION ยิ่งกรณีการโยกย้ายข้ามสายพันธุ์ของสื่อโทรทัศน์ไป WEB , TV , IPOD, YOU TUBE จากการทำซ้ำย่อมเกิดขึ้นง่านกว่าการเปลี่ยนแปลงสื่อกระดาษไปเป็นสื่อดิจิตอลสำหรับนายทุนสำนักพิมพ์ประเภท BOOKแล้ว บริบทของสังคมที่ละเมิดลิขสิทธิ์ อันดับต้นๆของโลกอย่างบ้านเรา นายทุนสำนำพิมพ์แบบ book คงจะพูดว่า “I DON DON CARE ” เพราะมุมมองของนายทุนสำนักพิมพ์ของไทยนั้น มีอยู่เพียงมุมเดียว คือ ขอให้หนังสื่อขายได้ก็พอแล้ว content จะเป็นอย่างไรหรือจะมาจากไหนไม่สำคัญ ทุกวันนี้หนังสื่อพิมพ์หัวสีเริ่มเอาข่าวจากอินเตอร์มาเล่นมากขึ้น แถมเล่นแล้วยังขายดีอีกด้วย และแหล่งข่าวในอินเตอร์เน็ตที่หนังสื่อพิมพ์หัวสีนิยมนำมาเล่นก็มีอยู่แค่ 3 พ อย่างที่ทราบกัน คือ เรื่องพระ เรื่องเพศ แล้วเรื่องพนัน ซึ้งบางทีก็ปนๆ กันระหว่างเรื่องเพศกับเรื่องพระ นี้ก็คือหนึ่งในตัวอย่างที่บ่งบอกถึ่งลักษณะของ CONTENT ดีๆ และเนื่องจาก CONTENT ที่มีอยู่มันไม่ดีแต่กลับทำให้หัวสีขายได้เพราะกลุ่มลูกค้าที่บริโภคหนังสื่อพิมพ์หัวสีเป็นกลุ่มที่ห่างไกลอินเตอร์เน็ต เมือมีการโยกข่าวจากอินเตอร์เน็ตไปลงสื่อกระดาษ กลุ่มลูกค้าเหล่านั้นจึงให้การอุดหนุน ในภาวะที่เว็บไซด์มีมากกว่า CONTENT นี้ในมุมมองหนึ่ง การทำซ้ำสื่อยังคงเป็นสิ่งจำเป็นเว้นเสียแต้ว่าสังคมไทยจะสร้างคนทำCONTENT ใหม่ๆ ขึ้นมารองรับเหมือนอย่างที่ OK NATION กำลังสร้างอยู่
นิตยสารเนชั่นสุดสัปดาห์ ปีที่ 15 ฉบับที่785 วันที่ 15 เมษายน 2550
5.นางสาวเจียรไน สุขศรี
ธรรมะดิจิตอล
เนื่องจากได้มีงานฉลอง 100 ปี พุทธทาสทางมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เขตการศึกษาสุราษฏร์ธานีได้จัดโครงการประกวดเว็บไซต์ 100 ปี พุทธทาส สำหรับเยาวชนโดยมีวัตถุประสงค์ 4 ประการ คือ เพื่อส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนสนใจหลักคำสอนของท่านพุทธทาสมากขึ้นเพื่อส่งเสริมให้นักเรียนและ นักศึกษาได้มีส่วนร่วมกับกิจกรรมของท่านพุทธทาสเพิ่มขึ้นเพื่อการแสดงการคารวะและระลึกถึงท่านพุทธทาสในวาระครบรอบ 100ปี และเพื่อนำเว็บไซต์ของผู้เข้าประกวดมาปรับประยุกต์ใช้เป็นส่วนขยายหลักคำสอนของท่าน
ล่าสุดได้มีผู้ชนะเลิศแล้วในการประกวดเวบไซต์ คือ www.Surat.psu.ac.th ได้นำเอาธรรมะเข้าสู่โลกไซเบอร์โดยรายละเอียดในเว็บไซต์จะกล่าวถึงประวัตชีวิต ผลงานของท่านพุทธทาสขึ้นบนเว็บไซต์อย่างเป็นทางการภายใต้ Url ที่ชื่อ WWW. Bud-dhadasa.com ซึ่งลูกศิษย์ของท่านได้ริเริ่มจัดทำไว้ตั้งแต่ต้นปี 2544 และได้รับรางวัลจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานเยาวชนแห่งชาติ(สยช) ซึ่งเว็บไซต์ WWW.buddadasa.com จะนำเสนอเกี่ยวกับการแปลงเสียงคำสอนของท่านพุทธทาสรูปแบบดิจิตอลด้วยวิธีscan ยังมีหัวข้อธรรมในคำกลอนแบบฉบับสมบูรณ์แบบมาใช้ download ได้ด้วยยังไม่นับแหล่งข้อมูลอื่นๆภายในเว็บไซต์ เช่น การแปลงข้อเขียนของท่านเป็นภาษาอังกฤษและมีข่าวสารเกี่ยวกับท่านพุทธทาสมากมายและยังมีโครงการหนึ่งไม่แพ้กัน คือโครงการนรไตรปิฏกคอมพิวเตอร์ฉบับนานาชาติที่เรียกว่าBUDIR ในชุดสมบูรณ์แบบที่สุดโดยอยู่บนInternet ซึ่งเป็นการเอาเนื้อหาในนรไตรปิฏกสู่ระบบอินเตอร์เน็ตนั้นเองเนื้อหาภายในพบว่าสืบเสาะข้อมูลได้รวดเร็วมากโดยสามารถค้นหาข้อมูลในรูปแบบต่างๆได้ทุกคัมภีร์และระบบฐานข้อมูลก็ยังมีประสิทธิภาพาสูงประโยชน์จากการนำนรไตรนรไตรปิฏกขึ้นสูงระบบดิจิทัลนั้นมากมายซึ้งนอกจากจะคืนหาข้อมูลแล้วการต่อยอดฐานข้อมูลไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มเติมปรับปรุงแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือลบข้อมูลต่างๆก็จัดได้สะดวกมากกว่าข้อมูลที่ได้อยู่ในรูปแบบดิจิทัลนอกจากนรไตรปิฏกฉบับจิทัลผู้ที่นับถือศาสนาอื่นก็ยังเข้าไปค้นคว้าศึกษาเรียนรู้ศาสนา พุทธรวมถึงยังใช่เป็นการเปรียบเทียบได้อีกด้วย
ถ้าต้องการวิธีการติดตั้งโปรแกรม BUDSIR แบบเปิดแผ่นเล่นCD หรือแบบอินเตอร์เน็ตก็สามารถอ่านรายละเอียดได้ที่หนังสือเนชั่นสุดสัปดาห์ ฉบับที่713 ปีที่ 14 วันที่ 2 มิถุนายน 2549
६นางสาวฟัตมา กือจิ
เรียนตรรกศาสตร์กับ Judoka ง่ายกว่าปอกกล้วย
คำว่า ตรรกศาสตร์ เป็นที่บัญญัติขึ้นเพื่อใช้แทนแนวคิดเกี่ยวกับเรื่องราวของ Logic ซึ่งมีรากศัพท์มาจากคำว่า logos ในภาษากรีก
ตรรกศาสตร์ คือ วิชาที่มาด้วยการศึกษาถึงกลักการของเหตุผลที่แท้จริง เป็นการศึกษาถึงเกณฑ์การใช้เหตุผลว่าการการอ้างเหตุผลแบบใดจะถือว่าสมเหตุสมผล-ถูกต้อง และไม่บกพร่องที่สุด ตรรกศาสตร์ จึงคล้ายดังประตูบานใหญ่ที่จะเปิดให้เราเดินเข้าสู่วิชาปรัชญาต่อไปนั่นเอง
“ภาษา” ในฐานะเครื่องมือของตรรกศาสตร์แล้ว มักจะพุ่งเป้าไปที่หลักของเหตุผลกันเป็นอันดับแรกเสมอ นอกจากการใช้ “ภาษา” เพื่อแสดงเหตุผล มนุษย์เรายังใช้ “ภาษา” เพื่อการสื่อถึงอารมณ์
ซุดุโกะ คือการฝึกฝน ตรรกศาสตร์ อย่างเป็นรูปธรรม หากท่านมีโอกาสไปเดินตามร้านหนังสือใหญ่ๆ จะสังเกตเห็นว่าบนชั้นหนังสือแถวหน้านั้นมักจะวางหนังสือหนึ่งเป็นตับๆ นั่นแหละคือหนังสือแนวซุดุโกะ
คนฮิตถึงขนาดมีผู้ค้นคิดผลิต “เกมส์กด” สำหรับเล่นซุดุโกะโดยตรง แทนการขีดเขียนลงในหนังสือซุดุโกะแบบดั้งเดิม ซุดุโกะ คือ เกมส์ปริศนาตัวเลข ง่ายยิ่งกว่าปอกกล้วยเข้าปาก
ทุกคนรู้ที่มาที่ไปของ ตรรกศาสตร์และซุดุโกะ กันแล้ว อันดับต่อไปก็มาเรียนรู้ตรรกศาสตร์เบื้องต้นสไตล์ซุดุโกะกัน
เป็นเกมปริศนาตัวเลขซึ่งจะมีตัวเลข 1-9 ลงในกล่องตาราง และเป็นตารางลักษณะ 3 คูณ 3 กฎของการเล่นมีอยู่ 3 ข้อ
1. เมื่อคุณตัดทอนสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ออกไป สิ่งใดๆที่เหลือก็คือความจริง
2. ยังมีที่ว่างสำหรับทุกๆสิ่งเสมอ เพราะทุกๆสิ่งต่างก็มีทางของมันเองอยู่แล้ว
3. ที่มันชัดแจ้งและแจ่มแจ้วก็เพราะมันไม่มีอยู่
การเล่นซุดุโกะเป็นการเล่นที่เพิ่มพูนทักษะและความสามารถในด้านตรรกะ สอนให้ฝึกฝนความอดทน รวมถึงสมาธิ
7.นางสาวซูฮาดา วาเด็ง
5MACHINIMA เมื่อหนังสังวาสกับเกม
ประเด่นของ MACHINIMA ที่เราจะได้พูดถึงคือ MACHINIMA ไว้ในหัวข้อย่อยของ Cinima ซึ่งปัจจุบันกำลัง Hip เป็นอย่างมากในวงการภาพยนต์ เฉพาะอย่างยิ่งกับคำว่า Diy ที่ Hot จริงๆ ในยุคของเด็กแนว Generation เจ้า MACHINIMA ตัวนี้ไปก็มีได้เป็นศัพท์ใหม่ในแวดวงหนังสากล แต่เนื่องเพราะเมื่อสิบปีที่แล้วได้มีหนังแนว MACHINIMA เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก
หลังจากนั้นเป็นต้นมาสายธารเล็กๆ ของ MACHINIMA ก็ลิ่วไหลร่วมเข้าสู่แม่น้ำใหญ่ที่ชื่อว่า “ ภาพยนต์โลก ” อย่างไม่หยุดยั้ง
โดยมีหนัง MACHINIMA รวมถึงมี มิวสิควิดีโอ เพลง ในแบบ MACHINIMA ของวงดนตรีจากเกาะอังกฤษที่ชื่อว่า “ Zero 7 ”
นอกจากนี้ยังมีเว็บไซต์ นิตยาสารออนไลน์ หนังสือเล่มการมอบรางวัลให้กับหนังแนว MACHINIMA และการจัดตั้งองค์กรกลางแห่ง MACHINIMA อย่างเป็นทางการต่างๆ เหล่านี้ คือ เครื่องการันตีสถานะของน้องน้อย MACHINIMA อย่างยิ่งยวด
นั้นก็คือกรณีปัญหาเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งในอนาคตข้างหน้านั้นค่อนข้างเป็นที่แน่ชัดแล้วว่าประโยชน์ทางรูปธรรมของ MACHINIMA ที่เป็นผลพวงมาจากเกมอันเป็นต้นกำเนิดของมันโดยตรงกำลังทยอยทวีค่าเบิกเงินพูนเพิ่มขึ้นทุกๆ วัน
เมื่อแนวโน้มเป็นเช่นนี้ มีหรือที่นายทุนเกมค่ายต่าง ๆที่เป็นต้นทางของการคัดแปลง จากเกมของตนไปสู่หนังแบบ MACHINIMA จะยืนดูเฉย ๆ เป็นพระอิฐพระปูน
ข้อเสนอแนะ
1. อยากประเทศไทยให้มีโปรแกรมหนังที่ทันสมัยอย่างนี้
2. อยากให้มีหนังที่ดีและมีประโยชน์ออกมาให้เป็นแนวคิดสังคมปัจจุบัน
วันศุกร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2550
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น